รู้ลึกกับจุฬาฯ

‘อีสปอร์ต’กีฬารูปแบบใหม่ที่ต้องสร้างมาตรฐาน

Esport race

การแข่งกีฬา Esport ในระดับโลก

“อีสปอร์ต” (Esport) หรือกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นประเด็นขึ้นอีกครั้งเมื่อเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย และได้นำอีสปอร์ต(Esport) เป็นกีฬาสาธิตและจะบรรจุให้เป็นกีฬาชิงเหรียญอย่างเป็นทางการในการแข่งขันครั้งหน้าหรือในปี 2022 ซึ่งในการแข่งขันซีเกมส์ 2019 จะมีการแข่งขันอีสปอร์ต(Esport) เป็นกีฬาชิงเหรียญอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ อีสปอร์ต(Esport) ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาที่สามารถจดทะเบียนสมาคมกีฬาได้ตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2560 แต่อีสปอร์ต(Esport) ก็ยังถูกตั้งคำถามจากสังคมไทยอยู่บ่อยครั้ง

ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เกิดเหตุการณ์นักกีฬาEsport ที่แพ้การแข่งขันทำการกราดยิงในงานแข่งขัน กีฬาอีสปอร์ตที่เมืองแจ็กสันวิลล์ รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา จนมีผู้เสียชีวิต  3 ราย ก็มีหลายฝ่ายโทษว่าเป็นความผิดของเกม

ข้อถกเถียงเรื่องการบรรจุกีฬา Esport เป็นกีฬาระดับโลก

ดร.สุทธิกร อาภานุกูล อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าถ้ามองอีสปอร์ต(Esport) เป็นกีฬาโดยใช้มาตรฐานชี้วัดว่าเป็นการแข่งขันที่ต้องมีการแพ้การชนะ มีกฎระเบียบชัดเจนของตนเอง หรือเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ก็อาจถือว่าอีสปอร์ต(Esport) เข้าข่ายกีฬาประเภทหนึ่ง แต่หากนิยามว่ากีฬาต้องมีการออกกำลังกาย หรือเล่นเพื่อให้ร่ายกายแข็งแรง จะถือว่าอาจมีนิยามที่ไม่สมบูรณ์

“ที่ว่าไม่สมบูรณ์เพราะกีฬาอีสปอร์ต(Esport)  อาจไม่ได้เสริมสร้างให้ร่างกายมีความแข็งแรงในเชิงสุขภาพมากขึ้น ทุกวันนี้กีฬาชนิดนี้เองก็มีข้อถกเถียงแยกแยะให้ถูกต้องว่าเป็นการเล่นเพื่อฝึกซ้อมการแข่งเกมหรือเป็นการหมกมุ่น ซึ่งสังคมไทยนิยมเรียกว่า เด็กติดเกม”

ไม่ต่างกับกีฬาหลายชนิดในอดีต เช่น สนุกเกอร์ หรือแม้แต่กีฬาหมากระดาน ไพ่บริดจ์ ที่ถูกมองว่าเป็นการพนัน และเป็นกีฬาที่คนในอดีตเห็นว่าไม่เหมาะสม  มีการแข่งขันกันในบ่อน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่อโคจร แต่ท้ายสุดก็มีการบรรจุเป็นการแข่งขันและได้รับการยอมรับในหลายปีต่อๆ มา

ทั้งนี้การบรรจุให้เป็นกีฬาที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละเวทีแข่งขัน แต่โดยรวมจะใช้เกณฑ์พิจารณาว่า มีจำนวนประชากรหรือผู้เข้าแข่งขันเพียงพอ สามารถจัดแข่งในระดับประเทศได้ ส่วนในระดับโอลิมปิกก็จะมีการพิจารณาดูว่ากีฬาชนิดนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนกี่ประเทศขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์บรรจุ แต่หากนำกีฬาใหม่เข้าบรรจุ ก็ต้องนำกีฬาเก่าออกจากโปรแกรมการแข่งขัน

“อย่างกีฬาพวกไพ่บริดจ์ หมากกระดานไม่มีในโอลิมปิกตอนนี้ ถ้าเอาเข้าไปบรรจุจะยากเพราะถ้านำกีฬาใหม่เข้ามา กีฬาเก่าก็จะหลุดออก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากเพราะกีฬาเก่าเป็นกีฬาหลัก”

การยอมรับและสร้างความเข้าใจเรื่องกีฬาEsport ในไทย

อาจารย์สุทธิกรเชื่อว่าการทำให้กีฬาอีสปอร์ต(Esport) ได้รับการยอมรับในสังคมไทยคงต้องอาศัยเวลาให้สังคมได้ทำความเข้าใจ โดยสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยต้องเข้ามาจัดการและสร้างระบบให้เป็นมาตรฐานของความเป็นกีฬามากขึ้น

การสร้างความเข้าใจในทักษะของEsport

“อีสปอร์ตเป็นกีฬาใหม่ที่คนไม่คุ้นชิน คนอาจเข้าใจว่าไม่ต้องฝึกฝนร่างกาย ไม่ต้องออกกำลังกาย แต่ในมาตรฐานกีฬาก็ควรมีการฝึกฝนทักษะด้านอื่นๆ เช่น ทักษะการขยับมือ ยกตัวอย่างเช่น กีฬายิงปืนเราอาจจะเห็นเขาแค่ยืนนิ่งๆ ไม่ต้องขยับตัวแค่เล็งให้เข้าเป้า แต่เบื้องหลังเขาฝึกทักษะเยอะมากเพื่อให้ร่างกายอยู่นิ่งไม่ขยับตัวเวลาเล็ง”

การให้กีฬาอีสปอร์ตถูกจำกัดอยู่ที่การเล่นเกมเพื่อฝึกฝน อาจทำให้มองได้ว่าเป็นการเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีการฝึกฝนทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่กีฬาอีสปอร์ตบางรายการต้องอาศัยทักษะการจัดการ การสร้างสังคม สร้างสัมพันธภาพกับทีม

การสร้างระบบและมาตรฐานให้กับกีฬาEsport

“ผมเชื่อว่าการทำให้ได้รับการยอมรับคือการต้องสร้างระบบ สร้างการจัดการที่มีมาตรฐาน วางขั้นตอนชัดเจนว่าต้องใช้เวลาฝึกซ้อมกี่ชั่วโมงต่อวันถึงจะเรียกว่าเพียงพอ กีฬาบางประเภทใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงต่อวัน บางกีฬาใช้เวลามากกว่านั้น อีสปอร์ตก็เช่นกันเพราะหากมากเกินอาจจะถูกมองได้ว่าเป็นการติดเกม”

อาจารย์สุทธิกรระบุว่า นักกีฬาEsport ในไทยเองก็ต้องแบ่งเวลาให้เหมาะสม เพราะหากมองว่าอีสปอร์ตเป็นกีฬาประเภทหนึ่งก็ควรใช้เวลาไปกับการทำกิจกรรมประเภทอื่นๆ เช่น การเรียนหนังสือ ส่วนสมาคมกีฬาอีสปอร์ตก็ควรมีการจัดการและการสร้างความเข้าใจให้สังคมในเชิงบวกมากขึ้น

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า