รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ชุดนิสิต
เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลายครั้ง ด้วยเหตุความจำเป็น และเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ชุดเครื่องแบบพิธีการสำหรับนิสิตชายเป็นชุดเครื่องแบบที่ใช้สืบเนื่องมาจากนักเรียนโรงเรียนราชสำนัก จนเรียกติดมาว่า เครื่องแบบพระราชทาน สำหรับเครื่องแบบนิสิตหญิง ได้รับ การออกแบบโดยบูรพาจารย์ให้มีความสง่างาม มีความเป็นไทย และเป็นเอกลักษณ์ที่ แสดงความเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การแต่งกายชุดเครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กำหนดเป็นกฎหมาย โดยตราไว้เป็นพระราชกฤษฎีกา เรียกว่า “ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเครื่องแบบนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2499 ” นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ออกเป็นระเบียบ ประกาศเรื่องการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแนวปฎิบัติสำหรับ นิสิตที่จะแต่งกายได้อย่างเหมาะสมกับกาละเทศะด้วย เพราะการเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มิใช่เพียงทำหน้าที่แสวงหาความรู้ทางวิชาการเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้ ที่จะเป็นผู้นำสังคม รู้จักการวางตนและเคารพระเบียบวินัยของสังคม และของมหาวิทยาลัย
ดังนั้น นิสิตจุฬาฯ จึงควรภาคภูมิใจที่ได้เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรักษาเกียรติของสถาบัน ต้องร่วมกันธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อย ร่วมกันรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของไทย รวมไปถึงวัฒนธรรมที่คงความเป็นเอกลักษณ์ และคุณค่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิเช่นเครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นเครื่องหมาย พระเกี้ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย เป็นเครื่องหมายที่ได้รับพระราชทาน นิสิตทุกคนจึงควรตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณ และต้องเทิดทูนไว้ด้วยศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ
สาระของประวัติที่จะกล่าวถึงนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของเครื่องแบบนิสิตชาย และส่วนของเครื่องแบบนิสิต หญิง ซึ่งภายในจะประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆ ตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแต่งกาย ดังนี้
เครื่องแบบเหล่านี้มีอยู่ทั้งสิ้น 6 แบบซึ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องแบบที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้นักเรียนมหาดเล็กมีสิทธิแต่งกายดังนักเรียนโรงเรียนราชสำนักได้ (เครื่องแบบดังกล่าวเป็นฉลองพระองค์ เครื่องแบบสำหรับ พระราชโอรสสมเด็จพระปิยมหาราช) เครื่องแบบในช่วงนี้เนื่องจากมีการเรียนการสอนเพียงวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เครื่องแบบ ดังกล่าว จึงกำหนดให้มีแต่การใช้อินธนูสีบานเย็นประดับบ่าเท่านั้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องเครื่องแบบพระราชทานจนถึงปัจจุบัน
ในช่วงนี้จะมีการยกเลิกเครื่องแบบบางส่วนตามประกาศของกรมมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2477 และการ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมตามช่วงเวลาดังกล่าว สุดท้ายจึงเหลือเพียงเครื่องแบบที่สองเท่านั้น ก่อนที่จะมีการประยุกต์เป็น เครื่องแบบดังรูปที่ใช้ในปี 2489 เป็นต้นมา สาเหตุที่มีการยกเลิกแบบที่ 1 ไปคาดว่าคงเพราะไม่อยากนุ่งกางเกงสั้น ส่วนแบบที่ 4 ถึง 6 นั้น ยกเลิกก็เพราะไม่ได้เข้าร่วม ในพระราชพิธีอย่างแต่เดิม
ในปี พ.ศ. 2492 ได้กำหนดเครื่องแบบนิสิตชายใหม่ และขอร้องให้สโมสรนิสิตร่วมมือด้วยการแต่งเครื่องแบบนี้มาเรียน ทุกวัน เนื่องจากในปี 2491 รัฐบาลสมัยนั้นออกกฎหมายบังคับให้นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเรียนวิชาทหารรักษาดินแดน
ในปีถัดมารัฐบาลได้กำหนดให้นิสิต นักศึกษา แต่งเครื่องแบบ นักศึกษาวิชาทหารมาเรียนทุกวัน ทางสโมสรจึงได้แย้งว่าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีเครื่องแบบพระราชทานอยู่แล้ว จึงไม่ควรต้องมีเครื่องแบบ อื่นอีก แต่ทางราชการก็อ้างว่าเครื่องแบบพระราชทานใช้ประมาณปีละ 3 ครั้ง คือ วันพระราชทานปริญญาบัตร วันปิยมหาราช และวันวชิราวุธ นิสิตนักศึกษาจึงต้องแต่งเครื่องแบบมาเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเป็นเหตุให้สโมสรนิสิตกำหนดเครื่องแบบจุฬานิยมนี้ขึ้น
ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ 71/2507 ว่าด้วยเครื่องแบบนิสิตชาย และนิสิตหญิง สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ให้เครื่องแบบจุฬานิยมเป็นเครื่องแบบนิสิตชาย แต่ให้เพิ่มการใช้เนคไทสีกรมท่าปักพระเกี้ยวในเวลามีงานสำคัญ ซึ่งใช้แต่ ในพิธีซึ่งทางราชการกำหนด
ในปี พ.ศ. 2477 เมื่อจุฬาฯ รับนิสิตหญิงรุ่นแรกเข้าเรียนที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยได้กำหนดเครื่องแบบนิสิตหญิง ขึ้นมาดังนี้
ในวันที่ 16 กันยายน 2481 มหาวิทยาลัยได้กำหนดเครื่องแบบนิสิตหญิงเป็น 2 แบบ คือ เครื่องแบบปกติชั้นที่ 1 กับเครื่องแบบปกติชั้นที่ 2
ในปี พ.ศ. 2483 ได้เพิ่มเครื่องแบบยุวนารีขึ้น ซึ่งนิสิตต้องใช้แสดงในวันฝึกและอบรมยุวนารี ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ 71/2507 ว่าด้วยเครื่องแบบนิสิตชาย และนิสิต หญิง สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507
หลังจากนั้นได้มีประกาศและระเบียบเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมอีกหลายฉบับ จนล่าสุดมีประกาศจากมหาวิทยาลัย เรื่อง ชุดเครื่องแบบปกติของนิสิต ที่กำหนดรูปแบบของชุดนิสิตออกมาเป็นมาตราฐาน และนำมาบังคับใช้ในปีพ.ศ. 2533 จนถึง ปัจจุบัน
ถุงเท้ามิได้มีระบุไว้ในประกาศ แต่นิยมใส่เป็นถุงเท้าสีขาว
กระโปรงแต่ละแบบ จะให้เกล็ดปรากฎอยู่ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง หรือด้านใดด้านหนึ่งก็ได้ และจะตีเกล็ดยาวเท่าใดก็ได้แล้วแต่ ความสวยงาม และความคล่องตัว ไม่อนุญาตกระโปรงผ่าชาย หรือใช้วัสดุเสริมแรง หรือจับเดรป
กระโปรงในเครื่องแบบ ควรเป็นแบบเรียบร้อย รัดกุม ไม่ตามสมัยนิยม
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้