รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
จุฬาฯ ในสื่อ
24 สิงหาคม 2566
เดลินิวส์
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การชี้แจงแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ 7” เมื่อเร็วๆ นี้ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี กล่าวว่า โครงการพัฒนาการใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินการมากว่า 30 ปี ปัจจุบันเข้าสู่แผนแม่บทพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกฯ ฉบับที่ 7 การรณรงค์การใช้หญ้าแฝกเป็นกลไกความร่วมมือสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนา ส่งเสริม ขยายผล ผลการรณรงค์ที่ผ่านมาเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเกษตรกร ชุมชน และพื้นที่เสื่อมโทรม รวมถึงพื้นที่อื่นๆ ในหลายมิติ แผนแม่บทฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการใช้หญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
ผศ.ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาการใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวถึง แผนแม่บทพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ฉบับที่ 6 ว่า เน้นการใช้หญ้าแฝกรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความเสี่ยงภัยพิบัติดินถล่ม ขณะเดียวกันการปลูกหญ้าแฝกเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้สารเคมี แต่อาศัยการดูแลใส่ใจของเกษตรกร เมื่อใบมีขนาดยาวขึ้นสามารถตัดและคลุมดินได้ และรากช่วยบำบัดน้ำเสีย แต่จากการวิจัยไม่พบว่าหญ้าแฝกมีสารพิษ สามารถสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้ งานวิจัยยังพบว่าหญ้าแฝกแก้ปัญหาเรื่องดินถล่มได้ โดยในแผนแม่บทฉบับที่ 7 เน้นหนัก 3 เรื่องคือ สืบสาน รักษา และต่อยอด สืบสานการอนุรักษ์ดินและน้ำตามแนวพระราชดำริ รักษาและเผยแพร่สร้างองค์ความรู้การใช้หญ้าแฝกเพื่อให้เป็นนวัตกรรมสังคม เพื่อให้เกิดวิธีคิดแบบใหม่ ในการใช้หญ้าแฝกในมิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะอนุรักษ์ดินและน้ำแบบเดิม และการรักษาเครือข่าย ขยายผลกลุ่มเป้าหมายไม่ใช่แค่เกษตรกรที่ปลูกหญ้าแฝก แต่รวมถึงครู นักเรียน เครือข่ายในประเทศไทยและต่อไปถึงเครือข่ายหญ้าแฝกนานาชาติ
ศ.ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง อาจารย์คณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันภัยดินถล่ม ที่ผ่านมามีตัวอย่างของพื้นที่หมู่บ้านห้วยหมี จ.น่าน ซึ่งเป็นชาวลั๊วะ ได้ปลูกหญ้าแฝกผสมผสานกับการปลูกพืชอื่นๆ เช่น ไม้ไผ่ ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดดินถล่ม หญ้าแฝกหลายสายพันธุ์เหมาะสมกับพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะหน้าแล้งสามารถนำไปปลูกรอบบ่อเพื่อให้คงสภาพของบ่อเพื่อกักเก็บน้ำ หญ้าแฝกมีประสิทธิภาพต่อการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เพราะรากหญ้าแฝกมีการยึดโยงมวลดินให้เกาะยึดกันแน่นขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรที่ใช้สารเคมีแล้วมีสารตกค้าง หญ้าแฝกจะกักเก็บไว้ที่ตัวเองโดยมีกลไกทางไบโอที่สามารถคายสารเคมีนั้นออกไปได้ นอกจากนี้มีงานวิจัยชี้คุณสมบัติของหญ้าแฝกมีส่วนกักเก็บคาร์บอนในดิน หญ้าแฝกไม่ใช่พืชที่ปลูกแล้วสร้างเงิน แต่ช่วยสร้างความมั่นคง ความยั่งยืนของระบบนิเวศ ซึ่งการพัฒนาโดยใช้หญ้าแฝกต้องเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้