รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 11/12/2017 นักวิชาการ: ผศ.ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ
โครงการก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศของ ตูน บอดี้สแลม นักร้องชื่อดัง เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ล่าสุดปัจจุบัน (8 ธันวาคม 2560) ได้ยอดบริจาครวมเกือบ 700 ล้านบาท และคาดว่าจะได้เงินเกินเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งเงินเหล่านี้จะนำไปช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทั่วประเทศ นับตั้งแต่การออกวิ่งในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เรื่อยมาจนกระทั่งจังหวัดสุพรรณบุรีที่เป็นตำแหน่งปัจจุบัน ตูน บอดี้สแลม ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวบ้านตามท้องถนน ในโลกโซเชียลก็มีกระแสชื่นชมตูน และร่วมให้กำลังใจ จนเรียกได้ว่าตูนเป็น “ฮีโร่” อีกคนหนึ่งของประเทศไทย
ผศ.ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า “ฮีโร่” เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น และใช้ความสามารถ ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือผู้อื่น ลักษณะเด่นของคนที่จะเป็นฮีโร่ได้ ต้องมีความกล้าหาญ มีความเสียสละ ศรัทธาแรงกล้า และต้องทำเพื่อผู้อื่น ไม่ได้เสแสร้ง จึงจะชักจูงตอบสนองกระบวนใจของสังคมให้เกิดพลังเชิงบวก และเป็นแรงบันดาลใจให้คนในสังคมมองว่าโลกยังมีอะไรดีๆ อยู่
“ลักษณะอีกประการที่ต้องมีคือต้องกล้าเสี่ยงที่จะโดนด่า การลุกขึ้นมาทำอะไรต้องมีทั้งคนชมคนด่าเป็นเรื่องปกติ แต่ฮีโร่ที่ยิ่งใหญ่ต้องแยกแยะ ตั้งมั่นในสิ่งที่ทำ ไม่สนใจทั้งคำชมและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งดิฉันถือว่าคุณตูนเป็นหนึ่งในนั้นที่ทำสำเร็จ” อาจารย์พรรณระพีกล่าวต่อว่า การเป็นฮีโร่ในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบ Collectivism หรือสังคมรวมหมู่ การมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งลุกขึ้นมาบอกว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมอาจถูกคนหมั่นไส้ “เคยได้ยินไหมว่า จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย คำนี้ตรงมากในสังคมไทย ฮีโร่ในไทยส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนเล็กๆ ไม่กี่คน ตรงข้ามกับสังคม ต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศแถบตะวันตกที่เขามีความปัจเจกบุคคล หรือ Individualism มากกว่า สังคมเมืองนอกเขาไม่แคร์ว่าเขาจะเด่นหรือโดนอะไร เขาแสดงออกได้มากกว่าเรา”
สังคมรวมหมู่แบบสังคมไทย กำหนดให้คนลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างได้ไม่ง่ายนัก อาจารย์พรรณระพีระบุว่า คนที่ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบฮีโร่ในไทย ต้องมีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ หรือไม่ก็เป็นคน “ติสต์แตก” ทำอะไรไม่สนใจ ไม่แคร์โลก การที่กระแสตูน กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมครั้งใหญ่ สามารถมองได้หลายมุม สำหรับในเชิงจิตวิทยา กระแสตูนฟีเวอร์เป็นภาพสะท้อนการโหยหาฮีโร่ของคนไทย หมายความว่า ขณะนี้คนในสังคมมีความไม่มั่นใจ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง หรือผิดหวังบางอย่างในชีวิต เลยต้องการฮีโร่มากอบกู้
“ในภาษาทางจิตวิทยาเราเรียกว่า Sense of Control หรือความต้องการความสงบสุข สิ่งนี้จะหายไปถ้าเราควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ เช่น เราไปสัมภาษณ์งาน ตื่นเต้นกังวล หวั่นไหว ไม่มั่นคง และเกิดการโหยหาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ” เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มีทั้งการนับถือศาสนา การหันไปปฏิบัติธรรมเพื่อหาความสงบในจิตใจ รวมถึง “ฮีโร่” เองก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจรูปแบบหนึ่งที่เป็นคนมีชีวิต และมักเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในสังคมไทย
“กรณีมิสยูนิเวิร์สถ้าไทยได้ตำแหน่ง เขาก็จะเป็นฮีโร่ของคนไทย หรือก่อนหน้านั้น มีนักกีฬาไทยที่ไปแข่งกีฬาโอลิมปิกก็ได้รับการยกย่องสูง แต่ที่ผ่านมาเราอาจมองได้ว่า เป็นปรากฏการณ์สั้นๆ แค่ช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนกรณีของคุณตูน ด้วยระยะเวลาที่มากกว่าคนอื่น เลยมีเวลาสั่งสม เป็นกระแสระยะยาว แต่โดยธรรมชาติของสังคม พอมันเลยจุดพีคไปแล้ว ก็จะหายไป แล้วมีเรื่องอื่นมาแทน”
อาจารย์พรรณระพียังระบุอีกว่า กรณีของตูนอาจทำให้คนบางส่วนเห็นด้วยกับตูน และกลับมาวิพากษ์วิจารณ์ประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาลได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการวิจารณ์รัฐเกิดขึ้นเพราะเรื่องของตูน ที่ทำให้รู้สึกว่าเรามั่นคง “อย่าไปมองว่าพอมีตูนแล้วคนหันมาวิจารณ์รัฐ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของปรากฏการณ์ตูน คนมองว่าเห็นไหม ถ้ามีตูนแล้วอะไรๆ ก็ดีขึ้น ตูนเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขามีหลักมั่นคง สบายใจ พอสบายใจแล้วก็หันไปมองว่านั่นไม่ดี โน่นไม่ดี บางคนโทษรัฐ บางคน โทษงาน แต่ไม่ได้หมายความว่าเขามองรัฐไม่ดี เลยมองตูนว่าดี เหมือนตอนเราตกน้ำเราก็ตะเกียกตะกายขึ้นฝั่ง แต่พอขึ้นมาแล้วเราก็เริ่มหาเหตุผล น้ำมันลึก น้ำมันสกปรก คนเบียดฉันตกน้ำ หรืออื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะหาเหตุผลของเรื่องนี้อย่างไร”
อาจารย์พรรณระพีกล่าวอีกว่า กระแสฮีโร่หรือคนที่สังคมยึดเหนี่ยวถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ในการพาคนไปยังจุดมุ่งหมายที่ดี เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ถ้าคนที่คนในสังคมยึดเหนี่ยวเป็นคนไม่ดี หรือมีวัตถุประสงค์บางอย่างที่ซ่อนเร้น จะนำพาสังคมดิ่งลงเหวได้ จึงต้องระวังให้ดี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้