รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
11 เมษายน 2566
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน Gami+ “ARGBL” เปิดมิติการเรียนรู้กายวิภาคส่วนหัวของสุนัข ด้วยเกมเสมือนจริงบนมือถือ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุค New Normal การันตีด้วยรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติจากโรมาเนีย
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้เราเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และที่สำคัญ เรียนสนุกยิ่งขึ้นด้วย! เช่น “ARGBL Canine Head” แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้กายวิภาคส่วนหัวของสุนัขด้วยเกมเสมือนจริงบนมือถือ พัฒนาโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิงภาวนา เชื้อศิริ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ปัจจุบันการเเรียนการสอนมีการปรับเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น แต่เนื้อหาบทเรียนในบางวิชาของคณะมีค่อนข้างมาก ทำให้ยากต่อการจดจําของผู้เรียนในช่วงเวลาที่จํากัด ที่สำคัญ ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นิสิตไม่สามารถถเดินทางเข้ามาเรียนรู้วิชาที่ต้องเรียนในห้องปฏิบัติการได้ ทําให้ไม่ได้ฝึกทักษะหัตถการการผ่าชําแหละร่างอาจารย์ใหญ่ของสัตว์ เช่น สุนัข เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคของอวัยวะในระบบต่าง ๆ เราจึงพัฒนาสื่อการเรียนที่นิสิตสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากที่บ้าน” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ ซึ่งได้เปิดใช้งานแล้วตั้งแต่ปี 2565 ในช่วงการระบาดโรคโควิด-19
ARGBL Canine Head (Augmented Reality on Mobile Game-Based Learning Application for Veterinary Students: Canine Head Anatomy) เป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบโลกเสมือนจริง โดยเมื่อเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน จะมีภาพหัวสุนัขแบบสามมิติที่แสดงโครงสร้างทางกายวิภาคคล้ายของจริง มีทั้งผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง เส้นประสาท ท่อน้ำลาย หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง อวัยวะรับสัมผัสพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น
“การเรียนรู้ผ่านเกมแบบนี้ดึงดูดความสนใจของนิสิตได้มาก ช่วยให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาภายในบทเรียนมากขึ้น เสริมสร้างจินตนาการให้ผู้เรียนเห็นภาพเสมือนจริงของโครงสร้างภายในอวัยวะต่าง ๆ เพื่อทบทวนเนื้อหาบทเรียนด้วยตนเองได้ทุกที่ตามความต้องการ”
อาจารย์ภาวนากล่าวว่าการเรียนโดยใช้แอปพลิเคชันนี้ควบคู่ไปกับการใช้หุ่นจำลองกายวิภาคหัวสุนัข ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้มากกว่าการฟังบรรยายออนไลน์เพียงอย่างเดียว และยังส่งผลต่อการสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนด้วย
“แอปพลิเคชันนี้เป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการสอนเชิงรุก ซึ่งต่อไปเราจะประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนการสอนบทเรียนอื่น ๆ ในกายวิภาคของสุนัขด้วย”
ARGBL Canine Head ได้รับหนังสือรับรองการจดสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ในฐานะสื่อการเรียนการสอนกายวิภาคสัตวแพทย์แบบเชิงรุก (Active learning) ซึ่งผู้ที่เรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชันนี้จะได้รับเกียรติบัตรรับรองหลังจากเล่นเกมจนจบด้วย
ผศ.สพ.ญ.ภาวนา กล่าวว่า “ARGBL Canine Head” เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ที่ก้าวข้ามข้อจำกัดการเรียนรู้อย่างตรงจุดและตอบโจทย์การเรียนยุคใหม่หลายประการ อาทิ
ด้วยจุดเด่นนานาประการของนวัตกรรมการเรียนรู้ แอปพลิเคชัน “ARGBL Canine Head” จึงคว้ารางวัลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ได้แก่ ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา ประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และอีกหลายรางวัลจากการประกวดนวัตกรรม INVENTCOR 2022: 3rd International Exhibition, INVENTCOR 2022 ณ เมือง Deva ประเทศโรมาเนีย ดังนี้
สุดท้าย ผศ.สพ.ญ.ภาวนา กล่าวว่า ARGBL Canine Head สามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์สำหรับนิสิตคณะสัตวแพทย์ สัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ และผู้ที่สนใจเรียนรู้กายวิภาคของสุนัข และในอนาคต อาจารย์ภาวนาหวังว่าจะขยายผลการใช้งานแอปพลิเคชันในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตวแพทย์ 13 สถาบันทั่วประเทศ อีกทั้งจะนำแอปฯ ไปประยุกต์ใช้ในระดับคลินิกในสถานพยาบาลสัตว์ และโรงพยาบาลสัตว์ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ARGBL Canine Head ได้แล้วใน app store และ play store โดยในช่องการกรอกข้อมูลผู้ใช้งาน ให้ครบทุกช่องก่อนกด “ตกลง” เพื่อทดลองเล่นเกมการเรียนรู้กายวิภาคส่วนหัวสุนัข
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้