จุฬาฯ ในสื่อ

จุฬาฯ ชูโมเดล ‘ผ้าทอ’ ครบวงจร ยกระดับแบรนด์ท้องถิ่นสู่สากล

สิ่งทอ เป็นหนึ่งในศิลปะและวัฒนธรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของผู้คนในกลุ่มชาติพันธุ์และชนชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการทอผ้า วัสดุในการทอ การย้อม ลายผ้า และการสวมใส่ ฯลฯ เป็นสิ่งที่แต่ละสังคมเรียนรู้ สั่งสม และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลาหลายร้อยปี น่าเสียดายหากวัฒนธรรมอันล้ำค่านี้จะสะดุดลงอย่างที่ในปัจจุบัน ผ้าทอพื้นเมืองกลายเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากการท่องเที่ยวที่มีไว้สวมใส่ในโอกาสพิเศษเท่านั้น

ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ริเริ่ม “โครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากจังหวัดน่าน สู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ในช่วงปี 2563 – 2565 ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนศตวรรษที่ 2 (Second Century Fund : C2F) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงศิษย์เก่าจุฬาฯ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมแฟชั่นของประเทศไทย

ศ.ดร.พัดชากล่าวว่าประเทศไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งล้วนเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ เชื่อมโยงวัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเพื่อนบ้านได้ น่าเสียดายที่ภูมิปัญญาที่สืบทอดมาอย่างยาวนานเหล่านี้จะสูญไป เพราะขาดการพัฒนาอย่างครบวงจร ขาดการทำตลาด ส่งผลให้การทอผ้าของชุมชนไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภคในปัจจุบัน จนกลายเป็นปัญหาคลาสสิกที่มักพบได้ในชุมชนที่ยึดอาชีพทอผ้าในประเทศไทย

ศ.ดร.พัดชา อธิบายโมเดลการพัฒนาทุนวัฒนธรรมอย่างครบวงจรว่าประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่  การมี Creative consult โดยร่วมมือกับนักออกแบบมืออาชีพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา สกัดองค์ความรู้เฉพาะทางของชุมชนแก้ปัญหา พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกลุ่ม (Cluster) พัฒนานวัตกรรม สิ่งทอจากทุนวัฒนธรรมเฉพาะ Cluster นั้นๆ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัย โดยเอารูปแบบเทรนด์ของตะวันตกเข้ามาผสมผสาน ทั้งนี้ โครงการฯ ได้แบ่ง Product line เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หรูหรา ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ผลักดันให้เกิดตราสินค้าในแต่ละผลิตภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

ทางโครงการฯ ได้ทดลองนำร่องโมเดลกับ 8 กลุ่มผ้าทอใน จ.น่าน โดยระดมคณาจารย์ นิสิตประจำภาควิชานฤมิตศิลป์ และศิษย์เก่า คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมากประสบการณ์ในวงการแฟชั่นที่เคยทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มาร่วมมือกันสร้างอัตลักษณ์ให้กลุ่มผ้าทอทั้ง 8 กลุ่มเป้าหมาย เราเริ่มจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการและหาแนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าใหม่ ให้มีความสอดคล้องและสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการผลิตสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์คุณภาพร่วมสมัย ภายใต้ตราสินค้าของตนเองได้จริง

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า