รู้ลึกกับจุฬาฯ

‘ประเทศกูมี’ การเมืองของคนรุ่นใหม่

ปรากการณ์เพลงแร็พ “ประเทศ กูมี” โดยกลุ่มนักร้อง Rap Against Dictatorship เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนความสนใจทางการเมืองของคนไทยในยุค เว้นวรรคประชาธิปไตย ด้วยเนื้อเพลงที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง ตรงใจหลายคน ประกอบกับการที่คนในรัฐบาลและผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคมกล่าวถึงเพลงนี้ ส่งผลให้ “ประเทศกูมี”  มียอดวิวในเว็บไซต์ยูทูบเกิน 27 ล้านครั้งแล้ว

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร จากภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าเพลง แร็พเป็นเพลงที่ใช้วิธีการร้องรัว เร็ว มีการใช้คำหยาบเป็นเรื่องปกติ แต่การที่เพลงนี้ได้รับความสนใจน่าจะมาจากหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ตั้งแต่โปรดักชั่นการทำเพลงจนถึงกระแสสังคมที่ผู้มีอำนาจให้ความสนใจ

“โปรดักชั่นเขาทำดี มันน่าสนใจ มีการใช้ภาพฉากจากเหตุการณ์ 6 ตุลามาประกอบ จุดกระแสอ่อนไหวเพราะเป็นประวัติศาสตร์ในอดีตที่ยังไม่ได้รับการเคลียร์ นอกจากนี้ในการสัมภาษณ์ของรอง ผบ.ตร. เกี่ยวกับเพลงนี้ก็ยิ่งจุดกระแสความสนใจเข้าไปอีก” อาจารย์ไชยันต์กล่าว

ทั้งนี้กลุ่ม Rap Against Dictatorship เป็นกลุ่มแร็พเปอร์คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมือง และต้องการสื่อสารกับสังคมผ่านบทเพลง และมีจุดยืนตามชื่อกลุ่มคือการต่อต้านระบบเผด็จการและอำนาจเบ็ดเสร็จที่ประชาชน ไม่มีส่วนร่วม และแทบไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

อย่างไรก็ดี อาจารย์ไชยันต์ชี้ว่าการแสดงออกทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยมีมาเนิ่นนานแล้ว ครั้งนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นครั้งแรก อย่างในอดีตเคยมีกรณีผู้มีอำนาจประกาศแบนเพลงเพื่อชีวิต เพราะถูกมองว่าเป็นเนื้อหาสะท้อนการฝักใฝ่อุดมการณ์ที่ยอมรับไม่ได้ ซึ่งยุคสมัยนี้ไม่ใช่เช่นนั้นแล้ว

“ทุกวันนี้อุดมการณ์ทางการเมืองอย่างที่ผมบอกถือว่าได้ตายไป 20-30 ปีแล้ว ในอดีตยุคสงครามเย็นมีความขัดแย้งทางอุดมการณ์เรื่องทุนนิยมกับสังคมนิยม แต่พอสงครามเย็นสงบ อุดมการณ์ใหญ่ๆ ก็ถึงจุดจบ ปัจจุบันเป็นเรื่องว่าความเห็นต่างทางการเมืองที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์”

อาจารย์ไชยันต์ชี้ว่าเมื่ออุดมการณ์ทางการเมืองเช่นในอดีตจบสิ้นไปแล้ว ดังนั้นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเด็กรุ่นใหม่อาจมองได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากความเป็นเด็ก ซึ่งเป็นการมองในแง่ดีว่าเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ยังไร้เดียงสาทางการเมือง ไม่ต้องลงโทษอะไรรุนแรง ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็เป็นการดูแคลนสติปัญญาเด็กรุ่นใหม่ไปด้วย

“ผมคิดว่ารัฐเขาไม่ได้มองว่าเด็กรุ่นใหม่ที่ออกมาทำแบบนี้เป็นเด็กดื้อหรือมีอะไรเบื้องหลัง แต่เขาอาจมองว่าเด็กยังไร้เดียงสา ไม่ประสีประสา ในแง่หนึ่งมันก็ดีคือผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็จะเมตตาหน่อย ไม่จับไม่ลงโทษ แต่อีกทางมันก็ดูถูกสติปัญญาเขา ในอีกทางถ้ามองว่าเด็กกับผู้ใหญ่มีความเท่ากัน ก็อาจไม่ต้องละเว้น จับก็จับ มองได้ทั้งข้อดีและข้อเสีย”

อาจารย์ไชยันต์ชี้ว่าคนเราทุกคนมีสิทธิแสดงออกทางการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องที่กระทบต่อคนทุกคน แต่รัฐมักมองว่าเด็กต้องไม่ยุ่งกับการเมือง หากเข้ามายุ่งก็ต้องทำตามค่านิยมหรือมีอุดมการณ์ไปในทิศทางเดียวกับรัฐ

“ผมคิดว่าเขามองเด็กรุ่นใหม่ว่า เนี่ยยังเด็กอยู่ ไฟแรงอยู่ในช่วงแสวงหา ล้นๆ หน่อย โตขึ้นคงไม่ทำแบบนี้มั้ง เดี๋ยวโตขึ้นก็คงเปลี่ยนแปลงไป แต่รัฐคงจะไปบอกว่าไม่ให้ยุ่งกับการเมืองก็คงเป็นไปไม่ได้ และการปิดกั้น การไม่ให้คนแสดงออกก็เป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับ คนในสังคม”

อาจารย์ไชยันต์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีความตื่นตัวทางการเมืองที่แตกต่างจากในอดีต จากประสบการณ์การสอนที่คณะรัฐศาสตร์ พบว่า เด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบันมีสติมากขึ้น คิด พิจารณา ไม่ได้ร้อนรนด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนในอดีต และใช้วิธีการคิดตัดสินใจก่อนที่จะทำอะไร

การมีส่วนร่วมทางการเมืองในปัจจุบันเองก็สามารถเริ่มต้นได้จากเรื่องเล็กๆ ที่เป็นประเด็นในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น การข้ามถนน การใช้ทางม้าลาย การจราจรต่างๆ ควรมีการแก้ไข หรือรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจารย์ไชยันต์ชี้ว่าการเริ่มต้นแก้ไขจากเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงไปกับปัญหาใหญ่ๆ ที่เพลงต้องการจะสื่อ

“ผมว่ามันเชื่อมโยงกัน อะไรที่แก้ได้ก็ควรแก้ไขก่อน ทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย สิ่งที่ผิดพลาดในปัจจุบันให้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง”

นอกจากนี้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2562 ก็ย่อมเป็นนิมิตหมายอันดีที่คนรุ่นใหม่จะได้แสดงพลังและความตื่นตัวทางการเมือง เยาวชนควรพิจารณาให้ครบว่าพรรคการเมืองแต่ละพรรคทำอะไร โดยมองให้ครบทั้ง 3 ด้านทั้งประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ต่อครอบครัว และประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเลือกคนที่ “ฉลาดกว่าเรา”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า