คณะอักษรศาสตร์

Faculty of Arts

ผู้นำในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้บนพื้นฐานของความเข้าใจมนุษย์

คณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์

Faculty of Arts

ผู้นำในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้บนพื้นฐานของความเข้าใจมนุษย์

รู้จักคณะ

สถาบันอุดมศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะ เห็นคุณค่า และเข้าใจความซับซ้อนของภาษา วัฒนธรรม และศิลปะในมิติอันหลากหลาย เปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ  อาทิ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ศิลปการละคร ภูมิศาสตร์ ฯลฯ รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ Language and Culture ในระดับปริญญาตรี ตลอดจนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาการล่ามด้วย

การศึกษาและหลักสูตร

ภาควิชาของคณะอักษรศาสตร์ (Faculty of Arts)

คณะอักษรศาสตร์ประกอบด้วย 11 ภาควิชา ได้แก่

  1. บรรณารักษศาสตร์ (Library Science)
  2. ประวัติศาสตร์ (History)
  3. ปรัชญา (Philosophy)
  4. ภาษาตะวันตก (Western Languages)
  5. ภาษาตะวันออก (Eastern Languages)
  6. ภาษาไทย (Thai)
  7. ภาษาศาสตร์ (Linguistics)
  8. ภาษาอังกฤษ (English)
  9. ภูมิศาสตร์ (Geography)
  10. ศิลปการละคร (Dramatic Arts)
  11. วรรณคดีเปรียบเทียบ (Comparative Literature)

หลักสูตรปริญญาตรี ที่รับผิดชอบโดยคณะ

1. อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) Bachelor of Arts (B.A.) 14 สาขาวิชา ได้แก่

  • 1.1. สารนิเทศศึกษา (Information Studies)
  • 1.2. ประวัติศาสตร์(History)
  • 1.3. ปรัชญา (Philosophy)
  • 1.4. ภาษาฝรั่งเศส (French)
  • 1.5. ภาษาเยอรมัน (German)
  • 1.6. ภาษาสเปน (Spanish)
  • 1.7. ภาษาอิตาเลียน (Italian)
  • 1.8. ภาษาญี่ปุ่น (Japanese)
  • 1.9. ภาษาบาลีและสันสกฤต (Pali and Sanskrit)
  • 1.10. ภาษาจีน (Chinese)
  • 1.11. ภาษาไทย (Thai)
  • 1.12. ภาษาอังกฤษ (English)
  • 1.13. ภูมิศาสตร์ (Geography)
  • 1.14. ศิลปการละคร (Dramatic Arts)

2. หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) Bachelor of Arts (B.A.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • 2.1. ภาษาและวัฒนธรรม (นานาชาติ) (Language and Culture)

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ที่รับผิดชอบโดยคณะ

ประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) Graduate Diploma (Grad. Dip.) 1 สาขาวิชา ได้แก่

  1. การล่ามเพื่อชุมชน***** (Community Interpreting)

หลักสูตรปริญญาโท ที่รับผิดชอบโดยคณะ

1. อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.) Master of Arts (M.A.) 18 สาขาวิชา ได้แก่

  • 1.1. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and Information Science)
  • 1.2. ประวัติศาสตร์ (History)
  • 1.3. ประวัติศาสตร์ศึกษา (Historical Studies)
  • 1.4. ปรัชญา (Philosophy)
  • 1.5. ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส (French Language and Literature)
  • 1.6. ภาษาเยอรมัน (German)
  • 1.7. วรรณคดีญี่ปุ่น ( Japanese Literature)
  • 1.8. ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ (Japanese as a Foreign Language)
  • 1.9. ภาษาบาลีและสันสกฤต (Pali and Sanskrit)
  • 1.10. ภาษาจีน (Chinese)
  • 1.11. ภาษาไทย (Thai)
  • 1.12. ภาษาศาสตร์ (Linguistics)
  • 1.13. ภาษาอังกฤษ (English)
  • 1.14. การแปลและการล่าม* (Translation and Interpretation)
  • 1.15. ภูมิศาสตร์ (Geography)
  • 1.16. ศิลปการละคร (Dramatic Arts)
  • 1.17. วรรณคดีเปรียบเทียบ (Comparative Literature)
  • 1.18. ไทยศึกษา (นานาชาติ)** (Thai Studies)

2. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) Master of Arts (M.A.) 1 สาขาวิชาได้แก่

  • 2.1. พุทธศาสน์ศึกษา*** (Buddhist Sudies)

หลักสูตรปริญญาเอก ที่รับผิดชอบโดยคณะ

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อ.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.) 9 สาขาวิชา ได้แก่

  1. ประวัติศาสตร์ (History)
  2. ปรัชญา (Philosophy)
  3. ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส (French Language and Literature)
  4. ภาษาเยอรมัน (German)
  5. ภาษาจีน (Chinese)
  6. ภาษาไทย (Thai)
  7. ภาษาศาสตร์ (Linguistics)
  8. วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ (Literature and Comparative Literature)
  9. ไทยศึกษา (นานาชาติ)** (Thai Studies)

หมายเหตุ

  • * สาขาวิชาการแปลและการล่าม มีภาควิชารับผิดชอบ 5 ภาควิชา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาตะวันตก ภาษาตะวันออก ภาษาไทย และภาษาศาสตร์
  • ** สาขาวิชาไทยศึกษา มีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ ศูนย์ไทยศึกษา
  • *** สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา อยู่ในความรับผิดชอบของคณะอักษรศาสตร์
  • **** สาขาวิชาภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ อยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาภาษาตะวันออก (สาขาวิชาภาษาจีน)
  • ***** สาขาวิชาการล่ามเพื่อชุมชน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ

หน่วยบริการสังคม

ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

เป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศาสตร์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศอย่างครบวงจร โดยมีรายละเอียดดังนี้

ให้บริการด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
วิจัยและพัฒนาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
สร้างผู้สอนและฝึกอบรมผู้สอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
ผลิตสื่อและตำราทางด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ
โทรศัพท์ 0 2218 4886
อีเมล ctfl@chula.ac.th
เว็บไซต์ www.arts.chula.ac.th/CTFL
Facebook www.facebook.com/CTFLChula/
Twitter twitter.com/chulactfl

ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ

หน่วยบริการงานแปลและงานล่าม ให้บริการแก่สังคมที่มีความ ต้องการด้านงานแปลเอกสารและงานล่าม โดยแปลเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศรวม 13 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาอิตาเลียน ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาเขมร ภาษามาเลย์ ภาษาละติน ภาษาอารบิค และภาษาเวียดนาม โดยมีบุคลากรที่เป็นผู้สอนและมีความเชี่ยวชาญ หรือเป็นเจ้าของภาษาเป็นผู้แปลและอ่านรับรองงานแปล

หน่วยบริหารหลักสูตร
โทรศัพท์ 0 2218 4634
อีเมล ccti_2010@hotmail.com

หน่วยบริการงานแปลและงานล่าม
โทรศัพท์ 0 2218 4635
อีเมล transunit@chula.ac.th
Facebook www.facebook.com/CUCCTI/

ติดต่อคณะ

คณะอักษรศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์
0 2218 4870

เว็บไซต์
www.arts.chula.ac.th

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า