รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
17 มีนาคม 2566
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip ใช้งานง่าย แสดงผลแม่นยำ การันตีด้วยรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อีกหนึ่งความหวัง ลดการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในประเทศไทย
วัณโรค – หนึ่งในโรคติดต่อที่ยังคงท้าทายระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน แม้องค์การอนามัยโลกจะตั้งเป้าให้ปี 2035 (อีก 12 ปีข้างหน้า) เป็นปีที่ยุติสถานการณ์วัณโรคทั่วโลก แต่แนวโน้มของวัณโรคก็ยังน่าเป็นห่วง
“ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 14 ประเทศที่มีอุบัติการณ์วัณโรครุนแรงที่สุด โชคดีที่เชื้อวัณโรคชนิดดื้อยาในประเทศไทย ได้ถูกลบออกจากลิสต์ประเทศที่มีอุบัติการสูงสุดขององค์การอนามัยโลกแล้ว ยังคงเหลือแต่ผู้ป่วยวัณโรคธรรมดาเท่านั้น” รองศาสตราจารย์ ดร.เทคนิคการแพทย์หญิง ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงสถานการณ์ของวัณโรคในประเทศไทย
วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางอากาศ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า “ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” เชื้อนี้แพร่กระจายจากผู้ป่วยวัณโรคไปสู่ผู้อื่น ผ่านทางละอองเสมหะขนาดเล็ก ที่มาจากการไอ จาม หรือพูดคุย จึงติดต่อกันง่ายและแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว
“หนึ่งในกลไกที่จะช่วยยุติการเกิดโรควัณโรคได้คือการระบุตัวผู้ป่วยวัณโรคให้เร็วและมากที่สุด เพื่อควบคุมและจำกัดการแพร่เชื้อวัณโรค” รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัยพัฒนาชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip (Mycobacterium tuberculosis Strip) ที่ใช้งานง่าย สะดวก อ่านผลได้รวดเร็วและแม่นยำ ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายไม่สูง เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น
“หากเราสามารถกระจายชุดตรวจนี้ไปยังโรงพยาบาลขนาดเล็กได้ทุกที่แบบปูพรม ก็จะช่วยให้เราระบุตัวผู้ป่วยได้ภายใน 2 ชั่วโมง และคัดกรองผู้ป่วยที่มีผลเป็นบวกให้เข้ามาในระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราเชื่อว่าจะช่วยให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคในบ้านเราลดลงอย่างแน่นอน” รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน ย้ำเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม MTB Strip
รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน กล่าวถึงการตรวจหาเชื้อวัณโรคในปัจจุบันว่ามีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนี้
จากข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อวัณโรค ทำให้ทีมผู้วิจัยพัฒนาชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip ขึ้น
ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เป็นน้ำยา Isothermal amplification ร่วมกับ primer ที่ถูกดัดแปลงและออกแบบอย่างจำเพาะ 2. แถบตรวจสารพันธุกรรม ซึ่งผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO การผลิตเครื่องมือแพทย์
รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน อธิบายวิธีการใช้ชุดตรวจนี้ว่า “เมื่อได้เสมหะจากผู้ป่วยแล้ว เราจะใส่ตัว primer ที่ออกแบบพิเศษโดยเฉพาะเพื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมใน DNA ของเชื้อที่อยู่ในเสมหะของผู้ป่วย จากนั้นจึงนำไปสกัด ก่อนเข้าสู่กระบวนการ Isothermal amplification โดยใช้เทคนิคที่ชื่อว่า recombinase polymerase amplification ใช้เวลาเพียง 20 – 40 นาทีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส จากนั้น ก็นำแถบตรวจที่พัฒนาขึ้นมา จุ่มลงไปในสารพันธุกรรมที่เพิ่มปริมาณเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผลก็จะขึ้นที่แถบแผ่นตรวจ อ่านผลบวก-ลบ เหมือนการตรวจ ATK ที่เราคุ้นเคยกัน”
จุดเด่นสำคัญของชุดตรวจวัณโรค MTB Strip คือความไวต่อเชื้อวัณโรค แค่มีเชื้อวัณโรคในเสมหะเพียงเล็กน้อย ชุดตรวจก็สามารถพบและแสดงผลได้ นอกจากนี้ กระบวนการตรวจใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง และไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษแต่อย่างใด
“ผลการตรวจมีแม่นยำถึง 96 % เมื่อเทียบกับการตรวจแบบอณูชีววิทยา Realtime PCR และวิธีการตรวจแบบย้อมสีทนกรดที่ใช้กันอยู่ทั่วไป ที่สำคัญ ชุดตรวจนี้ราคาถูกกว่าการตรวจทางอณูชีววิทยา เพราะไม่ต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด” รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน กล่าวเน้น
การทำงานของชุดตรวจ MTB Strip ใช้หลักการการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมภายใต้อุณหภูมิเดียวคงที่ ร่วมกับกล่องที่ให้ความร้อน ซึ่งในห้องปฏิบัติการทั่วไปมีกล่องประเภทนี้อยู่แล้ว โรงพยาบาลขนาดเล็กก็สามารถใช้เทคนิคนี้ได้
“ชุดตรวจวัณโรค MTB Strip ที่เราพัฒนาขึ้นนี้จะทำให้โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยวัณโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคและการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้”
ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip ได้นำไปใช้จริงเป็นโมเดลตัวอย่างแล้วที่โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก เมื่อปี 2562-2563 ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน ไม่หยุดคิดค้นพัฒนาวิธีการและนวัตกรรมเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย
“แม้ชุดตรวจ MTB Strip จะใช้งานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่เรายังอยากพัฒนาความไวในการตรวจให้มากกว่านี้ โดยการเพิ่มศักยภาพในการสกัด DNA ด้วยวิธีที่ง่าย เพื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับทดสอบกับชุดตรวจ”
นอกจากนี้ รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน ยังวางแผนจะต่อยอดการตรวจวัณโรคและโรคข้างเคียง ด้วยการพัฒนาชุดสกัด DNA ให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และพัฒนาชุดตรวจหาวัณโรคที่สามารถระบุได้ว่าเป็นวัณโรคแบบดื้อยาได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ตรวจ เพื่อปรับแนวทางการรักษาให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น
“ตอนนี้ เรากำลังศึกษาวิจัยเชิงลึกเรื่องการตัดต่อพันธุกรรมของเชื้อวัณโรค โดยใช้เทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่ของสิ่งมีชีวิตที่ชื่อว่า CRISPR Cas-9 Interference เพื่อตัดต่อยีนบางชนิดของวัณโรค ทำให้เชื้อมีความรุนแรงในการก่อโรคน้อยลง และมีความไวในการตอบสนองต่อยาต้านวัณโรคมากขึ้น และเมื่อพัฒนากระบวนการนำระบบ CRISPR Cas-9 Interference ดังกล่าวเข้าสู่ตัวผู้ป่วยวัณโรคได้ อาจใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยยาต้านวัณโรคในปัจจุบัน”
หากการศึกษาวิจัยดังกล่าวสำเร็จก็จะเป็นแนวทางรักษาวัณโรคแบบใหม่ในอนาคต ซึ่ง รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน มั่นใจว่าจะช่วยให้อัตราผู้ป่วยวัณโรคลดลงตามเป้าหมายองค์การอนามัยโลกแน่นอน
โรงพยาบาลขนาดเล็กที่สนใจชุดตรวจวัณโรคนี้สามารถติดต่อได้ที่ รศ.ดร.ทนพญ.ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล หน่วยวิจัยนวัตกรรมตรวจวินิจฉัยเชื้อดื้อยา ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีเมล์ panan.p@chula.ac.th
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้