รู้ลึกกับจุฬาฯ

จุฬาฯ รุกเสนอ 3 นโยบายใหม่ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0

ข่าวโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) หรือหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย 4.0 กำลังได้รับความสนใจจากสาธารณะ โครงการดังกล่าวเน้นการยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกให้การเป็นศูนย์กลางการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยว การเกษตร การแปรรูปอาหาร รวมถึงอุตสาหกรรมใหม่ เพื่ออนาคต เช่น หุ่นยนต์ การบิน เชื้อเพลิง ดิจิทัล และการแพทย์ครบวงจร

การยกระดับเขตเศรษฐกิจนี้เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการปรับตัวรับระบบเศรษฐกิจไทยใหม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เพื่อยกระดับให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคให้สูงขึ้น

ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นสถาบันหลักของประเทศในการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ พร้อมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถในการขับเคลื่อนประเทศไทย

ในวาระที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวรายงาน ตอนหนึ่งว่า

“จุฬาฯ มีความพยายามและความพร้อมที่จะร่วมพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมบ่มเพาะนักเรียน นิสิต ซึ่งจะเป็นอนาคตสำคัญของประเทศไทยให้พร้อมเป็นพลเมืองคุณภาพ”

ขณะเดียวกัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้เสนอนโยบายที่พร้อมดำเนินการจริงแก่รัฐบาล ซึ่งมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทย อาทิ นโยบายจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (University Technology Center)โดยร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการสร้างคนและเทคโนโลยี ซึ่งจะผลิตทั้งงานวิจัยและคนเก่งในด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ รวมทั้งวิศวกรรมชีวการแพทย์ โครงการ Siam Innovation District ซึ่งมุ่งมั่นจะสร้างความร่วมมือกับนักลงทุนอิสระและภาคเอกชน สร้างนวัตกรรมและผลผลิตของไทยที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ มีเป้าหมายในการสร้างมูลค่านวัตกรรมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

จากการพูดคุยกับอาจารย์โภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี งานกิจการพิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ขณะนี้มีหลายโครงการที่สะท้อนความพร้อมของจุฬาฯ ต่อการสร้างคนและนวัตกรรมเพื่ออนาคตของประเทศไทย เช่น นวัตกรรมการสร้างกระดูกเทียมจากโลหะไทเทเนียม โดย

สร้างภาพสามมิติต้นแบบของกระดูกที่เป็นปกติและผลิตจริงด้วยเทคโนโลยีทางโลหวิทยาร่วมกับการพิมพ์สามมิติ การส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถลดน้ำตาลในน้ำผลไม้ ฝีมือการพัฒนาของคนไทยและงานวิจัยจากจุฬาฯ ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมน้ำผลไม้

ยิ่งกว่านั้นยังมีนวัตกรรมเพื่อการศึกษาซึ่งพัฒนาขึ้นจากการลงพื้นที่จริง จนได้พบปัญหาในโรงเรียน การมีครูไม่พอ ไม่ครบวิชา เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เด็กจำนวนมากขาดโอกาสได้เรียนหนังสือบางวิชา

อาจารย์โภไคยอธิบายว่า จุฬาฯ ได้พัฒนาแพลตฟอร์มด้านการศึกษาขึ้นเองเพื่อลดการพึ่งพาระบบจากต่างประเทศ และออกแบบให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอน การบริหารโรงเรียนจริงของไทยด้วย ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้นักเรียนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าถึงความรู้และการเรียนการสอนมาตรฐานสูงซึ่งเดิมมีแต่ในโรงเรียนชั้นนำเท่านั้น โดยระบบสามารถทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถโต้ตอบกันหรือซักถามข้อสงสัยลดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษาลงอย่างเป็นรูปธรรม

นโยบายสร้างความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับโรงพยาบาลสวนเบญจกิติฯ (รพ.ยาสูบเดิม) เพื่อผลักดันพันธกิจใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสาธารณสุขและคนไทย โดยเน้นการดูแลรักษาผู้สูงอายุร่วมกับชุมชน ควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาซึ่งก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs พร้อมทั้งต่อยอดไปสู่การเป็นพื้นที่เพื่อการศึกษาสำหรับบุคลากรการแพทย์  พยาบาล และสาธารณสุขในอนาคต

อาจารย์โภไคยชี้ว่า จุฬาฯ มีจุดเด่นชัดเจนที่ความหลากหลายของศาสตร์ที่ครอบคลุมทุกด้าน มีโอกาสสร้างงานวิชาการข้ามศาสตร์ได้สูง พร้อมทั้ง มีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศ เมื่อริเริ่มนโยบายใดๆ แล้วจะสามารถนำไปทดลองใช้จริงได้บนพื้นที่ทั้งสยาม สามย่าน อันนำไปสู่การต่อยอดและสร้างแรงกระเพื่อมในการขับเคลื่อนสังคมต่อไปได้

การร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับรัฐบาล จะช่วยเร่งให้ความมุ่งมั่นของจุฬาฯ เป็นประโยชน์จริงต่อประเทศไทยได้เร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น สามารถขยายผลจากองค์ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยไปให้กว้างไกล พร้อมทั้งเป็นหนทางในการหาความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อมุ่งเป้าในการพัฒนาประเทศไทย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า