รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 17/06/2019 นักวิชาการ: รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดีและอาจารย์จากภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ผ่านพ้นเหตุการณ์หนังสือ “แอนิมอล ฟาร์ม” ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพิ่งแนะนำไปไม่ถึงสัปดาห์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ได้ออกจดหมายขอความร่วมมือสำนักพิมพ์ต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมให้ส่งหนังสือเพื่อให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แนะนำประชาชนภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “หนังสือแนะนำจากนายกฯ ประจำสัปดาห์นี้”
จดหมายฉบับดังกล่าวมีการระบุว่าขอความร่วมมือให้สำนักพิมพ์จัดทำข้อมูลรายละเอียดของหนังสือและหนังสือจริง โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้กำหนดกรอบเนื้อหาหนังสือไว้ 6 ข้อ ได้แก่
ส่งหนังสือได้ทุกหมวด ทุกประเภทที่เหมาะกับทุกช่วงวัยควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถานการณ์สังคมปัจจุบันแต่ไม่เสียดสีการเมืองเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และความประพฤติที่เหมาะสม มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจให้ความหวังในการดำเนินชีวิต เป็นหนังสือที่ก่อให้เกิดความมานะบากบั่นไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาให้ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
ต่อมามีรายงานข่าวว่าสำนักพิมพ์หลายแห่งมีท่าทีไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย และขอไม่เข้าร่วมโครงการนี้ จนทำให้ล่าสุดมีรายงานว่าสมาคมผู้จัดพิมพ์แจ้งเลื่อนการส่งหนังสือเพื่อโครงการประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการอ่านจนกว่าจะมีการหารือและได้ข้อสรุปในการดำเนินการที่เหมาะสม
ในกรณีนี้ รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดีและอาจารย์จากภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าโดยหลักการแล้วการที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมต้องการให้สำนักพิมพ์แนะนำหนังสือนับว่ามีเจตนารมณ์ที่ดี เพราะเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตัวกับการอ่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การคิดวิเคราะห์รวมถึงการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นผ่านมิติทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในหนังสือ
“การอ่านเป็นปัจจัยสำคัญทำให้คนมีคุณภาพ มีวิจารณญาณ เข้าใจบริบทปัญหาต่าง เคารพความหลากหลายของคน เมื่อเราอ่านนวนิยายเล่มหนึ่ง เช่น นวนิยายของเออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ เราก็จะเห็นการใช้ชีวิตของคนอเมริกัน เข้าใจบริบททางการเมืองและสังคมของคนยุคนั้น และเห็นว่าตัวผู้เขียนเขามองสังคมเขาอย่างไรผ่านวรรณกรรม”
รศ.ดร.สุรเดช ยังกล่าวอีกว่า สำนักข่าวบีบีซี ของประเทศอังกฤษเคยจัดโครงการรณรงค์ให้คนรักการอ่านในปี 2003 โดยให้คนอังกฤษเลือกนวนิยายที่ตนชอบมากที่สุด และมีรายการโทรทัศน์นำเสนอผลการคัดเลือกโดยเรียงตั้งแต่ลำดับท้ายสุดมายังวรรณกรรมยอดนิยมอันดับหนึ่งซึ่งก็คือเดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ส่วนของประเทศไทยเคยมีจัดทำรายชื่อหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านโดย ดร.วิทยากร เชียงกูล ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อช่วงปี 2540-2541
นอกจากนี้การให้รางวัลต่างๆ ด้านหนังสือ เช่น รางวัลซีไรต์ รางวัลเซเว่นบุ๊ก อวอร์ดส์ นายอินทร์ อะวอร์ด ฯลฯ ต่างก็มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการอ่านของคนไทย ช่วยคนให้เลือกหนังสืออีกทางหนึ่ง
“ผมเห็นด้วยเวลาหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชนก็ตามจัดโครงการรณรงค์ให้เกิดการอ่าน แต่เหตุการณ์ล่าสุดที่เห็นว่ามีสำนักพิมพ์บางแห่งขอไม่ส่งหนังสือเข้าร่วมในโครงการของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้”
เนื่องจากการรณรงค์โดยให้สำนักพิมพ์แต่ละแห่งส่งหนังสือพร้อมทั้งรายละเอียดอาจเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่ท่าทีของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเองที่เป็นการเชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการแบบ Top-down เลยเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนต่อคนในวงการหนังสือ โดยเฉพาะคนทำหนังสือที่มีทัศนคติทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน
“กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมควรตั้งคณะทำงานทำหน้าที่เฟ้นหา และคัดสรรหนังสือในตลาดที่สอดคล้องกับนโยบายที่ตนเองตั้งขึ้นมานำเสนอ เช่น มีคณะทำงานที่เป็นนักวิจารณ์หนังสือหรือนักเขียนที่เป็นตัวแทนของคนหลายกลุ่มก็อาจเป็นทางเลือกทางหนึ่ง หรือมิเช่นนั้น ก็อาจให้คนไทยช่วยกันเลือกหนังสือดีๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ และมีการทำสกู๊ปรายงานผลทางโทรทัศน์เผยแพร่ให้คนทั้งประเทศชมว่าหนึ่งร้อยเล่มที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นหนังสืออะไรบ้างก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน”
รศ.ดร.สุรเดช ชี้ว่า เนื่องจากสภาพสังคมไทยปัจจุบันมีความขัดแย้งทางความคิดเห็นและทัศนคติทางการเมืองค่อนข้างสูง ทำให้การแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งๆ ย่อมประสบกับปัญหาในการตีความ แม้ว่าจะไม่ได้มีเนื้อหาจำเพาะเจาะจงไปทางการเมือง แต่ผู้อ่านหรือผู้ที่ฟังคำแนะนำเมื่ออ่านแล้วก็สามารถตีความได้หลากหลาย
“การเลือกหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งอาจถูกต่อต้านหรือเป็นชนวนให้เกิดข้อพิพาททางการเมืองก็ได้ เพราะคนอ่านหลากหลาย การตีความของแต่ละบุคคลไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเสมอ เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ จินตนาการ จุดยืนที่แตกต่างกัน”
รศ.ดร.สุรเดช เห็นว่าในการกระตุ้นให้สังคมไทยเป็นสังคมรักการอ่าน หน่วยงานต่างๆ ควรนำเสนอหนังสือแนะนำภายในองค์กรตัวเองได้ ไม่เฉพาะแต่รัฐบาลเท่านั้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ เช่น กรมสุขภาพจิต กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มูลนิธิเด็ก มหาวิทยาลัยต่างๆหน่วยงานเอกชน สามารถนำเสนอรายชื่อ หนังสือแนะนำเพื่อให้เห็นความแตกต่างหลากหลายของวงการหนังสือในประเทศไทย
“กลุ่มคนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะด้วยช่วงวัย ศาสนา หรือชาติพันธุ์ ย่อมต้องการอ่านหนังสือที่ไม่เหมือนกัน การอ่านยังเป็นกิจกรรมที่เป็นที่นิยมอยู่ เพียงแต่ว่าเปลี่ยนไปตามสื่อใหม่ๆ ที่เข้ามาเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร คนก็ยังต้องการอ่านหนังสือดีๆ อยู่เสมอ” รศ.ดร.สุรเดช ทิ้งท้ายไว้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้