รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
18 เมษายน 2566
ไทยโพสต์
ทีมนักวิจัยศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” จากร่างกายมนุษย์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม “โควิแทรป” สเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 มั่นใจช่วยรับมือการแพร่เชื้อโควิดร่วมกับมาตรการการป้องกันอื่นๆ
อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า “โควิแทรป” เป็นความร่วมมือของ 5 ภาคี ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด โดยทีมนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำองค์ความรู้จากการค้นพบ “แอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงต้านเชื้อโควิด-19” มาต่อยอดและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “โควิแทรป – สเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมแรกในโลกที่นำแอนติบอดี้มาสร้างเป็นสเปรย์พ่นจมูกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อย. ให้เป็นเครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 4 เพื่อดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ในโพรงจมูก
“โควิแทรป” เป็นสเปรย์พ่นจมูกที่มีแอนติบอดี้ประสิทธิภาพสูงที่ค้นพบมาจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่หายดีแล้ว มีความปลอดภัยสูง การพ่นแอนติบอดี้เข้าไปไม่ใช่เพื่อกระตุ้นภูมิในร่างกาย และไม่ได้เข้าไปในระบบต่างๆ ของร่างกาย ตัวแอนติบอดี้เคลือบอยู่บนผิวเยื่อบุโพรงจมูกเท่านั้น และสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ราว 6 ชั่วโมงก่อนที่จะถูกขับทิ้งไปตามธรรมชาติ
“โควิแทรป” เหมาะกับคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่นอยู่ในพื้นที่แออัด พื้นที่ปิด หรืออยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องถอดหน้ากากอนามัยในที่ ๆ มีคนจำนวนมาก โควิแทรปเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่นเดียวกับหน้ากากอนามัย ใช้งานง่าย ที่สำคัญคือปลอดภัย โดยนวัตกรรมชิ้นนี้ได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยในกลุ่มอาสาสมัครอายุ 18-60 ปีแล้ว ปัจจุบันมีวางจำหน่ายตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป
สามารถอ่านงานวิจัย นวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี้ ได้ที่ https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.10.04.22280574v1
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้