รู้ลึกกับจุฬาฯ

เตรียมใจรับมือ ซึมเศร้า เมื่อสูงวัย


ข่าวการฆ่าตัวตายของ พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ สร้างความตกใจให้ประชาชนจำนวนไม่น้อย แม้จะมีจดหมายสั่งเสียบอกเหตุผล แต่ก็มีการเปิดเผยจากลูกชายว่า พล.ต.อ.สล้าง ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาหลายปีแล้ว 


ผลวิจัยจุฬาฯ เรื่องภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ข้อมูลจาก รศ.ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์  รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า มีงานวิจัยเมื่อปี 2552 ของวลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ และคณะ ที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุร้อยละ 72.3 มีภาวะซึมเศร้า และร้อยละ 15.6  มีภาวะโรคซึมเศร้า ด้วยภาวะแห่งสังคมสูงวัยในปัจจุบัน ก็ย่อม เป็นที่แน่นอนว่า ตัวเลขของผู้สูงอายุที่มีภาวะเกี่ยวข้องกับการซึมเศร้าก็ย่อมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว 

“พูดง่ายๆ คือ 3 ใน 4 คนมีความพร้อมที่จะจุดชนวนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเมื่อรู้สึกแย่ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เขาเกิด Crisis หรือตัดสินใจว่าตัวเองไม่อยากเป็นภาระผู้อื่น เพราะผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเปราะบางจริง” อาจารย์อรัญญากล่าว

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในคนวัยต่างๆ

อาจารย์อรัญญา ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกขึ้นอยู่กับว่าตัวแปรใดจะมีผลมากกว่ากัน เราเรียกอาการนี้ว่าโรคซึมเศร้าที่เกิดจากรอยต่อระหว่างวัย 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัยเบญจเพส

มีความหุนหันพลันแล่น ไฟแรงมาก มีความหวังสูง พอทำอะไรผิดพลาดก็จะเกิดอาการผิดหวังกลายเป็นซึมเศร้า 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในวัย 35-40

เป็นวัยสร้างครอบครัว เสมือนเบญจเพสรอบ 2 มีการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นว่าทำไมเขาบ้านใหญ่กว่า ฐานะดีกว่า เราเรียกว่า Midlife Crisis ขณะที่รอยต่อที่สามคือสูงวัย รู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้เหมือนแต่ก่อน ถ้าก้าวไม่ข้าม ไม่เตรียมใจไว้ จะเกิดวิกฤติ”

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในสูงอายุ

ซึ่งเป็นวัยที่กำลังหมด หมดไฟ หมดแรง มีความเสื่อมถอย ของสุขภาพ มีโรคประจำตัว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

อาการทางใจของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

อาจารย์อรัญญา กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ก็มีทั้งความเหมือนและความต่างกับในวัยหนุ่มสาว สิ่งที่เหมือนกันคือพฤติกรรม ความคิด อารมณ์ มีการเปลี่ยนแปลง มีความสะเทือนใจง่าย และมีความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ฉุดให้เกิดการทำร้ายตัวเอง

แต่สิ่งที่ต่างคือการแสดงออก ในคนหนุ่มสาวจะเห็นอาการหงุดหงิด โมโห หรือยอมรับว่าตัวเองมีภาวะไม่ดี รู้สึกแย่และต้องการการรักษามากกว่าคนแก่

อาการทางกายของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

“คนแก่จะไม่อยากให้คนรอบข้างเป็นห่วงหรือทำตัวเป็นภาระ คนสนิทในวัยเดียวกันที่จะมานั่งปรับทุกข์ก็มีไม่มาก ลูกหลานที่ทำงานก็ยุ่งเกินจะมาสังเกต ดังนั้น อาการช่วงแรกๆ ของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จะสังเกตได้ยาก และโดยพื้นฐานคนสูงวัยที่ขี้บ่น ขี้ลืม อาการหงุดหงิดจู้จี้ หรืออาการเพ้อของคนแก่ เหล่านี้ก็ทำให้คนรอบข้างกระเจิงออกไป”โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุหลายคนมีอาการเจ็บปวดทางร่างกายด้วย เช่น 

  • การปวดหลัง 
  • แรงตก 
  • คนแก่นอนไม่หลับ  

ซึ่งหากเป็นวัยหนุ่มสาวจะ สังเกตได้ชัดเจนและทราบว่าร่างกายตนเองมีความปกติ แต่ในผู้สูงวัย จำแนกได้ยากกว่าที่ปวดหลัง ปวดเอว แรงตก เป็นเพราะอาการตามวัย หรือเป็นเพราะโรคซึมเศร้า คนรอบข้างก็สังเกตแต่เพียงว่าเป็นอาการตามวัย

นอกจากนี้อาจารย์อรัญญาระบุว่า การป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุต้องอาศัยการสังเกตสุขภาพจิตผู้สูงอายุจังหวะที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการบ่งชี้ ได้แก่ 

  • การเหม่อลอย 
  • นอนไม่หลับ 
  • น้ำตาไหลง่าย ฯลฯ 

ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญว่ามีสาเหตุมาจากอะไร และหาทางรับมือกับรอยต่อระหว่างวัยเพื่อให้อยู่ในสภาพความเป็นจริงของสุขภาพในวัยชรา

ขณะเดียวกันสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความกดดันความแข่งขันสูงก็อาจมีส่วนที่ทำให้ผู้สูงวัยกลุ่มเปราะบางหลายคนเข้าสู่อาการในขั้นวิกฤติ เพราะไม่สามารถต้านทานความเครียดความกดดันได้ และกลายมาเป็นอาการโรคซึมเศร้าที่ส่งผลต่อสุขภาพ

“สังคมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราหยุดไม่ได้ ดังนั้นแต่ละคนต้องสร้างภูมิต้านทานต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งความเข้มแข็งภายในและความเข้าใจของคนรอบข้าง เหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมตัวจึงจะรับมือได้”

การดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจ ป้องกันโรคซึมเศร้าของผู้อายุ

ในการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจ คนรอบข้างเองก็ต้องมีความเข้าใจและมีความใส่ใจ เพราะเป็นตัวแปรทำให้แก้ปัญหาเรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่กับผู้สูงวัยตลอดเวลา แต่ต้องมีการรับมือ จัดระยะที่พอดี และรักษาสายสัมพันธ์อันอบอุ่นไว้ ยิ่งมีการพูดคุยซักถามก็จะช่วยให้ทราบอาการสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

สรุป

ผลวิจัยจุฬาฯ เรื่องภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ พบว่าตัวเลขของผู้สูงอายุที่มีภาวะเกี่ยวข้องกับการซึมเศร้าก็ย่อมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งนอกจากมีอาการทางจิตใจแล้วยังมีอาการที่สังเกตได้ทางร่างกาย ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำคือ “ผู้สูงอายุต้องสังเกตตัวเอง หรือคนรอบข้างเป็นคนสังเกต ถ้าพบว่ามีอาการบ่งชี้ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุก็รีบตรวจเช็กสุขภาพจิตทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ซึ่งไม่ต่างจากการตรวจเช็กสุขภาพกายที่คนชราต้องไปตรวจประจำ ถ้าเจอก่อนเช็กก่อนจะสามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ สารเคมีในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงก็จะคุมไม่อยู่” อาจารย์อรัญญากล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า