รู้ลึกกับจุฬาฯ

บทเรียนจาก “วิคตอเรีย ซีเคร็ท”

ข่าวเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เข้าตรวจค้นอาบอบนวดชื่อดัง “วิคตอเรีย ซีเคร็ท” สร้างแรงสะเทือนต่อสังคมไทย แม้จะเป็นที่รู้กันดีอยู่นานแล้วว่าประเทศไทยมีธุรกิจค้าบริการทางเพศแฝงตัวอยู่ในมุมมืดของสังคม และมีเจ้าหน้าที่รัฐสนับสนุนอยู่อย่างไม่เปิดเผย แต่หลายคนก็ไม่คาดคิดว่าจะมีมูลค่ามหาศาลถึงเพียงนี้

ภายในสถานบริการวิคตอเรีย ซีเคร็ท มีพนักงานให้บริการกว่าร้อยคน จากการตรวจค้นตู้เซฟพบบัญชีส่วย เป็นส่วนลดการเข้าใช้บริการในสถานอาบอบนวด พบเงินสดจำนวนหนึ่ง และพบหญิงพนักงานบริการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีหลายคน ในจำนวนนั้นพบว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ถูกหลอกมาขายบริการทางเพศล่าสุด การสอบสวนคดีนี้อยู่ในการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เรียบร้อยแล้ว

ในทัศนะของ .ดร.สุภางค์ จันทวานิช ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าเหตุการณ์สถานอาบอบนวด “วิคตอเรีย ซีเคร็ท” ที่เกิดขึ้นสามารถสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้

“ข้อแรกต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังมีการค้าประเวณีอยู่และได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่รัฐผ่านระบบส่วยในรูปแบบสถานบริการแอบแฝง เช่น อาบอบนวด รวมถึงสถานบริการที่ไม่ได้ตกเป็นข่าวอย่าง บาร์เบียร์ ร้านอาหารคาราโอเกะ หรือร้านอาหารที่ไม่ได้ใช้มือเสิร์ฟอาหาร (No Hand Restaurant)เจ้าหน้าที่รัฐหลับตาและรับผลประโยชน์มาตลอด
อันดับที่สองหญิงค้าบริการมีทั้งเด็กต่ำกว่า18 ปี และผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากเป็นหญิงต่างด้าวที่มาทำงานแทนคนไทย เพราะคนไทยย้ายฐานแรงงานไปขายบริการในแอฟริกา หรือในยุโรป พบเกิดช่องว่างแรงงานตรงนี้ แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านก็เข้ามาแทน
อันดับสามการมีเด็กต่างชาติเข้ามาขายบริการทำให้เกิดปรากฏการณ์เหยื่อค้ามนุษย์ระดับข้ามชาติอย่างแท้จริงและข้อสุดท้ายคือธุรกิจอาบอบนวดไม่ได้ทำให้รัฐมีรายได้ไม่เสียภาษี คนที่ได้ประโยชน์จริงคือเจ้าของธุรกิจที่มีการเก็บค่าหัวคิว ดังนั้นจึงเป็นธุรกิจที่ไม่น่าจะมีให้อยู่”
ศ.ดร.สุภางค์ ชี้ว่ากระแส “วิคตอเรีย ซีเคร็ท” เป็นข่าวใหญ่เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี 2559 เคยมีข่าวบุกค้นอาบอบนวด “นาตารี” โทษฐานใช้แรงงานเด็กและมีการค้ามนุษย์ น่าจะเป็นบทเรียนให้อาบอบนวดรายอื่นๆ ไม่กล้าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง          

“ที่เป็นข่าวใหญ่เพราะกรณีนาตารีมันควรเป็นตัวอย่างให้เขาเห็น แต่วิคตอเรีย ซีเคร็ท ทำโดยไม่ได้เกรงกลัวเลยเย้ยกฎหมายเกินไป” อาจารย์ สุภางค์กล่าว

ทั้งนี้ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ปราบปรามการค้าประเวณีมาตั้งแต่ปี 2539 ระบุไว้ชัดเจนว่าการสำเร็จความใคร่เพื่อให้ได้สินจ้างเพื่อเป็นค่าตอบแทนต่อเพศเดียวกันหรือคนละเพศถือว่าผิดกฎหมาย มีมาตรา 8 ระบุเพิ่มว่าผู้ที่กระทำชำเราหรือสำเร็จความใคร่คนอายุต่ำกว่า 18 มีโทษ

รวมถึงมีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ฉบับที่ 3 ที่เพิ่งออกมาเมื่อปี 2560 ระบุรายละเอียดให้คนจัดซื้อ จัดหา คนจำหน่าย พามา ส่งไป ที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี หรือ
นำมาผลิตสื่อลามกถือว่ามีความผิด ต้องปรับและจำโทษ อย่างที่เห็นในหน้าข่าว “ป๋ากบ” หรือคนเชียร์แขกถือว่ามีความผิดเพราะเป็นส่วนหนึ่งของนิติบุคคล
อาจารย์สุภางค์ ระบุอีกว่า การโอนคดีให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอถือว่าเหมาะสมและถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องค้ามนุษย์ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อส่วย

“ต้องยอมรับว่าประเทศเราหย่อนยานเรื่องกฎหมาย การรับส่วยทำกันจนเป็นประเพณี เวลามีข่าวค้นอาบอบนวดจะเจอแผ่นส่วยเสมอ แต่ไม่ได้ใหญ่ขนาดนี้ และเมื่อก่อนตำรวจก็มองว่าเป็นแค่เศษกระดาษ ไม่เคยยอมรับว่าเป็นหลักฐานได้ ใช้วิธีย้ายเจ้าหน้าที่ที่มีความผิด หรือเด้งไปเด้งมาภายในนครบาล”

ข้อมูลของศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าอาชีพให้บริการในสถานบันเทิง หรือสถานบริการกลางคืน เช่น หมอนวด นักร้อง ไม่ได้เป็นอาชีพที่ขาดแคลนที่ต้องนำคนต่างชาติมาทำงานแทนคนไทยเหมือนอาชีพก่อสร้าง และปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นแหล่งรายได้ของรัฐ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอยู่

เช่นเดียวกับบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ต้องช่วยออกไปและส่งกลับบ้านเมืองของเขา อาจารย์สุภางค์แนะนำว่าการให้ที่พักพิงในบ้านพักทำให้เหยื่อรู้สึกว่าถูกกักขัง เจ้าหน้าที่รัฐควรใช้วิธีให้ปากคำไว้ล่วงหน้า หรือใช้วิธีการไต่สวนผ่านประชุมวีดิทัศน์แทน

ส่วนการเปลี่ยนแปลงให้การขายบริการทางเพศในประเทศไทยเป็นเรื่องถูกกฎหมายจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สังคมไทยจะสามารถขึ้นทะเบียนคนขายบริการอย่างถูกต้อง มีการตรวจโรคและเสียภาษีอย่างจริงจังเหมือนในต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ หรือไม่ อาจารย์สุภางค์ยังคงตอบว่าไทยยังไม่สามารถขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้ เพราะสังคมยังมีมิติด้านศีลธรรม จรรยาสูง จึงไม่ยอมรับให้การประกอบกิจการแบบนี้ถูกกฎหมายได้ น่าจะต้องอาศัยเวลายาวนานอีกอย่างน้อย 10-20 ปี กว่าจะเปลี่ยนได้

 

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า