รู้ลึกกับจุฬาฯ

“ถอดบทเรียน” จากกรณีบ่อบำบัด 5 ศพ

ข่าวน่าสลดใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นข่าวการเสียชีวิตของ “น้องหวาย” น.ส.ปัณฐิกา ตาสุวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เสียชีวิตจากการตกลงไปในบ่อบำบัดน้ำเสียของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พร้อมกับพนักงานของซีพีเอฟอีก 4 คน ที่พยายามลงไปช่วย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 ศพ

ทั้งนี้ “น้องหวาย” เป็นนิสิตฝึกงานที่เข้าไปดูงานทัศนศึกษาในที่บริษัทซีพีเอฟ จนถึงขณะนี้ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนของการตกลงไปในบ่อบำบัด เนื่องจากบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีกล้องวงจรปิด แต่จากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตทุกคนพบว่าสาเหตุการตายมาจากการขาดอากาศ

ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี และอาจารย์จากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า การเสียชีวิตในกรณีนี้เกิดขึ้นเพราะผู้เคราะห์ร้ายอยู่ในสถานที่อับอากาศ ซึ่งตามนิยามคือ สถานที่ที่มีการ

เข้าออกจำกัด ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นที่ทำงานประจำ จึงมีการระบายอากาศไม่พอ ทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพไม่ถูกสุขลักษณะ ขาดการไหลเวียนของออกซิเจน และอาจมีก๊าซพิษสะสมในปริมาณสูง เช่น ในอุโมงค์ ท่อ บ่อ หลุม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นพ.นรินทร์อธิบายว่า ในเมื่อเป็นสถานที่เสี่ยงอันตรายแบบนี้ก็ควรมีหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยมากำกับ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization หรือ ILO) ได้วางหลักการด้านอาชีวอนามัย หรือหลักการสร้างความปลอดภัยให้แก่คนทำงานไว้ มานานกว่า 10 ปี

“หลักเกณฑ์คร่าวๆ ที่วางไว้คือ หลัก 5P อันแรกคือ Promotion สร้างความปลอดภัยในการทำงาน, Prevention ป้องกันไม่ให้สุขภาพเสื่อม, Protection ป้องกันไม่ให้เกิดการอุบัติเหตุ, Placing สถานที่ทำงานต้องปลอดภัยและทำให้คนมีสุขภาพดี และท้ายสุดคือ Propriety ทำงานที่เหมาะสมกับตน” นพ.นรินทร์กล่าว

จากหลักการดังกล่าวนำมาซึ่งแนวทางสำคัญที่สถานประกอบการต่างๆต้องยึดเป็นหลักในการดำเนินการ แนวทางที่ว่านี้ถูกเรียกว่า หลัก 5E ประกอบด้วย

1.Education สร้างความตระหนักรู้ เข้าใจหลักการด้านอาชีวอนามัย
2.Encouragement กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการป้องกันและความปลอดภัย
3.Engineering การออกแบบโรงงานที่ปลอดภัย อุปกรณ์ที่เหมาะสม
4.Enforcement การออกกฎหมายข้อบังคับให้ทำตาม
5.Evaluation

การติดตามประเมินผล หรือปรับปรุงจุดบกพร่อง ซึ่ง นพ.นรินทร์บอกว่า หลักการและแนวปฏิบัติเหล่านี้กลายมาเป็นกฎกระทรวง ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547

“ของไทยเรามีกฎกระทรวง 7 ข้อ เขียนไว้ชัดเลยว่า ถ้าเป็นการทำงานในสถานที่อับอากาศต้องทำอย่างไร เช่น ต้องมีการติดประกาศชัดนะว่า ที่นี่เป็นที่อับอากาศ เป็นที่อันตราย และก็ต้องมีมาตรการรักษา

ความปลอดภัย หลีกเลี่ยงให้คนเข้าไป หรือถ้าเข้าไปแล้วก็ต้องมีคนคุม มีการเตรียมพร้อมเยอะ รวมถึงเตรียมกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีโปรแกรมความปลอดภัย ฝึกอบรม ฯลฯ” นพ.นรินทร์ระบุ

กรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสร้างความข้องใจให้แก่ ศ.ดร.นพ.นรินทร์ว่า เกิดขึ้นด้วยสาเหตุอะไร เพราะในที่เกิดเหตุมีการตรวจสอบและพบว่ามีถังออกซิเจนที่ใช้และไม่ใช้แล้วตกอยู่

“ผมไม่แน่ใจว่าเขาเตรียมพร้อมมากน้อยแค่ไหน คือมีเครื่องมืออยู่ก็จริง แต่คนที่ลงไปต้องใส่เครื่องมืออุปกรณ์ลงไป เขารู้กันหรือเปล่าว่าลงไปแบบไม่ใส่อะไรเลยทำไม่ได้ แล้วผมก็ไม่แน่ใจว่าแนวทางการฝึกอบรมมีบ้างไหม มีอุปกรณ์ก็จริง แต่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (standard operating procedure) ที่ถูกต้องหรือเปล่า” ศ.ดร.นพ.นรินทร์ตั้งข้อสังเกต

ศ.ดร.นพ.นรินทร์เสริมอีกว่า เหตุการณ์นี้ไม่ได้เป็นเหตุการณ์แรก จึงอยากให้เกิดความตระหนักขึ้นในสังคมไทย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา เราค่อนข้างให้ความสำคัญกับการป้องกันน้อย ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแล

จะต้องเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น

“กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานคงต้องเข้าไปตรวจสอบแล้วว่าแต่ละแห่งทำตามกฎกระทรวงมากน้อยแค่ไหน ต้องเข้าไปสำรวจว่ามีการปฏิบัติตามไหม ที่ผ่านมาผมไม่แน่ใจว่าเขาทำหรือเปล่า” ศ.ดร.นพ.นรินทร์กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในโรงงาน ซึ่งได้ติดตามข่าวนี้มาตลอด สันนิษฐานว่า เหตุที่ทำให้มีคนเสียชีวิตมาก และส่วนใหญ่เป็นคนที่ลงไปช่วย น่าจะมาจากความรีบเร่งในสถานการณ์ฉุกละหุก เตรียมการอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทัน จึงอาจจะละเลยหรือหลงลืมขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในการดำเนินงานไป

อย่างไรก็ดี ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีการปลูกฝังจริงจัง เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดอย่างกรณีของน้องหวาย และเจ้าหน้าที่ซีพีเอฟ

ผศ.ดร.ชัยพรทิ้งท้ายว่า ควรมีการสอนทักษะและความตระหนักรู้ ในเรื่องนี้ให้ประชาชนตั้งแต่ยังเล็ก รวมไปถึงการฝึกอบรมอย่างจริงจังและการบังคับใช้มาตรฐานการปฏิบัติที่เคร่งครัดในหน่วยงานหรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีการทำงานในลักษณะที่เสี่ยงอันตราย

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า