รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 09/05/2019 นักวิชาการ: ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ มีคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 4/2562 ออกมาเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม สืบเนื่องมาจาสภาพปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตไม่ทันกำหนด
รายละเอียดของคำสั่ง คสช. ระบุไว้ว่าให้ ผู้ที่ประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ชำระค่าประมูลตามกรอบเวลาเดิมไม่ได้ สามารถยื่นหนังสือ ถึงสำนักงาน กสทช. พิจารณาแบ่งชำระเงินออกเป็นสิบงวดได้ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ฝั่งผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตได้ และไม่ต้องชำระเงินค่างวดเพิ่มอีกต่อไป
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ประเด็นสำคัญอีกอันหนึ่งของคำสั่งนี้คือการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ต่ำเหมือนกับย่าน 900 MHz มีคุณสมบัติครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง และเหมาะสำหรับนำมาใช้กับอุปกรณ์ IoT หรือ Internet of Things
ทั้งนี้มาตรา 44 ที่มีการบังคับใช้ ยังกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จะยื่นขยายเวลาชำระเงินต้อง เข้ารับการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ด้วย หากผู้ประกอบการไม่พอใจเงื่อนไขก็ไม่สามารถรับสิทธิ์ได้ มีการประเมินว่ารัฐบาลจะได้เงินมากกว่า 75,000 ล้านบาท ซึ่งจะนำเงิน ที่ได้ไปช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลอีกทีหนึ่ง
“ประเด็นก็คือข้อความมันระบุไว้ว่าบังคับให้มีการจัดสรรแก่ผู้ประกอบการรายเดิมทั้ง 3 รายที่ผ่านมา ธุรกิจเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนสูง รายใหม่ๆ เข้ามาไม่ได้ เลยคิดว่าความถี่ 700 MHz นี้อาจจะดึงผู้ประกอบการรายใหม่ เข้ามาได้หากเปิดให้มีการประมูล แต่ถ้าจัดสรรแก่รายเดิมเท่านั้นก็ปิดโอกาสที่จะดึงผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา”
อย่างไรก็ตามการให้สิทธิ์เลื่อนเวลาการชำระเงินพร้อมกับได้รับคลื่นความถี่ 700 MHz คงยังไม่ตอบโจทย์ความตั้งใจของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับเทคโนโลยีไปสู่ 5G อย่างรวดเร็ว ตามที่มีการชี้แจงจาก กสทช. เนื่องจากขณะนี้บริการ 5G จะอยู่บนคลื่นความถี่ 3.5 GHz หรือช่วง 26-28 GHz
“ผมเข้าใจว่าเขามีเจตนาดีคือรัฐมีนโยบายต้องการพาประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 ต้องมี 5G ใช้นะ แต่ปัจจุบันเรายังไม่มีอุปกรณ์รองรับในย่านความถี่ 700 MHz เลย ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องรีบจัดสรรคลื่นในย่านนี้”
อาจารย์สุพจน์ชี้ว่า การใช้ มาตรา 44 ของ คสช. เป็นเครื่องมือ สะท้อนว่าที่ผ่านมาการบริหารทีวีดิจิทัลและกิจการโทรคมนาคมไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งจากตัว กสทช. ที่วาง กฎระเบียบไม่ชัดเจนรวมถึงปัญหาบางประการที่เกิดจากการกำกับดูแลไม่ชัดเจน
“สิ่งที่เกิดขึ้นกับทีวีดิจิทัลคือโครงข่ายไม่พร้อม จัดสรรช่องสัญญาณไปแล้วแต่ไม่ได้ดูแลความพร้อมไปด้วยกัน เลยต้องมานั่งชดเชยทีหลัง ส่วนในมุมโทรคมนาคมไม่ต้องอุ้มก็จริงเพราะไม่ได้เดือดร้อนเท่าทีวี แต่ก็มีปัญหาตอนประมูลคลื่น 900 MHz ที่มีคนปั่นราคาทำให้ราคาสูงเกิน สร้างภาระให้กิจการโทรคมนาคม”
ขณะเดียวกันการจัดสรร คลื่นความถี่ 700 MHz ตามเงื่อนไขของกิจการที่ต้องการเลื่อนชำระเงินเป็นงวดมีการระบุเพิ่มเติมว่าหากกิจการใดไม่ต้องการเลื่อนชำระเงินก็ไม่ต้องรับสิทธิ์จัดสรรคลื่น 700 MHz และจะนำคลื่นที่เหลือไปจัดประมูลใหม่
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ กสทช. ต้องหาทางควบคุมให้การประมูลสะท้อนความเป็นจริง ไม่ใช่ได้ราคาที่สูงเกินไป หากกังวลว่าจะมีคนมาดันราคาเหมือนสมัยตอนประมูลคลื่น 900 MHz ก็ควรมีมาตรการที่ออกแบบ หรือป้องกัน เช่น เรียกหลักประกันทรัพย์สินของผู้ประมูล หรือปรับปรุงวิธีการประมูลให้ดีขึ้น มีมาตรฐานที่สูงขึ้น”
อาจารย์สุพจน์ระบุอีกว่า ในอีกแง่หนึ่งการใช้มาตรา 44 เข้ามาจัดการปัญหาทางโทรคมนาคมและกิจการทีวีดิจิทัลก็มีประโยชน์ในการกำกับดูแลการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ (Spectrum Refarming)ได้ง่ายขึ้น
“ประเด็นเรื่องการชดใช้ชดเชย กรณีที่ให้ทีวีดิจิทัลเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่จากย่าน 700 MHz ไปย่านความถี่อื่น ต้องมีการชดเชยให้ ซึ่งกฎหมายฉบับเดิมไม่ได้มีการพูดถึงอย่างชัดเจน แต่พอมีคำสั่ง คสช.ซึ่งระบุส่วนนี้ไว้ ก็ทำให้ทำงานสะดวกมากขึ้นได้เช่นกัน”
ล่าสุดตัวแทนผู้บริหารค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 แห่งยังมีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้และยังไม่ให้คำตอบที่ชัดเจนว่าต้องการได้รับสิทธิ์ยืดเวลาจ่ายเงินคลื่น 900 MHz ซึ่งจะต้องตามมาด้วยการรับการจัดสรรคลื่น 700 MHz ตามไปด้วยหรือไม่ คงต้องจับตาดูต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้น
หมายเหตุกองบรรณาธิการ – บทความชิ้นนี้ เรียบเรียง ปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง “ม.44 อุ้มโทรคมนาคมจริงหรือ” ในคอลัมน์รู้ลึกกับจุฬาเมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้