รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 19/12/2016 นักวิชาการ: นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวนักร้องหนุ่ม ตูน บอดี้สแลม วิ่งระดมทุนบริจาคซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลบางสะพาน โรงพยาบาลขนาดกลางใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้กลายเป็นข่าวใหญ่ที่สังคมทั้งนอกและในโซเชียลมีเดียพากันฮือฮา และพร้อมกันชื่นชมนักร้องหนุ่มที่ออกมาทำดีเพื่อสังคม จนมีคนออกมาร่วมบริจาคเป็นจำนวนเงินมากกว่า 60 ล้านบาท
มีการอธิบายจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางสะพานว่า โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง มีขนาด 60 เตียง เป็นโรงพยาบาลระดับกลาง มีปัญหาที่กำลังเผชิญคือมีแพทย์เฉพาะทางจำนวนน้อย บางแห่งไม่ครบทุกสาขาที่สำคัญคือขาดแคลนเครื่องมือในการรักษา ขณะเดียวกันแม้จะมีขนาดรองรับผู้ป่วยได้ 90 เตียง แต่สภาพความเป็นจริงต้องรองรับผู้ป่วยตลอด 150-180 เตียงในแต่ละวัน และมีผู้ป่วยนอกวันละ 400 ราย ทำให้มีสภาพแออัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของประเทศหลายคนชี้ว่า ปรากฏการณ์วิ่งเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน สะท้อนปัญหาการขาดแคลนงบประมาณที่กระทรวงจัดมาให้ ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและมาตรฐานการรักษาที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน
ด้าน นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงและคลุกคลีในวงการสาธารณสุข ชี้ว่าเรื่องงบประมาณเป็นปัญหาเพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าให้พูดถึงรากเหง้าของปัญหาภาพรวมจริงๆ คงจะมาจากจำนวนคนไข้ที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า
“ต้องบอกว่าพอเรามีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ทำให้มีคนเข้าถึงบริการมากขึ้น แต่อย่าลืมนว่าทุกวันนี้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนแก่เยอะขึ้น แถมป่วยกันด้วยโรคเรื้อรัง โรคพวกนี้รักษาไม่หาย มีค่าใช้จ่ายสูง ต้องการการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ” นพ.สวรรค์ชี้
ส่วนที่ว่างบประมาณเพียงพอไหมนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ซึ่ง นพ. สวรรค์ระบุว่าคงตอบไม่ได้ เพราะแต่ละแห่งมีความหลากหลาย อย่างในกรณีของโรงพยาบาลบางสะพานน่าจะมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์ และตัวโรงพยาบาลบางสะพานครอบคลุมพื้นที่ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับ ชุมพร ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ มีคนไข้เยอะ “ผมเดาว่าเขาคงต้องคุมพื้นที่เยอะ เพราะประจวบฯ พื้นที่มันยาว การส่งต่อคนไข้อะไรต่ออะไรก็คงลำบาก เพราะอยู่ห่างไกล นี่เป็นเหตุหนึ่งทำให้คนไข้ต้องกระจุกตัวอยู่ที่โรงพยาบาลบางสะพาน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชน” นพ.สวรรค์กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งโรงพยาบาลออกเป็น 3 ระดับคือ โรงพยาบาลส่งต่อระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง แต่ในความเข้าใจของคนทั่วไป เรามักเรียกโรงพยาบาลเหล่านี้ว่า 1.โรงพยาบาลจังหวัด หรือ โรงพยาบาลทั่วไป 2.โรงพยาบาลอำเภอหรือโรงพยาบาลชุมชน และ 3.โรงพยาบาลตำบล หรือ รพ.สต.
ทุกที่ต่างก็มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป อย่างในกรณีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับจังหวัด อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้เจริญมาก มีผู้ป่วยเยอะ ปัญหาหลักๆ คือมีจำนวนแพทย์และพยาบาลไม่เพียงพอ และมีผู้ป่วยนอกเยอะมากเป็นพันรายต่อวัน บริการจึงไม่สะดวกสบายเท่าที่ควร
นพ.สวรรค์เล่าว่า ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ในระยะแรกๆ เคยเป็นอาจารย์แพทย์ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้าไปช่วยสอนแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท ซึ่งจุฬาฯ เป็นคนเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2525 หลังจากนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขเห็นข้อดีจึงนำโครงการไปต่อยอดขอความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยที่ผลิตแพทย์
โดยทั่วไป แพทย์จะศึกษาในโรงเรียนแพทย์ตั้งแต่ปี 1 จนจบชั้นปีที่ 6 แต่แพทย์ในโครงการนี้หลังจากจบปีที่ 3 เป็นต้นไป จะย้ายไปโรงพยาบาลประจำจังหวัด จนเรียนจบก็จะย้ายไปทำงานในจังหวัดใกล้เคียงกับบ้านเกิดตนเอง แพทย์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เข้าไปทำงานแถวๆ บ้านเกิด
“ก็มีแพทย์ที่ยังอยู่ในชนบทนะ แต่ช่วงหลังๆ พอสังคมเปลี่ยน แพทย์ชนบทพวกนี้เขาอยากเรียนต่อ คือเขาอยากเป็นแพทย์เฉพาะทาง ไม่ได้อยากเป็นแพทย์ทั่วไป มันก็ทำให้แพทย์กลับมาที่เมืองใหญ่ แล้วก็ไม่ไปประจำชนบทต่อ” นพ.สวรรค์ อธิบาย
แต่โดยภาพรวมจำนวนของแพทย์ในประเทศถือว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่เป็นปัญหาจริงๆ คือจำนวนพยาบาล ซึ่งขาดแคลนมาก สถานศึกษาเองผลิตไม่ทัน และคนรุ่นใหม่ก็ไม่อยากเป็นพยาบาล เพราะต้องทำงานหนัก ส่วนคนที่อยู่ในระบบ เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งจะลาออก จากราชการและไปสังกัดภาคเอกชน
นพ.สวรรค์กล่าวว่าขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเองก็มีความพยายาม แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ มีการทำ Primary Care Cluster เป็นนโยบายเชิงป้องกันสุขภาพ โดยลงไปดูประชาชนในระดับชุมชน ครอบครัว แต่ละครัวเรือน แบ่งเป็นกลุ่มๆ และจะมีแพทย์ หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน (อสม.) เข้าไปให้ความรู้ ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพ
“แต่มันเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องใช้เวลาทำ ทางกระทรวงวางแผนไว้ 20 ปี ความเห็นผมคือประชาชนเองก็ต้องดูแลตัวเองเป็น ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ควรป่วยด้วยโรคที่ไม่ควรจะเกิดอย่างอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา ถ้าทำได้ก็จะช่วยระบบสาธารณสุขของไทยไว้ได้มาก” นพ.สวรรค์ทิ้งท้าย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้