รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
23 สิงหาคม 2566
สยามรัฐ
“การใช้ความรุนแรง” ในสถาบันการศึกษาหรือโรงเรียน เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสังคมไทย สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งเด็กได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์เหล่านั้น รวมทั้งการนำเสนอของสื่อต่างๆ ที่แสดงออกถึงความรุนแรง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการ Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง พร้อมแนะนโยบายการแก้ไข ป้องกัน รวมทั้งเยียวยาผู้ถูกกระทำและรับมือผู้กระทำความรุนแรง ผ่านงานวิจัยจากคณาจารย์จากคณะต่างๆ ของจุฬาฯ
รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่าปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ทุกองค์กรต้องร่วมมือกัน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จากการศึกษาวิจัยในปีที่ 2 ได้ต่อยอดแผน Road Map สังคมไทยไร้ความรุนแรงออกเป็น 5 ส่วนได้แก่ นโยบาย (Policy) ป้องกัน (Prevention) คุ้มครอง (Protection) ดำเนินคดี (Prosecution) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) โดยแผนงานดังกล่าวได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบองค์ความรู้ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปต่อยอด ในการดูแลและป้องกันการเกิดความรุนแรงอย่างเป็นรูปธรรม
ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เผยถึงข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อความรุนแรงว่ามักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายถึงมหาวิทยาลัย ช่องทางหลักของการแสดงความรุนแรงมักเป็น Social Network ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องมีการเปิดเผยตัวตน เราไม่สามารถห้ามไม่ให้เด็กใช้โซเชียลได้เพราะข่าวสารข้อมูลที่มีประโยชน์ก็อยู่บนนั้นเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างมีคุณภาพ ครูเป็นเสมือนปราการแรกของเด็กที่สามารถรับฟังอย่างเข้าใจ โรงเรียนสามารถเสริมเรื่องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนสามารถพูดหรือระบายได้
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าในโรงเรียนควรมีกลไกที่คุ้มครองผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน จะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ ตำรวจ รวมถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งหากมีการบูรณาการร่วมกัน ก็จะช่วยคุ้มครองป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้ การรู้จักเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันในโรงเรียนเป็นพื้นฐานที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นจากการป้องกันและสร้างเสริมความเข้าใจในส่วนนี้ จากนั้นต้องมีมาตรการรองรับหากเกิดเหตุความรุนแรงว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร รวมทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและบำบัดอย่างใร ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือป้องกันผู้ที่ก่อความรุนแรงไม่ให้ไปก่อเหตุความรุนแรงในอนาคต
ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชี้ว่ากระบวนการทางศิลปะบำบัดสามารถช่วยลดปัญหาความรุนแรงได้กิจกรรมที่เรียกว่า Expressive Art Emotional คือการใช้ศิลปะบำบัดโดยการวาดภาพ จะเน้นที่อารมณ์ (Emotion) ที่ถูกสะสมไว้ได้รับการปลดปล่อยผ่านงานศิลปะ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นตัวตนและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การวาดภาพเป็นหนึ่งในกระบวนการคัดกรองผู้ที่จะสร้างความรุนแรงหรือผู้ที่ถูกกระทำ ผ่านออกมาเป็นภาพ ทำให้ทราบว่าใครอยู่ในเหตุการณ์ที่ค่อนข้างที่จะวิกฤต เพื่อส่งต่อตามกระบวนการต่างๆ ของโรงเรียนต่อไป
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้