จุฬาฯ ในสื่อ

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (CBS) ถอดบทเรียนสำคัญจากเวทีระดับโลก (UN) ในการเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันผู้ประกอบการด้านธุรกิจจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ถอดบทเรียนสำคัญจากเวทีระดับโลกในการเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันผู้ประกอบการด้านธุรกิจจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก โดย รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ได้รับเชิญเป็นกรรมการในรอบชิงชนะเลิศจากทั่วโลกจากเวที Youth4South Entrepreneurship Competition at UN ESCAP BANGKOK การแข่งขันผู้ประกอบการด้านธุรกิจจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก สร้างโอกาสเรียนรู้แนวทางการการพัฒนาของผู้ประกอบการระดับโลกที่เน้นกลยุทธ์ในการทำงานเพื่อสร้างสิ่งที่ดีต่อสังคมสิ่งแวดล้อมและโลก เร่งต่อยอดความรู้ ปรับหลักสูตรการศึกษา เพื่อยกระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน ผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคต ตามหลัก  SDGs ( Sustainable Development Goals) ขององค์กรสหประชาชาติ ด้านความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน (UN Global Compact)

รศ.ดร.วิเลิศ กล่าวว่าบทเรียนที่ได้จากการที่ได้เป็นกรรมการตัดสินงานระดับโลกในครั้งนี้คือ การสร้างผู้ประกอบการระดับนานาชาติที่มีจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจที่มิใช่มองหาว่าจะสร้างกำไรได้มากน้อย แต่มองว่าปัญหาของลูกค้าและสังคมคืออะไร และนำมาพัฒนาต่อยอดในการสร้างธุรกิจเป็นขั้นต่อไป มุมมองในการสร้างโมเดลทางธุรกิจแบบนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างผู้ประกอบการที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับในการสร้างบทเรียนทางธุรกิจและการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการไทย พัฒนาขีดความสามารถของตนเองเข้าสู่มาตรฐานระดับโลก ซึ่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มีแนวคิดในการสร้างธุรกิจจริงในคณะที่ไม่ได้ให้ผู้เรียนได้แค่ความรู้ในห้องเรียนในขณะเป็นนิสิต แต่กลายเป็นพนักงานของบริษัท Chula Business Enterprise ที่จะทำให้เรียนและทำงานพร้อมกันตลอดระยะเวลา 4 ปี นอกจากนี้บริษัทที่เกิดขึ้นนี้มีนโยบายในการแบ่งผลกำไรคืนสู่สังคม เป็นการส่งเสริมนิสิตให้มีความเป็นผู้ประกอบการพร้อมกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ รศ.ดร.วิเลิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ได้ไปร่วมเป็นกรรมการร่วมกับองค์กรระดับโลกทั้ง UN และ ESCAP ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทิศทางในการพัฒนาการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีความสอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาผู้ประกอบการระดับโลก ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในไม่ช้าคงจะมีผู้ประกอบการชาวไทยที่ชนะการประกวดงานระดับโลกแบบนี้ในอนาคต

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า