รู้ลึกกับจุฬาฯ

ปฏิรูปที่ดินเพื่อ “คนจนเมือง”

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เป็นวันที่อยู่อาศัยสากล กลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค รวมตัวกันยื่นข้อเสนอการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในประเทศไทยแก่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) เรียกร้องให้ยูเอ็นกระตุ้นเตือนให้รัฐบาลไทยเคารพต่อสิทธิที่อยู่อาศัยของคนยากจนและมีมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องคนจนเมืองอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยของคนจนเมืองหรือคนในชุมชนแออัด นับว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่อยู่ในสังคมมายาวนาน ก่อนหน้านี้ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้เดือดร้อนด้านสิทธิที่อยู่อาศัย ก็ได้เคลื่อนไหวกันมาหลายครั้ง แต่ปัญหาคนจนเมือง ก็มิใช่ว่าจะแก้ไขได้โดยง่าย

รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมานาน สาเหตุเริ่มต้นเกิดจากความไม่เท่าเทียมของการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างเมืองและชนบท คนชนบทต้องเข้ามาทำงานในเมืองเพื่อหารายได้ เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยกันมากขึ้นก็กลายเป็นชุมชนแออัดหรือที่เรียกว่าสลัม

“ปัจจุบันเรามีชุมชนแออัดมากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีลด หลายแห่งมีความเดือดร้อน เรื่องที่อยู่อาศัย ปัญหาไล่รื้อเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน เพราะทำให้ไม่มีที่อยู่ แต่ถ้าย้อนกลับไป สลัมเองก็มีพัฒนาการของปัญหาเรื่อยๆ มาตั้งแต่อดีต”

อาจารย์ประภาสกล่าวว่า สลัมในยุคแรกๆ มีปัญหาด้านสาธารณูปโภค ไม่มีน้ำ ไฟฟ้าใช้ สภาพชุมชนมีความไม่ปลอดภัย ถึงขั้นเลวร้าย ผู้คนมองว่าสลัมเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เป็นแหล่งที่มีปัญหายาเสพติด จึงมีหน่วยงานหลายแห่งเข้าไปช่วยเหลือ จนปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลง

“เดี๋ยวนี้การเข้าถึงสาธารณูปโภคไม่ใช่ปัญหาสำคัญ สภาพชีวิตคนในสลัมก็แทบจะไม่ได้ต่างจากพวกเราชนชั้นกลาง คนจน คนไร้การศึกษา คนติดยาก็น้อยลงมาก แต่ปัญหาที่เจอทุกวันนี้คือเรื่องไล่รื้อ” รศ.ดร.ประภาสกล่าว

การไล่รื้อเกิดขึ้นเนื่องจากชุมชนแออัดเหล่านี้เข้าไปจับจองพื้นที่ว่างปล่อยรกร้าง ตั้งกันเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยมานานหลายสิบปี พื้นที่ที่เข้าไปจับจองมีทั้งที่ดินของภาครัฐและเอกชน เช่น ท่าเรือคลองเตย ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 60 ปี

อาจารย์ประภาส ระบุว่า ปัญหาการไล่รื้อที่ดินที่กลายเป็นปัญหาขึ้นมาเพราะเป็นการไล่รื้อขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อหลายครัวเรือน ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เน้นการลงทุนด้านเศรษฐกิจ การลงทุนของโครงการขนาดใหญ่ด้านระบบขนส่ง ระบบราง พัฒนาระบบคูคลอง การระบายน้ำ การลงทุนด้านศูนย์การค้า ก็ยิ่งทำให้มีการไล่รื้อมากขึ้น

ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาด้านต่างๆ เช่น มีการเคหะแห่งชาติ  มีแผนบ้านมั่นคง

บ้านเอื้ออาทร รวมถึงเงินชดเชยแก่ครัวเรือนที่ถูกไล่รื้อ แต่ผลจากการวิจัยพบว่ายังไม่เพียงพอต่อผู้ประสบปัญหาที่ต้องหาที่อยู่ใหม่

“ผมเคยคุยกับพี่น้องในเครือข่าย เขาบอกว่าพอถูกไล่ก็ต้องย้ายไปอยู่ชานเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่สร้างรายได้ บางพื้นที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ก็ต้องไปต่อไฟมาเอง เงินที่รัฐให้ก็ไม่พอสร้างบ้าน ได้แต่ค่าที่ดิน คือในเชิงปฏิบัติมีปัญหา เพราะรัฐไม่ใส่ใจกับปัญหานี้ เท่าการพัฒนาเศรษฐกิจ”

การแก้ปัญหาที่ต้องคำนึงถึง อย่างที่อาจารย์ประภาส เน้นย้ำ คือต้องมีการปฏิรูปที่ดิน เพราะปัญหาอย่างหนึ่งของสังคมไทย คือการถือครองที่ดินกระจุกตัวอยู่ที่คนรวย คนจนเข้าไม่ถึงการ ถือครองที่ดิน มีคนเพียงร้อยละ 10 ของประเทศ ถือครองที่ดินทั้งประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 80

“มันไม่มีการกระจายการถือครองที่ดิน หรือมีกฎหมายมาจำกัดการถือที่ดิน กลไกเชิงกฎหมายการเสียภาษีที่ทำให้คนที่มีที่ดินมากๆ ต้องเสียภาษีมากๆ ก็ไม่มี ทุกวันนี้เลยมีแต่นโยบายเชิงสวัสดิการสังคมสงเคราะห์คนไร้บ้าน คนจนเมือง ซึ่งมันไม่พอ” อาจารย์ประภาสกล่าว พร้อมย้ำว่าถ้าจะแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จ ต้องมีการปฏิรูปที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ำของการถือครองที่ดินในประเทศไทย

ทั้งนี้ เครือข่ายสลัม 4 ภาค มีข้อเสนอเพิ่มเติมอีกว่า ควรมีกลไกแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ตามหน่วยงานที่กำกับดูแลนโยบาย คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งล่าสุดได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี พ.ศ. 2559 – 2568 เน้นส่งเสริมความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยจัดเตรียมที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน โดยจะมีการร่วมมือกันขององค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน แต่จะเป็นไปตามแผนหรือไม่คงต้องติดตามดูกันต่อไป

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าที่อาจารย์ประภาสย้ำคือนโยบายการใช้ที่ดินที่ต้องชัดเจน มีการปฏิบัติจริง เพื่อให้คนจนเมืองสามารถเข้าถึงที่ดินและมีที่อยู่อาศัยที่ดีให้ได้

 

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า