รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
3 สิงหาคม 2566
สยามรัฐ
ศ.นพ.นพ.อภิชัย คงพัฒนะโยธิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “โรคใหลตาย” พบมากในประชากรชายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนประเทศไทย พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักเกิดกับชายหนุ่มร่างกายปกติแข็งแรง โดยจะหลับและละเมอก่อนจะเสียชีวิต อัตราการเกิดโรคในไทย คือ 1 ใน 1,000 คน ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ อัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 1 ใน 2,000 คน ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการตั้งข้อสมมติฐานไว้ที่เรื่อง “พันธุกรรม” ส่วนสาเหตุที่ไม่ใช่พันธุกรรม บางครั้งโรคใหลตายมีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต ทั้งนี้ยังคาดว่าอาจจะมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น เพศชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง หรือการบริโภคอาหารจำพวกข้าว แป้ง น้ำตาล และแอลกอฮอล์จำนวนมากเกินไป
สำหรับการค้นหาความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้เป็นเรื่องยาก เพราะต้องตรวจคลื่นหัวใจเป็นรายบุคคล จึงแนะให้เฉพาะผู้ที่มีสัญญาณ “เสี่ยง” มาพบแพทย์เพื่อตรวจคลื่นหัวใจ โดยสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น คือ 1.มีประวัติคนในครอบครัว และเครือญาติเป็นโรคใหลตาย หรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงอายุยังน้อย เช่น 40-50 ปีลงมา 2.เคยมีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะคนอายุน้อย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน เช่น ก่อนเป็นลมมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติหรือมีอาการใจสั่น เป็นลมเป็นเวลานาน ตื่นมาแล้วเบลอ หรือมีอาการชัก เกร็ง กระตุก หรือเป็นลมในขณะที่ไม่ควรจะเป็น 3.มีความผิดปกติเวลานอนหลับ เช่น มีอาการกระสับกระส่าย หรือมีภาวะการหายใจติดขัด หรือมีอาการเกร็งร่วมด้วย ตื่นขึ้นมาตอนเช้ามีอาการมึนงง เบลอ ๆ เหมือนกับสมองขาดเลือด
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคใหลตาย แต่หากพบว่ามีความเสี่ยง แพทย์จะให้การรักษาตามอาการแบบประคับประคอง ได้แก่ 1.การฝังเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ สำหรับผู้ที่มีอาการโรคใหลตายแล้ว เช่น ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นแล้วต้องปั๊มหัวใจขึ้นมา แพทย์จะแนะนำให้ใส่เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ 2.การจี้หัวใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดี โดยปัจจุบัน จุฬาฯ ใช้การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงกับคนไข้ที่มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วจากโรคนี้ ทั้งนี้ จุฬาฯ เป็นแกนหลักในการทำวิจัยเรื่องโรคใหลตายภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 15 สถาบันในประเทศไทย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้