จุฬาฯ ในสื่อ

“รักษ์ทะเล” ฟื้นฟูทะเลด้วยบ้านปะการัง นวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับเอสซีจี  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิ Earth Agenda ในโครงการ “รักษ์ทะเล” ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง โดยการขึ้นรูปปูนซีเมนต์ CPAC 3D Printing Solution ที่สามารถพิมพ์ขึ้นรูปวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังได้ใกล้เคียงเหมือนจริง เน้นการออกแบบพัฒนานำโครงสร้างจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สามารถปรับแต่งรูปแบบลักษณะความซับซ้อนของช่องว่างแสงและเงาให้เข้ากับสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนั้นๆพัฒนาคุณสมบัติโดยเฉพาะของหินปูนในเนื้อปูนซีเมนต์ให้มีความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกับค่าของน้ำทะเล ช่วยย่นระยะเวลาที่ตัวอ่อนปะการังลงเกาะ เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตสำหรับการปลูกถ่ายปะการัง และใช้ฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น สามารถติดตั้ง ขนย้าย ได้สะดวก ง่าย และถอดประกอบชิ้นส่วนได้

ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางและกําหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬา เปิดเผยว่า นวัตปะการังเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก ด้วยการดึงเอาความโดดเด่นของโครงสร้างและลักษณะพื้นผิวจากปะการังจริงในธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบนวัตปะการังที่มีความเสมือนจริง กลมกลืน และสวยงาม โดยใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ซีเมนต์แบบ 3 มิติ และพ่นเคลือบผิวภายนอกด้วยสารประกอบ Nano Calcium Phosphate Particles ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสารอาหารตัวอ่อนปะการัง มีช่องสำหรับการติดตั้ง ต้นอ่อน หรือ กิ่งปะการังธรรมชาติ เพื่อเพิ่มอัตราการขยายพันธุ์ให้เร็วขึ้น นวัตปะการังยังสามารถนำไปต่อยอดได้อีกหลายรูปแบบ เช่นผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับปะการังเทียมในอนาคต แนวปะการังเทียมเพื่อการท่องเที่ยว ทดแทนแนวปะการังธรรมชาติ หรือสวนปะการังใต้น้ำ (Marine Park) ที่สามารถใช้เป็น Smart Station ในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสังเกตการณ์ปะการังฟอกขาวทางทะเล 

ศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันชื่อ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานมูลนิธิ Earth Agenda กล่าวว่า มูลนิธิมีเจตนารมณ์มุ่งฟื้นฟูอนุรักษ์ให้ความรู้กับภาคประชาชนเพื่อลดผลกระทบความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเล ตลอดจนการพัฒนารูปแบบใหม่ๆในการช่วยชีวิตสัตว์ทะเล มูลนิธิเป็นตัวกลางในการขอรับการสนับสนุนโครงการรักษ์ทะเล โดยการระดมทุนเพื่อผลิตและจัดวางบ้านปะการังที่ www.lovethesea.net ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนโลกใต้ทะเลซึ่งเป็นระบบนิเวศหลักและแหล่งกำเนิดของหลากหลายชีวิต 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า