รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
2 กุมภาพันธ์ 2566
ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ ผศ.ดร.จิตรตรา เพียภูเขียว ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงความสำเร็จในการปลูกป่าประเภทไม้วงศ์ยางที่จังหวัดน่านและสระบุรี ด้วยนวัตกรรมกล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา สร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านและเกษตรกร “ปลูกป่า ได้เห็ด” สร้างอาชีพ เสริมรายได้
การปลูกไม้วงศ์ยางที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา นอกจากราจะหาอาหารให้พืชแล้ว ยังทำให้พืชแข็งแรง ช่วยป้องกันอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช และพบว่าพืชที่มีราไมคอร์ไรซาอาศัยอยู่จะเจริญเติบโตได้ดี ทนแล้ง ทนต่อความเป็นกรดด่างของดิน ทำให้พืชมีอัตราการรอดตายสูง นอกจากนี้ผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นคือเมื่อปลูกกล้าไม้วงศ์ยางนาที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา เพียง 4 ปี ก็จะมีเห็ดขึ้นโดยรอบต้นไม้ โดยในระยะแรกจะพบเห็ดน้ำหมากเป็นส่วนมาก และในปีต่อ ๆ มา เมื่อต้นไม้เริ่มใหญ่ขึ้น จำนวนดอกเห็ดจะลดลง แต่มีความหลากหลายของเห็ดมากขึ้นตามฤดูกาล เช่น เห็ดเผาะจะพบมากในช่วงปลายร้อนต้นฝน หรือราวเดือนพฤษภาคม ส่วนในช่วงหน้าฝน เห็ดไมคอร์ไรซาที่พบมาก ได้แก่ เห็ดระโงกต่างๆ เห็ดน้ำหมาก เห็ดตะไคล เห็ดผึ้ง เห็ดขมิ้น เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อป่ามีความสมบูรณ์ขึ้น เห็ดอื่นๆ ที่ไม่ใช่เห็ดไมคอร์ไรซา ก็จะเกิดขึ้น เช่น เห็ดโคน เห็ดลม เห็ดขอน เป็นต้น
ที่ผ่านมา ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ชาวบ้านเข้าใจในเรื่องการปลูกไม้วงศ์ยางที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา และได้เห็ดในเวลา 4 ปี นอกจากนี้ ศูนย์เครือข่ายฯ ยังเพาะไม้วงศ์ยางซึ่งเป็นที่อาศัยของเห็ดไมคอร์ไรซา และมีชาวบ้านติดต่อเพื่อขอรับกล้าไม้ไปปลูกเป็นจำนวนมาก
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้