จุฬาฯ ในสื่อ

อว. – จุฬา จับมือร่วมพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สังคมไทย

วันที่ 5 ตุลาคม 2563 : ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะผู้บริหาร ร่วมการประชุมหารือความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สังคมไทย ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รมว.อว. กล่าวในตอนหนึ่งของการมอบนโยบายว่า อยากให้มหาวิทยาลัยรักษาคุณภาพ รักษาความเป็นเลิศ การเป็นผู้นำในเรื่องที่ถูกต้องไว้ ต้องคิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของอุดมศึกษาไทย มีการแข่งขันกันได้ แต่ต้องร่วมมือกัน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้เรียนรู้ให้มาก องค์กรทั้งหมดก็จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วย (Learning Society) ถ้าจุฬาไม่เป็นผู้เรียนรู้ ประเทศไทยก็ยากที่จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วย และฝากให้ช่วยมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่ร่วมมือได้ทำให้ประเทศไทยทั้งหมดเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน

เรื่องที่สองคือ จุฬาฯ มีขนบประเพณีที่ดีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นฐานในการต่อยอดไปสู่สิ่งต่างๆ แต่ขณะนี้ต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของเราทั้งหมดเกิดขึ้นได้เพราะสถาบัน ประเพณี สังคมที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ขนบประเพณีจะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างสมดุลกับอดีต ปัจจุบัน อนาคต ความรู้ที่ได้มาจากประเทศอื่นก็จะต้องปรับให้เข้ากับรูปแบบของสังคมที่มีมาแต่อดีต มิใช่เป็นการยัดเยียดเข้าไปในสังคม มหาวิทยาลัยต้องเอาความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์เพื่อให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย และพยายามส่งออกความรู้นั้นออกไปด้วย จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาทำให้เราจะส่งออกความรู้ ในเชิงนวัตกรรมออกไปในหลายเรื่อง ซึ่งจุฬาฯ สามารถทำได้

เรื่องสุดท้ายคือ อยากเห็นจุฬาฯ ผลิตนักปราชญ์ นักคิด ออกมาให้มากขึ้นนอกเหนือจากนักวิจัย ศาสตราจารย์ หรือคนที่เป็นเลิศในทางวิชาการเฉพาะทางแล้ว ทำอย่างไรที่จะให้เด็กที่ผลิตขึ้นมา กลายเป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิตในความหมายจริงๆในเวลาที่เหมาะสม ความรู้อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีปัญญาควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรมด้วย รมว.อว. กล่าวในตอนท้าย

จากนั้นได้รับฟังการนำเสนอวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สะท้อนความมุ่งมั่นขับเคลื่อนสังคมไทยด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะผู้บริหารจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และคณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นเดินทางไปเยี่ยมชม Baiya Phytopharm ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านไบโอเทคโนโลยีที่นำผลงานด้านวิชาการและงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา : https://www.thailandplus.tv/archives/227546

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า