รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
19 มิถุนายน 2566
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ครั้งแรกของไทย! อาจารย์คณะเภสัชฯ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จพัฒนาเทคโนโลยีผลิตแอนติบอดี้จากพืชยาสูบ มีผลยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง หนึ่งในความหวังการเข้าถึงยาและการรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่ถูกลง
จากความสำเร็จระดับโลกในการวิจัยผลิตวัคซีนโควิด-19 จากพืชยาสูบ วันนี้ ทีมนักวิจัยจาก ใบยา ไฟโตฟาร์ม บริษัทสัญชาติไทยในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยความสำเร็จอีกขั้นในการวิจัยผลิตยาแอนติบอดี้จากพืชยาสูบ ที่พบว่าสามารถลดขนาดและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลองได้!
“ทีมวิจัยของเราพัฒนาเทคโนโลยีและระบบการผลิตโปรตีนจากพืชเพื่อทำยาประเภทแอนติบอดี้ โดยหวังจะช่วยลดต้นทุนการผลิตยาเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งในประเทศเข้าถึงยาได้ง่ายและกว้างขวางมากขึ้น” รองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความตั้งใจในการวิจัยชีวเภสัชภัณฑ์เพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยแนวทางภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเพิ่งได้รับรางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
รศ.ดร.วรัญญู อธิบายถึงแนวทางการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดว่า “โรคมะเร็งเกิดจากการที่เซลล์มะเร็งจับกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน แล้วบล็อกการทำงานของเซลล์ในร่างกาย การรักษาด้วยยาคีโมที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปเป็นการใช้ยาเข้าไปฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย แต่สำหรับแนวทางการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดหรือเซลล์บำบัด ไม่ได้มุ่งไปที่การทำลายเซลล์มะเร็ง แต่จะใช้ยาเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์ภูมิคุ้มกันในระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น บล็อกไม่ให้เซลล์มะเร็งจับกับเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการเซลล์มะเร็งเอง”
แนวทางการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยาประเภทแอนติบอดี้ที่นำมาใช้สำหรับการรักษาในแนวทางนี้มีราคาแพงมาก
“กระบวนการผลิตยายังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทั้งวัสดุอุปกรณ์และอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ การขยายขนาดการผลิตด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ เหล่านี้ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ยาจึงมีราคาแพงไปด้วย”
ทีมวิจัยภายใต้การนำของ รศ.ดร.วรัญญู จึงริเริ่มการวิจัยที่จะผลิตยาประเภทแอนติบอดี้ ด้วยเทคโนโลยีของคนไทยเพื่อลดต้นทุนการผลิตยา และเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ด้วยการสนับสนุนจาก CU Enterprise รศ.ดร.วรัญญู ดูแลหน่วยปฏิบัติการวิจัยสำหรับการผลิตเภสัชภัณฑ์จากพืช โดยเน้นการพัฒนาและการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน สารเมทาบอไลต์ทุติยภูมิ และไวรัสจากพืชผ่านเทคโนโลยีชีวภาพของพืช โดยใช้พืช เช่น ยาสูบ เป็นโฮสต์ในการผลิตยาและวัคซีน
ทั้งนี้ ต้นยาสูบที่ใช้เป็นสายพันธุ์จากออสเตรเลียชื่อ Nicotiana benthamiana โดย รศ.ดร.วรัญญู ให้เหตุผลว่าสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ที่ง่ายต่อการใส่เชื้อแบคทีเรียมและมีปริมาณการแสดงออกของยาที่ต้องการในปริมาณมาก
“เราใช้พืชเป็นเสมือนโรงงานผลิตโปรตีนที่เราต้องการ โดยเราใส่ยีนที่สามารถผลิตแอนติบอดี้เข้าไปในพืชยาสูบ เพื่อให้ต้นยาสูบผลิตแอนติบอดี้ (ยา) ที่ต้องการออกมา จากนั้นก็เอาโปรตีนที่ได้ (แอนติบอดี้) สกัดมาทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งเราพบว่าแอนติบอดี้ที่ผลิตออกมาจากพืชสามารถจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้”
รศ.ดร.วรัญญูกล่าวถึงผลการวิจัยในสัตว์ทดลองว่า “แอนติบอดี้ที่ทีมวิจัยจุฬาฯ ผลิตจากพืชสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลองได้ เซลล์ของก้อนมะเร็งในหนูมีขนาดลดลง ซึ่งความสามารถในการทำให้เซลล์มีขนาดลดลง เทียบเท่าได้กับยาที่ใช้ในท้องตลาด”
ผลจากการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563 ในวารสาร Scientific Reports
สำหรับการวิจัยขั้นต่อไป รศ.ดร.วรัญญู กล่าวว่าจะเป็นการทดสอบความปลอดภัย ความเป็นพิษ และการศึกษาลักษณะโครงสร้างของยา ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะได้นำส่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขออนุมัติทำการทดสอบในมนุษย์
“หากการศึกษาวิจัยนี้สำเร็จ เราสามารถผลิตยาได้เองในประเทศ ก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตยาลง และจะมีส่วนช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านยาลดลง ผู้คนจะเข้าถึงยาเพื่อการรักษาโรคมะเร็งได้มากขึ้น”
รศ.ดร.วรัญญู กล่าวว่านอกจากโรคมะเร็งแล้ว เทคโนโลยีการผลิตแอนติบอดี้จากโปรตีนจากพืช ยังสามารถใช้สำหรับการพัฒนายาหรือวัคซีนชนิดอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค ซึ่งปัจจุบัน ทีมนักวิจัยกำลังศึกษาการรักษาและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศกำลังพัฒนา เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคมือเท้าปาก โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า นิปาห์ เป็นต้น
รศ.ดร.วรัญญู ย้ำเป้าหมายสูงสุดในความพยายามคิดค้นพัฒนายาว่าคือการสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงด้านยาและการรักษาโรคเพื่อคนไทย และนักวิจัยไทยมีศักยภาพและเทคโนโลยีในการพัฒนายาไม่แพ้บริษัทยายักษ์ใหญ่ต่างชาติเลย
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยเติมได้ที่ facebook Baiya Phytopharm Co., Ltd. :https://www.facebook.com/BaiyaPhytopharm/
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้