จุฬาฯ ในสื่อ

‘แผ่นปิดกะโหลกไทเทเนียม’ เพื่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ‘บัตรทอง’

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับทีมนักวิจัยจากบริษัท เมติคูลี่ จำกัด  สตาร์ทอัพโดยคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิจัยเรื่อง “โครงการแผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมเฉพาะบุคคล ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบในการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบหลายสถาบัน” เพื่อศึกษาและทดสอบสมรรถนะของแผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมฯ ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากลของเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้มีคุณภาพ และสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ในตลาดระดับสากล และเพื่อประเมินความปลอดภัยในการใช้งาน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปิดกะโหลกด้วยแผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมฯ ตลอดจนเพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบด้านงบประมาณและผลกระทบด้านสังคม ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรมงานวิจัย ช่วยลดการพึ่งพานวัตกรรมจากต่างประเทศ และเป้าหมายเชิงนโยบายเพื่อการผลักดันไปสู่สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของคนไทย

รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายนักวิจัย สวรส. กล่าวว่า แผ่นปิดกะโหลกศีรษะไทเทเนียมเฉพาะบุคคลฯ นับเป็นความสำเร็จที่ทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับในวงการเทคโนโลยีการแพทย์ รวมถึงวงการวิศวกรรมระดับโลก เพราะบริษัท เมติคูลี่ จำกัด กลายเป็น 1 ใน 4 บริษัทจากทั่วโลกที่สามารถผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์นี้ขึ้นมาได้ ซึ่งทีมวิจัยได้ออกแบบโดยใช้แผ่นไทเทเนียมเกรดดีที่สุดที่ใช้สำหรับการแพทย์ พิสูจน์แล้วว่าเป็นโลหะที่เข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ มีการพัฒนาการวิเคราะห์รูปทรงรอยเปิดกะโหลกศีรษะที่ต้องการปิด ผ่านระบบ CT-scan ร่วมกับการใช้ AI ออกแบบแผ่นปิดกะโหลกเทียมเฉพาะบุคคล นอกจากนี้ ในการผลิตต่อครั้ง ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำตรงกับความต้องการของศัลยแพทย์

คณะทํางานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเพื่อกําหนดประเภทและขอบเขตบริการด้านสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบให้แผ่นปิดกะโหลกศีรษะเฉพาะบุคคลผลิตจากโลหะไทเทเนียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดราคาเพื่อให้ได้อัตราค่าบริการที่เหมาะสม โดยปัจจุบันยังมีผู้ป่วยที่ถูกผ่าตัดเปิดกะโหลกอย่างน้อยสะสมถึงปีละ 7,000-20,000 คน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากแผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า