รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 07/10/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ทุกๆ ปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1-7 ตุลาคม คือช่วงเวลาที่ประชาชนจีนกว่า 1.38 พันล้านคนได้หยุดยาวเพื่อเฉลิมฉลองการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1949 หรือกว่า 70 ปีมาแล้ว ปีนี้มีรัฐพิธีที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการตรวจแถวและสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของจีน แน่นอนคนจีนเฝ้าชมรัฐพิธีนี้ด้วยความภาคภูมิใจและจะใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยงตลอดวันหยุดราชการต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ที่เรียกกันว่า Golden Week ประมาณการว่าชาวจีนมากกว่า 800 ล้านคนจะเดินทางท่องเที่ยวและใช้ชีวิตอย่างเต็มที่สนุกสนาน คาดว่าน่าจะมีเงินสะพัดจากการจับจ่ายใช้สอยมากกว่า 6 แสนล้านหยวน หรือกว่า 3 ล้านล้านบาทในเวลาเพียง 1 สัปดาห์
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปจากปีก่อนๆ ก็คือหนึ่งในจุดหมายการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป เพราะหลายๆ ปีที่ผ่านมา หนึ่งในสถานที่ที่ชาวจีน นิยมไปกิน ดื่ม ใช้ชีวิตช่วง Golden Week คือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China: SAR) ซึ่งปีนี้ 31 ประเทศทั่วโลกออกคำเตือนไม่ให้ประชาชนเดินทางไปเยือนฮ่องกง
ตลอดเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 40% เมื่อเทียบกับปี 2018 ความรุนแรงของสถานการณ์เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS) ระบาดในปี 2003 มูลค่าการค้าปลีกในฮ่องกงของเดือนกรกฎาคม 2019 เท่ากับ 34.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 11.4% จากปี 2018 สมาคม Hotel, Food and Beverage Employees Association ประกาศผลสำรวจพนักงานกว่า 84% พิจารณาว่าภาคการท่องเที่ยวของฮ่องกงกำลังล่มสลาย พนักงาน 90% ถูกบีบให้ Unpaid Leave, พนักงาน 46% รายได้ลดลง ฮ่องกงกำลังล่มสลาย
ในขณะนี้ Golden Week ก็กลายเป็น Bloody Week เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมฮ่องกงบางส่วนประท้วงด้วยการใช้ความรุนแรง ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ ทำลายทรัพย์สินทั้งของราชการและของเอกชน หรือแม้แต่ปล้นร้านค้า การชุมนุมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนมาถึงจุดที่กดดันจนเจ้าหน้าที่ที่ถูกรุมทำร้ายร่างกาย ต้องใช้อาวุธประจำตัวยิงผู้ก่อจลาจลที่เข้ามาทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นักข่าวหญิงชาวอินโดนีเซียถูกกระสุนยางเข้าที่ตาจนตาบอด และในที่สุดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม เวลา 15.00 น. คณะผู้บริหารฮ่องกงได้ประกาศพระราชกำหนดข้อบังคับฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 5 ตุลาคม โดย พ.ร.ก.ดังกล่าว ควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ควบคุมการเดินขบวนในที่สาธารณะตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป ห้ามนัดรวมตัวกันโดยปิดบังใบหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาต (ยกเว้นในกรณีเจ็บป่วย) โดยผู้ใดฝ่าฝืนโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับ 25,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (98,000 บาท) เจ้าหน้าที่มีอำนาจให้ผู้ชุมนุมปลดสิ่งที่ปิดบังใบหน้า
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหลังเที่ยงคืนกลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังคงออกมาสวมหน้ากาก (ป้องกันการระบุตัวตนจากระบบ Facial Recognition ของทางการซึ่งพัฒนาไปมากโดยเฉพาะในประเทศจีน) และเดินหน้าก่อการจลาจลต่อไปอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์จนถึงปัจจุบันคือความผิดพลาดในทางยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ชุมนุมเพราะนอกจากจะทำให้ตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่กลับหลังไม่ได้ และหากเดินหน้าต่อไปก็คงไม่สามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของกลุ่มผู้ชุมนุมเองในขณะนี้ก็ไม่ได้มีความชัดเจนและมีเอกภาพอีกต่อไปแล้ว คณะผู้บริหารฮ่องกง ประกาศตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนไปแล้วว่า กฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนซึ่ง
เป็นชนวนของการเรียกร้องในรอบนี้ได้ถูกยกเลิกกระบวนการออกกฎหมายไปอย่างถาวร และข้อเรียกร้องอื่นๆ ของผู้ชุมนุมก็ได้รับการตอบรับและจะเริ่มต้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อเดินหน้าการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจของฮ่องกงแต่กลุ่มผู้ชุมนุมที่นิยมความรุนแรง หรือที่เรียกกันว่า ฮาร์ดคอร์ ยังคงเดินหน้าและทำแม้แต่เรียกร้องให้ต่างชาติเข้าแทรกแซงกิจการภายในของฮ่องกง หรือเรียกร้องสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ นั่นคือการแยกตัวออกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
การเรียกร้องโดยใช้ความรุนแรง รังแต่จะสร้างเงื่อนไขให้ทางการฮ่องกงต้องขอความช่วยเหลือจากแผ่นดินใหญ่ การทำลายล้างและก่อการจลาจลเปรียบเสมือนจุดไฟเผาบ้านตนเอง และทำให้คนฮ่องกงที่เคยเห็นด้วยกับผู้ชุมนุมเปลี่ยนใจ ไม่สนับสนุนเพราะสิ่งที่พวกเขาทำหลายๆอย่าง เริ่มเกินขอบเขตความพอดี เดินหน้าเรียกร้องต่อไปด้วยวิธีการรุนแรงแบบที่ไม่เป็นผลดีทั้งกับกลุ่มผู้ชุมนุม และกับฮ่องกงเองอย่างแน่นอน
ท่ามกลางความแตกแยก คำถามที่สำคัญคืออะไรคือแนวทางที่ถูกต้องสำหรับการเรียกร้องทางการเมืองที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถทำได้จริง
ในสถานการณ์เช่นนี้หากมองข้ามเทือกเขาหิมาลัยออกไปเราก็จะพบว่าในอีกภูมิภาคหนึ่งอินเดียเองก็กำลังมีงานเฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน เพราะวันที่ 2 ตุลาคมของทุกปีคือวันคล้ายวันเกิดของมหาบุรุษ Mohandas Karamchand Gandhi หรือ “มหาตมา คานธี” และปีนี้เป็นปีพิเศษคือ เป็นวาระ 150 ปี ชาตกาลมหาตมา คานธี
ผมเชื่อว่าแต่ละคนคงมองเห็นความยิ่งใหญ่ของผู้ชายคนนี้ในมุมมองในมิติที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับผม “มหาตมาคานธี” ซึ่งแปลว่า คานธี ผู้มีจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่ (ต้องออกเสียงว่า “มหาตมา” ไม่ใช่ “มหาตมะ”) ได้รับการขนานนามเช่นนี้เพราะ 3 เหตุผล
และนี่คือความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้แต่ความรุนแรงโดยไม่ดูเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ ไม่ดูเงื่อนไขทางการเมืองไม่ดูเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ มุ่งแต่จะทำลายล้าง โดยเอาแต่ความสะใจของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่มีความเป็นอารยะ เช่นในกรณีของฮ่องกง ที่ไร้ทิศทาง ไร้แกนนำ ตรงกันข้ามกับแบบอย่างที่ถูกต้องของแนวทางการเคลื่อนไหวแบบสัตยาเคราะห์ที่เชื่อมั่นในความจริง Truth and Only Truth หยุดเป็นตัวสำเร็จ ยอมถอยหลังเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า สงบนิ่ง และใช้ความจริงในการต่อสู้ แม้จะถูกทำร้ายโดยกองทัพอังกฤษ คานธีก็ยังนั่งอยู่ตรงนั้น ยอมถูกทำร้าย และในที่สุดผู้ที่ทำร้ายผู้อื่น ผู้ที่ใช้ความรุนแรงก็คือผู้ที่เป็นฝ่ายผิด ฝ่ายของคานธีที่สงบและพยายามอธิบายความพยายามสร้างปัญญาให้ทุกคนเข้าใจสถานการณ์จะกลายเป็นความถูกต้องและได้ชัยชนะในท้ายที่สุด ถ้าผู้ชุมนุมฮ่องกงหัดที่จะเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ และปฏิบัติตัวตามแนวทางที่ถูกต้อง นั่งลง และนั่งอยู่ที่นั่น นั่งอยู่นิ่งๆ นั่งอยู่ที่ตรงหน้าที่ทำการฝ่ายบริหารของฮ่องกง ค่อยๆ ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ให้ชาวฮ่องกงและชาวโลกได้รับรู้ ไม่สร้างเงื่อนไขให้ถูกล้อมปราบ ไม่สร้างความรุนแรง เมื่อนั้นทั้งชาวฮ่องกงและชาวโลกก็อาจจะเข้าใจและสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงต้องออกมาเรียกร้อง (แน่นอนว่าขึ้นกับว่าสิ่งที่เรียกร้องมันมีเหตุผลสมควรด้วยหรือไม่)
สำหรับพวกเราชาวไทยหากอยากจะเรียนรู้แนวทางดังกล่าวของมหาบุรุษ มหาตมา คานธี ศูนย์อินเดียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวาระ 150 ปี ชาตกาลมหาตมา คานธี ขอเรียนเชิญเข้าชมนิทรรศการภาพถ่ายชีวิตของมหาตมา คานธี The Life of Mahatma Gandhi: Photo Exhibition ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม-12 พฤศจิกายน ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะพร้อมฟังการบรรยาย สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์อินเดียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร.0-2218-3945
ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้