รู้ลึกกับจุฬาฯ

โควิด-19 กระทบห่วงโซ่เศรษฐกิจโลก

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดไปทั่วโลกของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบไปทุกมิติของชีวิตมนุษย์ อีกปัญหาที่หลายคนกังวลนอกเหนือจากผลกระทบทางสุขภาพ คือสถานการณ์เศรษฐกิจ ที่เริ่มส่อเค้าลางว่าจะตกต่ำและทำให้ผู้คนอยู่ยากกันขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากการขาดแคลนหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ข่าวการกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ก็ทำให้เกิดกระแสความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ขาดแคลนสินค้า หรือราคาสินค้าพุ่งปรับตัวสูงเหมือนหน้ากากอนามัยหรือไม่

อย่างไรก็ดี รศ.ดร.กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ อธิบายว่า การขาดแคลนสินค้าน่าจะยังเป็นเหตุการณ์ที่ไม่รุนแรงมากนัก

“เหตุที่เราเห็นข่าวแอลกอฮอล์ขาด หน้ากากขาด เป็นเพราะผลกระทบในระบบเศรษฐกิจมันชัด แต่ในเชิงของกินของใช้ที่เราผลิตในประเทศไทยจะไม่ขาดแคลน ถ้าเป็นประเทศที่นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากประเทศอื่นๆ เยอะ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง รวมถึงยุโรปจำนวนมากอาจจะขาดบ้าง แต่ในระยะยาว ปัญหา Supply Shortage ก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม”

อาจารย์กรกรัณย์ชี้ว่า ปัญหาห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก หรือ Supply Chain Disruption เป็นปัญหารุนแรงและก่อให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยมากกว่า เช่น ภาคการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั่วโลก รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ต้องอาศัยชิ้นส่วนหลายชิ้นมาประกอบกัน

เนื่องจากระบบการผลิตสินค้าดังกล่าวมาจากสายพานการผลิตในที่ต่างๆ บนโลก เมื่อโควิด-19 เกิดระบาดที่จีน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในระดับหนึ่ง แต่หลังจากมีการลุกลามเป็นโรคระบาดใหญ่ทั้งโลก ส่งผลให้ไม่ว่าจะย้ายฐานการผลิตไปที่ใดก็ยังต้องเจอปัญหาหยุดชะงัก

“ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ สมมุติว่ารถยนต์คันหนึ่งต้องใช้ ชิ้นส่วนประกอบกัน 1,000 ชิ้น ถ้าหากมีชิ้นไหนเพียงชิ้นเดียวติดขัดผลิตไม่ได้รถยนต์ก็นำมาประกอบเป็นชิ้นเดียวกันไม่ได้ จะขายอย่างไร แล้วชิ้นที่เหลือจะทำอย่างไรต่อ สต็อกของไว้นานก็สต็อกบวม ขณะที่ฝั่งอุปสงค์ลดลงเพราะคนไม่ซื้อของ มันเกิดผลกระทบต่อเป็นลูกโซ่เป็นทอดๆ เพราะพอทางจีนเริ่มควบคุมโรคได้ ที่ยุโรปก็มาเป็นต่อ ย้ายจากอีกที่ไปเป็นอีกที่”

อาจารย์กรกรัณย์ชี้ว่านับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1990 โลกเริ่มมีการคิดค้นนวัตกรรมสื่อสารเทคโนโลยี และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เศรษฐกิจโลกก็เริ่มย้ายเครือข่ายเป็นการเชื่อมโยงการผลิตเข้าด้วยกัน และมีการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตสินค้าในหลากหลายประเทศ รวมถึงการเข้ามามีบทบาทของจีนในตลาด การค้าและกลายเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของโลก ผลกระทบจากโควิด-19 จึงเป็นภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงัก นับว่าเป็นเหตุการณ์ความไม่แน่นอน ที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลก

“ยกตัวอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมที่อยุธยา ครั้งนั้นเกิดผลกระทบในห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นะเพราะมีโรงงานประกอบชิ้นส่วนที่อยุธยาแต่ว่าเราควบคุมได้ เช่น ไปประกอบที่แหล่งอื่น อีกอย่างก็คือน้ำท่วมเราสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นี้จบเมื่อไร แต่พอเป็นโรคระบาดทุกคนจะหยุดชะงัก และไม่รู้ว่าถ้าย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนไปที่อื่นจะมีปัญหาไหม เพราะโรคระบาดไปทั่วโลก”

อาจารย์กรกรัณย์ชี้ว่า หลังจากเริ่มมีสถานการณ์ห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงักที่เกิดปัญหาจากโรคระบาด ก็เริ่มมีการพูดคุยกันถึงแนวทางการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้เหตุจากโรคระบาดก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงและควบคุมได้ยาก เพราะไทยไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชิ้นส่วน เช่น ยานยนต์ เพราะไม่ได้มีความรู้และเทคโนโลยีพอที่จะรองรับ ขณะเดียวกันตลาดในประเทศก็เล็กเกินกว่าจะผลิตทุกชิ้นส่วน ทำให้ต้องพึ่งพาต่างชาติ

“มีความเป็นไปได้อยู่บ้าง แทนที่จะพึ่งพิงฐานการผลิตที่ใดที่หนึ่งก็ทำเป็นสองที่ สำหรับอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามเป็น Lead Firm (บริษัทที่กำหนดการผลิตในห่วงโซ่การผลิตระดับโลก) เช่น โตโยต้า ก็ต้องย้ายไปทำ Double Source (แหล่งจัดหาวัตถุดิบสำรอง) ที่อื่น แต่ว่าหากปัญหาเกิดทั้งสองที่ก็ควบคุมได้ยากเหมือนกัน”

อาจารย์กรกรัณย์แนะนำว่า มาตรการที่ภาครัฐควรกระทำเร่งด่วนหลังจากนี้คือมาตรการบรรเทาหรือมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่สายป่านการผลิตไม่ยาวและได้รับผลกระทบหนักรวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคท่องเที่ยว ภาคการผลิต ภาคบริการหรือแม้แต่ลูกจ้างพนักงาน

“สถานการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ไม่เหมือนกับวิกฤติการณ์เศรษฐกิจตกต่ำเหมือนที่ผ่านมา แต่รอบนี้วงกว้างมาก และเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลว่าจะช่วยเหลืออย่างไร” อาจารย์กรกรัณย์กล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า