รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 26/02/2018 นักวิชาการ: รศ.ดร.คณพล จันทน์หอม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ข่าว “ป้าทุบรถ” ที่ซอยศรีนครินทร์ 55 ถนนหมู่บ้านเสรีวิลล่า แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแรกเริ่มที่เป็นเพียงคลิปแอบถ่ายในโลกโซเชียล ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของตลาดสดทั้ง 5 แห่ง ในหมู่บ้าน และนำมาซึ่งกระแส #ทีมป้า ในโลกออนไลน์ที่ชาวเน็ตไม่เพียงเห็นอกเห็นใจกับเคราะห์กรรมของคุณป้า แต่ยังเห็นด้วยกับสิ่งที่ชาวบ้านในหมู่บ้านเรียกร้องมาตลอด
ล่าสุดกระแสโจมตีในโลกโซเชียลมีเดีย ยังนำพาให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ต้องออกมาลงพื้นที่และเร่งสั่งปิดตลาดสดที่ไม่มีใบอนุญาต พร้อมดำเนินคดีกับเจ้าของตลาดสดเป็นที่เรียบร้อย
การจัดตั้งตลาดสดต้องทำอย่างไร คือคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่ง รศ.ดร.คณพล จันทน์หอม ผู้ช่วย อธิการบดีด้านกฎหมาย และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงไว้ว่า เรื่องนี้มีกฎหมายหลายส่วนมาเกี่ยวข้อง ได้แก่
อาจารย์คณพลชี้ว่า กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการตลาดมีการบัญญัติไว้โดยตรงใน พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 34 หลักการมีอยู่ว่าห้ามมีการจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้นการขออนุญาตตั้งตลาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นตลาดประจำหรือตลาดนัดมิฉะนั้นจะมีโทษ
ขั้นตอนการดำเนินการผู้ที่ต้องการจะประกอบกิจการตลาด ตลาดสด ต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหลังจากมีการตรวจความถูกต้องและสมบูรณ์ของเอกสารแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะเดินทางไปตรวจสอบสภาพของสถานที่ว่าถูกสุขลักษณะของตลาดหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไข จนกว่าจะได้ใบอนุญาต
ในการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบว่าเป็นไป ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ.2551 ใน กทม. ก็จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ตลาด (พ.ศ.2546) เช่น พิจารณาว่าตลาดประเภทไหนมีโครงสร้างอย่างไร เป็นไปตามโครงสร้างตลาดสด ตามข้อกำหนดหรือไม่ ลักษณะสินค้าที่ขายเป็นอย่างไร เป็นต้น
อาจารย์คณพล กล่าวต่ออีกว่า พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518 เป็นกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยว่าพื้นที่ดังกล่าวจะนำมาสร้างตลาด ตลาดสด ได้หรือไม่ จะมีการจำแนกประเภท เช่น “ย” หรือประเภทที่อยู่อาศัย และมีการแยกย่อยของ “ย” แต่ละชนิด เช่น ประเภท “ย 3” เป็นที่ดินที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงรักษาการอยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมดีในบริเวณชานเมือง หรือพื้นที่สีเหลือง กำหนดว่าห้ามตั้งตลาด ยกเว้นจะเป็นไปตามที่กำหนด
นอกจากนี้กรณีตลาด ตลาดสด มีสิ่งปลูกสร้างก็ต้องมีใบขออนุญาตก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในมาตรา 21 กำหนดชัดเจน ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อาคารสำหรับการพาณิชยกรรม ต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนด เช่น มีเครื่องมือดับเพลิงมีที่ทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้น
ที่กำหนดว่าที่ดินนั้นมีเพื่อวัตถุประสงค์ใด และต้องถือตามที่จดทะเบียนไว้ เช่น ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็ต้องเป็นที่อยู่อาศัย จะดัดแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ไม่ว่าจะผ่านมากี่มือก็ตาม
“ผมเห็นว่ากฎหมายมีมากพออยู่แล้วในการจัดการตลาด ตลาดสด ในการดำเนินการเรื่องหนึ่งผู้ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ต้องศึกษากฎหมายหลายฉบับ ซึ่งถ้าไม่ระวังก็อาจมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องในการดำเนินการได้” อาจารย์คณพลกล่าว พร้อมเสริมว่า ปัจจุบันมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตในปี 2558 ใช้บังคับ ทำให้หลายหน่วยงานจัดทำคู่มือประชาชนในการดำเนินเรื่องต่างๆ โดยจะมีศูนย์รับคำขออนุญาตในลักษณะ วัน สต็อป เซอร์วิสให้ผู้ประกอบการขออนุญาตทุกเรื่องในคราวเดียวกัน กลไกดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และช่วยป้องกันการทุจริตเจ้าหน้าที่ในระดับหนึ่งด้วย
อาจารย์คณพลให้คำแนะนำว่า หน่วยงานต่างๆ ควรเร่งทำคู่มือประชาชนที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ให้เสร็จโดยเร็ว และรัฐก็ควรทบทวนกฎหมายที่มีข้อยุ่งยากในการอนุญาตให้ง่ายขึ้น มีระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความสมบูรณ์
อย่างไรก็ดี กรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นแล้วประชาชนผู้เดือดร้อนก็มีสิทธิ์ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองได้ และต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ว่าถ้าเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ ถ้าไม่ เจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องรับผิดชอบและได้รับบทลงโทษทางวินัย หรืออาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ผู้เสียหายยังสามารถแจ้งความดำเนินคดีแก่เจ้าของตลาด ตลาดสด ในฐานะจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้เกิดเหตุ เดือดร้อนรำคาญ ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่กระทำการนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายของในตลาด ตลาดสด ก็ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เรียกค่าสินไหมทดแทนได้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้