รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 08/01/2018 นักวิชาการ: ผศ.ดร.อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย จากภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
เงิน “บิทคอยน์” หรือเงินสกุลดิจิตอล กลายเป็นเรื่องฮือฮาในสังคมไทยมาไม่นานนี้ แต่กระแส “ขุด” บิทคอยน์ หรือการหารายได้จากเงินบิทคอยน์ที่ค่าเงินพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสนใจ และต้องการเข้าไปเป็นผู้เล่นในตลาดเงินชนิดนี้เพิ่มขึ้น จากที่เปิดตัวในปี 2010 มีมูลค่า 1 บิทคอยน์เท่ากับ6 เซนต์ ปัจจุบันมีมูลค่าแตะถึง 1 บิทคอยน์ เท่ากับ 15,000 ดอลลาร์แล้ว
ทั้งนี้ บิทคอยน์เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิตอล ที่เรียกว่า Cryptocurrency ซึ่งมีอยู่หลายร้อยชนิด แต่บิทคอยน์ เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากสุด เอกลักษณ์สำคัญของบิทคอยน์คือ ไม่มีสถาบันการเงินมาควบคุม ดังนั้นข้อมูลระหว่างผู้จ่าย ผู้รับเงินจึงถูกเก็บเป็นความลับ
“แต่บิทคอยน์ก็มีความผันผวนมหาศาล” คือสิ่งที่ ผศ.ดร.อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย จากภาควิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวไว้ถึงเอกลักษณ์อีกประการของเงินชนิดนี้อาจารย์อนิรุตระบุว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งในประเทศต่างๆ รับบิทคอยน์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มากขึ้น บิทคอยน์จึงนับว่าเป็นเงินชนิดหนึ่งที่ใช้ซื้อขายของได้จริง แต่ถ้าถามว่าจะขึ้นมาเป็นเงินอีกสกุลหนึ่งแทนเงินสกุลใหญ่ๆ ในโลกนี้ได้ไหมคงตอบว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะบิทคอยน์มีจำนวนจำกัด สืบเนื่องจากความตั้งใจของผู้คิดค้นระบบนี้
“จากการคำนวณมูลค่าทางการตลาดแล้ว บิทคอยน์ ราคาปัจจุบันที่ 16,000 ดอลลาร์ มีมูลค่าทางการตลาดทั้งหมด 0.28 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 9 ล้านล้านบาทฟังดูเยอะแต่มูลค่านี้มีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดหุ้นไทย บิทคอยน์ไม่ใช่สินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่”
ขณะที่ความตั้งใจของผู้สร้างบิทคอยน์ คือการสร้าง เงินที่ธนาคารกลางควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาจารย์อนิรุธ เชื่อว่า เหตุผลสำคัญคือวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยุโรปเมื่อปี 2008 ที่ทำให้ธนาคารกลางของประเทศต้องใช้มาตรการ Q.E. (Quantitative Easing) หรือการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ ไม่ยุติธรรมกับประเทศเล็กๆ ประเทศอื่น
การจำกัดขนาดของตลาดบิทคอยน์ซึ่งจำกัดไว้ที่ 21 ล้านเหรียญบิทคอยน์ เป็นการควบคุมรูปแบบหนึ่งไม่ให้ตลาดบิดเบือน มีเงินเพิ่มในระบบได้ตลอด แต่ก็มิใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง “ความกังวลอย่างหนึ่งที่มีหลายคนพูดกันว่าบิทคอยน์ จะเกิดฟองสบู่ไหมแล้วจะแตกไหม ผมมองว่าถึงแตกก็ไม่กระทบกระเทือนเศรษฐกิจโดยรวมเท่าไหร่ คนที่เจ็บตัวไม่เยอะ เพราะร้อยละ 40 ของบิทคอยน์อยู่ในมือบริษัทรับขุดกว่า 100 รายทั่วโลก สถาบันการเงินที่ถือบิทคอยน์ก็มีน้อย”
อาจารย์อนิรุตระบุว่าข้อวิตก หรือสิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับบิทคอยน์คือความผันผวน มีกรณีมูลค่าขึ้นลงในหนึ่งวันเปลี่ยนแปลงมากกว่าพันดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีความวิตกกังวลในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยของเงิน เพราะเคยมีกรณีบริษัทขุดบิทคอยน์ในเกาหลีใต้ต้องเจ๊งเพราะโดนแฮกระบบ รวมถึงความเสี่ยงในการทำธุรกรรมผิดกฎหมาย เพราะบิทคอยน์ตรวจสอบไม่ได้จึงถูกใช้ในธุรกิจฟอกเงิน หรือการทำธุรกิจค้าขายของผิดกฎหมาย ก็เป็นอีกประเด็นที่ควรนำมาเป็นข้อพิจารณา
“เอกลักษณ์สำคัญของบิทคอยน์ คือ ไม่มีสถาบันการเงินมาควบคุม ดังนั้นข้อมูลระหว่างผู้จ่าย ผู้รับเงินจึงถูกเก็บเป็นความลับ”
“ถ้ามองเป็นกลาง บิทคอยน์เองก็เป็นเหมือน Alternative Asset (ทางเลือกในการลงทุนรูปแบบหนึ่ง) เพียงแต่มันไม่ใช่การลงทุนของสถาบันทั่วไป มีบ้างที่ Hedge Fund (กองทุนบริการความเสี่ยง) บางแห่งไปลงทุนในบิทคอยน์ แต่ไม่ใช่กับกองทุนหรือพันธบัตรแน่ๆ”
และข้อมูลปัจจุบันก็ยังไม่สามารถทำให้เราสามารถประเมินราคาพื้นฐานของบิทคอยน์ได้ ไม่มีโมเดลเชิงวิชาการที่หาราคาประเมิน ทำให้พิจารณายากว่าปัจจุบันมีราคาสูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรือมีโอกาสที่จะเกิดฟองสบู่หรือไม่ อย่างไร ต่างจากตราสารหุ้นอื่นๆ ที่มีแบบจำลองประเมินราคาตามค่าตอบแทน หรือเงินปันผล
“บิทคอยน์มีลักษณะคล้ายทองคำคือถือแล้วไม่ได้สร้างรายได้ แต่ทองคำเราประเมินราคาจากราคาในอดีตได้ เพราะเราถือกันมานานมากแล้ว และมีความผันผวนทางราคาน้อย การที่จะรู้ราคาบิทคอยน์ ที่แท้จริง เราต้องเห็นพฤติกรรมมากกว่านี้ อย่างน้อย ความผันผวนต้องลดต่ำลง และตลาดยอมรับการลงทุนมากขึ้น ถึงจะหา Fundamental Value (มูลค่าพื้นฐาน) ได้ดีกว่านี้”
สำหรับคนที่สนใจที่จะลงทุนในตลาดบิทคอยน์ อาจารย์อนิรุตกล่าวว่า ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อนว่าตราสาร ที่เราจะลงทุนทำกำไรมาจากอะไร ควรรู้ว่าบิทคอยน์มีราคาขึ้นลงได้จากอะไรบ้าง และต้องหมั่นติดตามข่าวสารเป็นประจำเพื่อประเมินสถานการณ์ อย่างไรก็ดี ก็ต้องยอมรับความผันผวนในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้