รู้ลึกกับจุฬาฯ

บทเรียนจากเหตุการณ์ อภิมหาเงินเฟ้อที่เวเนซุเอลา

สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อมหาศาลในประเทศเวเนซุเอลายังมีท่าทียืดเยื้อไม่จบง่ายๆ ส่งผลให้ราคาสินค้าในประเทศถีบตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งล้านเท่าในปี 2018 ขณะที่สินค้าต่างๆ ในท้องตลาดขาดแคลนอย่างหนัก และประชาชนจำนวนมากหนีตายจากวิกฤติเศรษฐกิจด้วยการอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ภาพรวมของวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศเวเนซุเอลาเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2557 มีสาเหตุใหญ่มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ ซึ่งเวเนซุเอลามีนโยบายด้านประชานิยมสังคมสงเคราะห์มากมายมหาศาล

รายได้หลักของประเทศเวเนซุเอลาคือการส่งออกน้ำมัน แต่แล้ว เมื่อน้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาลดลงก็ส่งผลกระทบหนัก เพราะหมายความว่ารายได้ของประเทศย่อมน้อยลง ขณะเดียวกัน รายจ่ายภาครัฐยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศจึงขาดดุลในที่สุด

“พอขาดดุล รัฐบาลดันเลือกใช้วิธีพิมพ์เงินออกมาเพื่อใช้จ่าย ไม่ยอมลดรายจ่าย พอใช้จ่ายเยอะๆ แล้วยังพิมพ์เงินออกมาอีก มันเลยเกิดปัญหาเงินเฟ้อ” อาจารย์พงศ์ศักดิ์กล่าว พร้อมเสริมต่อว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศตุรกีขณะนี้ก็มีความคล้ายคลึงกัน คือเกิดปัญหารายได้ภาครัฐขาดดุล แล้วใช้การพิมพ์เงินออกมาแก้ปัญหา

แต่ปัญหา Hyperinflation ที่เกิดขึ้นจะมีความสุดขั้วต่างจากเงินเฟ้อทั่วไป อาจารย์พงศ์ศักดิ์กล่าวว่า ปรากฏการณ์เงินเฟ้อรูปแบบนี้สะท้อนว่า ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในภาครัฐอย่างรุนแรง ค่าเงินไม่น่าเชื่อถือ ลดต่ำลงมหาศาล และสินค้าในท้องตลาดจะถีบตัวสูงแบบก้าวกระโดด ขณะเดียวกันพอประชาชนรู้ว่าสินค้ากำลังราคาพุ่งสูงขึ้น
ก็จะกักตุนสินค้าเอาไว้

ภาพลักษณ์อย่างหนึ่งที่มักพบเห็นในประเทศที่เกิดปัญหา Hyperinflation คือประชาชนต้องกำเงินหนาเป็นปึกเพื่อไปซื้อของ แบบเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นในซิมบับเวเมื่อหลายปีก่อน ที่เงินเฟ้อจนทำให้รัฐบาลต้องออกธนบัตรระดับ 1 ล้านล้านหน่วย แต่สุดท้ายเมื่อปัญหาเงินเฟ้อไม่สิ้นสุดทำให้ต้องยกเลิกสกุลเงินของตนเองและหันไปใช้ดอลลาร์สหรัฐแทน

มีรายงานว่าปรากฏการณ์เงินเฟ้อในเวเนซุเอลา ทำให้ราคาสินค้า เช่น ไก่สดมีราคาตัวละ 14.6 ล้านโบลิวาร์ เนื้อวัวกิโลกรัมละ 9.5 ล้านโบลิวาร์ ข้าวสารกิโลกรัมละ 2.5 ล้านโบลิวาร์ ขณะที่ค่าเรงขั้นต่ำอยู่ที่ 1.8 ล้านโบลิวาร์ ทำให้ล่าสุดรัฐบาลพยายามจะขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำ 3 พันเท่า

ส่วนในประเทศไทย ปรากฏการณ์เงินเฟ้อมหาศาลเคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น ทำให้ต้องพิมพ์เงินออกมาช่วยเหลือประเทศญี่ปุ่น แต่ขณะเดียวกัน ไทยก็ต้องนำเงินที่ผลิตออกมามากเกินในระบบกลับเข้าไปอีกทางหนึ่ง เพื่อไม่ให้มีเงินในระบบมากเกินไปจนเกิดเงินเฟ้อ

“ยุคนั้นเป็นยุคตั้งแบงก์ชาติพอดี พอตั้งปุ๊บเงินเฟ้อปั๊บ เพราะเราต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ แต่เราก็รู้แล้วว่าเรามีดุลการคลัง ต้องใช้จ่ายอะไร สุดท้ายเราได้บทเรียนว่าต้องปฏิรูปกฎหมายการเงินเพราะการเงินกับการคลังมันไปด้วยกัน ทำงานอะไรต้องประสานกันตลอด ถ้านโยบายฝั่งใดฝั่งหนึ่งผ่อนปรน อีกฝั่งต้องมีวินัยเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดสมดุล”

อาจารย์พงศ์ศักดิ์ชี้ว่าปรากฏการณ์ Hyperinflation เปรียบเสมือนการล่มสลายของเศรษฐกิจประเทศ แม้จะมีบทเรียนในอดีตมากมายว่าการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าในระบบเศรษฐกิจจะตามมาด้วยผลเสีย แต่หลายๆ ประเทศในโลกก็ยังเลือกใช้ เพราะมองเห็นเพียงการ กระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ไม่ใช่การมองเศรษฐกิจที่จะมีผลกระทบในระยะยาว

“บทเรียนสำคัญของเราในอดีตทำให้เรามองได้ว่าเราไม่น่าจะกลับไปได้อีกแล้ว ผมชอบประโยคหนึ่งของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ว่าการแบงก์ชาติ พระองค์แรกที่ท่านเคยตรัสไว้เรื่องพิมพ์เงินมากว่า เป็นการง่าย ที่จะพิมพ์เงินทุกครั้งเมื่อจะใช้เงิน ดูเผินๆเหมือนง่าย แต่แท้จริงแล้วก็เหมือนนักเลงสุราที่ครื้นเครงเมื่อสุราเข้าปาก แต่จะฟุบไปเมื่อสุราหมด”

อาจารย์พงศ์ศักดิ์อ้างถึงคำพูดของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ว่า “คณิตศาสตร์รัฐบาล มักเป็นบวกเสมอ ไม่ค่อยคิดในเชิงใช้จ่าย” หมายความว่ารัฐบาลพยายามทำให้บัญชีดุลประเทศเป็นบวก แม้ว่าจะมีรายจ่ายที่เกินตัวก็ตาม

แต่บทเรียนที่สำคัญคือการรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจ การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นด้วยการผลิตเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลต่อระยะยาวอย่างแน่นอน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า