รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 11/5/2017 นักวิชาการ: จุฬาฯ
ปัจจุบันโทรทัศน์ช่องหลักของไทยมีมากกว่า 20 ช่อง แต่สำหรับผู้ชมบางคนอาจจะรู้สึกว่าออกอาการ “ร้อยช่อง รายการเดียว” เพราะเนื้อหาขาดความหลากหลาย และมักจะเน้นรูปแบบที่ซ้ำกันไปมาประเภท ละคร เกมโชว์ การแข่งขันร้องเพลงและคุยข่าว ซึ่งมีแนวโน้มไปทางบันเทิงมากกว่าสาระ ยิ่งรายการที่เน้นกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเป็นเด็กวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ก็ยิ่งเน้นความสนุกสนานเป็นสำคัญ
รายการที่ให้ความรู้ทางโทรทัศน์สำหรับเด็กวัยรุ่นดูเหมือนจะเป็นสายพันธุ์ที่หายากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งรายการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการสำหรับเด็กระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบเนื้อหาที่เคยเป็นที่นิยมในอดีต ยิ่งหายากจนแทบจะเหมือนสูญพันธุ์ไปแล้ว
เมื่อสามสิบปีที่แล้ว คนใน Generation X อาจจะคุ้นเคยกับรายการอย่าง ไอคิว 180 และ Shell Quiz ที่ให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ พร้อม ๆ กับความสนุกสนานจากการแข่งขันประลองความรู้ของผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนจากโรงเรียนมัธยมจากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
รายการไอคิว 180 เป็นรายการสุดใฝ่ฝันของเด็กเรียนเก่งสายวิทย์-คณิตที่อยู่มานานเกือบ ๆ 20 ปี (พ.ศ.2528 – 2543) เนื้อหาเป็นควิซโชว์ครอบคลุมโจทย์ปัญหาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ช่วงท้ายของรายการมีการแข่งขันการคิดเลขเร็ว รายการนี้มีเครือซีเมนต์ไทยเป็นผู้สนับสนุน และมีอาจารย์ชัยณรงค์ มณเทียรวิเชียรฉาย ซึ่งปัจจุบันเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2525 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. แล้วย้ายมาออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2528-2540ในชื่อรายการ”180 ไอคิว” ก่อนจะปิดตัวไปในปี 2543
ขณะที่ รายการ Shell Quiz เป็นรายการแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ในหลายหมวด พัฒนาคำถามโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีพิธีกรคู่เป็นคนไทยและต่างชาติ ซึ่งพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก รายการออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2508 – 2552 โดยช่วงหลังเปลี่ยนรูปแบบจากจัดทำรายการในห้องส่งมาเป็นรายการสัญจรไปในจังหวัดต่าง ๆ
ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) เป็นผู้สนับสนุนรายการมาโดยตลอด จนในช่วงหลัง สำนักงานใหญ่ที่บริษัทแม่ของเชลล์ในเนเธอร์แลนด์ได้เปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ไปมุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รายการยอดนิยมที่อยู่มายืนยงอย่าง Shell Quiz หรือที่คนรู้จักกันภายใต้ชื่อเล่นว่า “รายการตอบปัญหาหอย” เพราะมีโลโก้หอยเชลล์เป็นที่ติดตา จึงอันตรธานไปจากหน้าจอโทรทัศน์ไทย
ผ่านมาอีกเกือบ 10 ปี ผู้ดำเนินรายการคนสุดท้ายของรายการ Shell Quiz on the Road คือ เต้ สุผจญ กลิ่นสุวรรณ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการมากความสามารถ ก็ได้กลับมาสร้างความฮือฮาให้วงการโทรทัศน์ไทยด้วยรายการแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษแนวใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร ชื่อว่ารายการ CU on the Road ซึ่ง CU หมายถึง Chulalongkorn University หรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและสนับสนุนรายการนั่นเอง
รายการ CU on the road เป็นรายการแข่งขันตอบปัญหาภาษาอังกฤษ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นผลงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิ ศูนย์สื่อสารองค์กร สถาบันภาษา สถานีวิทยุจุฬาฯ และ ศูนย์มัลติมีเดีย แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะริเริ่มเปิดพื้นที่การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของสังคมในลักษณะเวทีการแข่งขันความรู้ภาษาอังกฤษแบบสัญจร
สำหรับเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 60 โรงเรียน ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สังคมได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในเรื่องการสร้างเสริมสังคมไทยและก้าวไกลในสังคมโลก
ในการแข่งขันรายการ CU on the road เต้ สุผจญ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีต้นทุนสูงมากด้านภาษาอังกฤษจะดำเนินรายการผ่านรูปแบบการแข่งขันให้ดูสนุก และใกล้ตัว จนถึงวันนี้ได้ทำการแข่งขันคัดเลือกกันมาแล้วหลายรอบ จนได้ผู้ชนะคือ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ตัวแทนจากกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ตัวแทนจากภาคกลาง
ขณะนี้อยู่ระหว่างการแข่งขันในรอบภาคใต้อย่างเข้มข้น ผู้ชนะ 1 โรงเรียนที่ได้เป็นตัวแทนภาค จะได้สิทธิเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศ และเมื่อได้ผู้ชนะจากรอบภาคใต้แล้ว ก็จะเข้าสู่การแข่งขันในรอบภาคะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือต่อไป
กว่าจะได้เป็นผู้ชนะ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนต้องฝ่าด่านคำถามความรู้รอบตัวสารพัดหมวดเป็นภาษาอังกฤษ หมวดคำถามเหล่านี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ ไม่ได้มีอยู่แต่ในตำราเพียงอย่างเดียว เช่น คำถามเกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 สถานการณ์ที่สำคัญของโลกและปัจจุบัน ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ตความรู้เกี่ยวกับจังหวัดต่างๆในภูมิภาค งานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญ ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศในอาเซียน ประวัติศาสตร์ บันเทิงและวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น
การแข่งขันในรอบสุดท้ายที่จะเป็นการนำผู้ชนะของทุกภาคมาเจอกันหมด จะออกอากาศในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น ผู้ที่ติดตามรายการนี้น่าจะได้รับทั้งความรู้และบันเทิงไปพร้อมๆกัน และอาจเปลี่ยนทัศนคติจากที่เห็นว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องน่ากลัวมาเป็นเรื่องสนุกแทน
รายการ CU on the road ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.25 – 16.40 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง OneHD 3
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้