รู้ลึกกับจุฬาฯ

บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการขับเคลื่อนความมั่งคั่งผ่านทาง “สินค้าทางวัฒนธรรม” ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และสื่อบันเทิงต่างๆ รวมถึงการศึกษา การท่องเที่ยว และแม้แต่การทำศัลยกรรมสไตล์เกาหลี จะเห็นได้ว่ากระแส Korea Wave หรือกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีใต้แบบก้าวกระโดด จนเป็นที่จับตามองของหลายประเทศทั่วโลก

กระนั้น ความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี หรือ เกาหลีฟีเวอร์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน หากแต่เป็นความพยายามที่ผ่านกระบวนการคิดจากรัฐบาลมาตั้งแต่แรกเริ่ม และได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรม  นักลงทุน และคนในประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดงานเสวนา “นโยบายวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กับการพัฒนาเกาหลีใต้ในทศวรรษใหม่” เพื่อร่วมหาคำตอบและถอดบทเรียนของกระแสนิยมวัฒนธรรม เกาหลี ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้

ดร.ลี เฮเคียว จากสาขา Culture Communication and Creative Industries มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน อธิบายว่า นโยบายด้านการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้มีรากมาจากความดิ้นรนของคนในสังคมตั้งแต่สมัยที่ประเทศเกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงเผด็จการทหารในปี 1961 รัฐบาลใช้นโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองและสร้างพลเมืองที่พึงประสงค์ แต่หลังจากประเทศเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยและเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 1997 รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจากเดิมเป็นอุตสาหกรรมการผลิต กลายเป็นอุตสาหกรรมวัฒนธรรมผ่านกลไกของรัฐบาล อาทิ การจัดตั้งหน่วยงาน Korea Culture and Content Agency (KOCCA) เพื่อสนับสนุนทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเกาหลี การเน้นพัฒนากลยุทธ์การถ่ายทอด “เนื้อหาความเป็นเกาหลี” (Korea Content) ออกสู่เวทีสากล

ด้าน ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี เน้นการสร้างอุปสงค์ (Demand) เป็นหลัก โดยพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมเพื่อให้มีมากพอที่จะกระตุ้นการบริโภค ทั้งนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้เวลานานหลายปีกว่าผู้บริโภคจะ “ซึมลึก” กับสินค้าวัฒนธรรมจนเกิดความต้องการบริโภคในประเทศ ก่อนที่จะค่อยๆแพร่ขยายไปทั่วโลก

ปัจจัยที่ทำให้กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีมีลักษณะโดดเด่นนั้น อาจารย์ปิติระบุว่าเป็นเพราะเกาหลีมีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่หล่อหลอมเป็นต้นทุนการพัฒนาสินค้าวัฒนธรรม อาทิ ความงามแบบฉบับเกาหลีที่เน้นความเป็นธรรมชาติตามค่านิยมแบบเต๋า อุปนิสัยของประชาชนที่เน้นความเพียรพยายาม การปรับปรุงตัวต่อเนื่องตามแนวคิดของพุทธศาสนามหายาน รวมทั้งวิธีปฏิบัติตัวที่เน้นความอาวุโสตามความคิดขงจื๊อ

ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้เองก็มีกระบวนการสร้างสรรค์สินค้าของตนเองแบบเลียนแบบและพัฒนาต่อ (Copy and Develop) อาจารย์ปิติตั้งข้อสังเกตไว้ว่า สินค้าวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลกของเกาหลีใต้ เช่นโทรศัพท์มือถือซัมซุง และนักร้องวงไอดอลเกาหลีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น มักจะเริ่มต้นจากการเลียนแบบลักษณะเด่นจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่นิยมกันทั่วโลก หรือนักร้องดังของเอเชีย หลังจากนั้นจะทุ่มเทพัฒนา เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่ผลิตภัณฑ์ตนเอง จนสามารถสร้างจุดเปลี่ยนที่ทำให้สินค้าตนเองมีความโดดเด่นแต่ยังแฝงไว้ด้วยความงามแบบเกาหลี

อาจารย์ปิติย้ำว่า ปรากฏการณ์กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีเป็นภาพสะท้อนรูปแบบ Soft Power ที่ใช้วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ เป็นพลังสร้างความเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมได้ คำถามสำหรับประเทศไทยคือ หากเราอยากจะส่งออกสินค้าวัฒนธรรมให้ได้แบบเกาหลีใต้บ้าง เราเรียนรู้จากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีแล้ว เราจะต้องลงมือทำอะไรต่อไปที่จะเกิดผลเป็นรูปธรรม

อาจารย์สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทยเอง ความชื่นชอบในกระแสเกาหลีฟีเวอร์มาจากความหลงใหลในดารานักร้อง  ไปจนถึงการติดใจรสชาติอาหารเกาหลีและการเดินทางไปท่องเที่ยวถึงประเทศเกาหลี  ส่งผลให้คนไทยหลายคนสนใจภาษาเกาหลีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจมาลงเรียนภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการเปิดสอนทั้งวิชาภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ แม้แต่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เองก็จะเปิดเป็นวิชาเอกในปีนี้ ที่น่าคิดต่อก็คือ ประเทศไทยจะวางแผนและตลาดรองรับคนที่รู้ภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมเกาหลีสำหรับเตรียมขยายฐานทางอุตสาหกรรมและการค้ากับประเทศเกาหลีใต้ต่อไปอย่างไร

ด้าน ดร.อภิชาติ ประเสริฐ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานบริหารสำนักงานและพัฒนา องค์ความรู้ กล่าวว่า ความสำเร็จของการส่งออกสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีใต้มีผลมาจากการพัฒนาด้านองค์ความรู้ มีนโยบายที่เน้นพัฒนาพลเมืองให้คิดค้นนวัตกรรมสร้างสรรค์ใหม่ๆ และรัฐบาลก็มีกฎหมาย นโยบาย ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ที่พร้อมจะสนับสนุนทักษะความคิดของประชาชน

ดร.อภิชาติ เชื่อว่าหากประเทศไทยต้องการก้าวไปถึงจุดเดียวกับเกาหลี ต้องอาศัยการพัฒนาคนให้มีความคิดสร้างสรรค์ และต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้คนมีศักยภาพหลากหลาย มีความแตกต่างทางความคิดมาร่วมมือกัน

ข้อสรุปจากเวทีเสวนาครั้งนี้ ก็คือ เกาหลีใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่รัฐบาลส่งเสริมกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีอย่างจริงจัง และทุ่มเททั้งเวลา ทุน และทรัพยากรมนุษย์ กว่าที่จะเห็นผลสำเร็จในการประยุกต์ใช้นโยบายวัฒนธรรมที่ บูรณาการให้เข้ากับการพัฒนาความรักวัฒนธรรมของพลเมือง ในประเทศ จนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรมและการบริโภคตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างยอดเยี่ยมนั่นเอง

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า