รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
7 สิงหาคม 2566
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
นักวิจัยจุฬาฯ วิจัยเพิ่มมูลค่าของเหลือทางการเกษตรจากโรงงานอุตสาหกรรม แปรรูปกากมันสำปะหลังและกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี พร้อมคิดค้นหัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรพิเศษ เพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช
มันสำปะหลัง หนึ่งในผลิตผลทางการเกษตรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เช่น ในปี 2564 ประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังได้ถึง 30 ล้านตัน! นับเป็นประเทศที่มีผลผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับสามของโลก
เมื่อมีผลผลิตมาก แน่นอนว่าวัสดุเหลือหรือกากมันสำปะหลังจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังก็ย่อมมีปริมาณมากเช่นกัน โดยแต่ละปีมีกากมันสำปะหลังราว 12 ล้านตันที่ต้องบริหารจัดการให้เหมาะสม อีกทั้งกากตะกอนจากการบำบัดน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งหากไม่มีการจัดการให้ถูกวิธีก็จะก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จากปัญหานี้ ศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดเพิ่มมูลค่าของเหลือทางการเกษตรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร โดยได้ดำเนินการวิจัย “การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสม”
“กากมันสำปะหลังสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนกากมันสำปะหลังที่เหลือจากความต้องการในประเทศก็ส่งออกต่างประเทศ แต่เนื่องจากปริมาณกากมันสำปะหลังมีเกินความต้องการของตลาด ทำให้ราคากากมันสำปะหลังตกต่ำ” ศ.ดร.วรวุฒิเล่าสถานการณ์และปัญหาการจัดการกากมันสำปะหลังในปัจจุบัน ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดงานวิจัยชิ้นนี้
“ส่วนตะกอนดินที่เกิดจากระบบบำบัดน้ำเสียในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง เมื่อนำไปกำจัดทิ้งด้วยการเผา การฝังกลบ และการทำปุ๋ย ซากกากตะกอนเหล่านั้นอาจมีจุลินทรีย์ก่อโรคพืชและมีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่”
ศ.ดร.วรวุฒิกล่าวว่ากากมันสำปะหลังมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ เซลลูโลส แป้ง ไฟเบอร์และโปรตีน ซึ่งล้วนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ที่สำคัญ โครงสร้างของกากมันสำปะหลังมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้สูง ระบายน้ำได้ดี ส่งผลให้รากพืชไม่เน่า
ส่วนกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังก็มีองค์ประกอบของอินทรีย์วัตถุ ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยและหมักโดยจุลินทรีย์ก่อน
การนำกากมันสำปะหลังและกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการเพาะปลูกพืช จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
ศ.ดร.วรวุฒิชี้ว่าแม้กากมันสำปะหลังจะมีสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ก็ยังไม่เพียงพอ พืชยังต้องการธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม และแมกนีเซียม และธาตุอาหารเสริมอย่างเช่น แมงกานีส ทองแดง เหล็ก สังกะสี
ดังนั้น ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากกากมันสำปะหลัง จึงได้มีการเพิ่มธาตุอาหารเหล่านี้เข้าไปในหัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรผสมที่คิดค้นขึ้น โดยหัวเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวประกอบด้วยเชื้อผสม 5 กลุ่ม ได้แก่ เชื้อที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส เชื้อที่ผลิตเอนไซม์อะไมเลส เชื้อที่สามารถตรึงไนโตรเจน เชื้อที่สามารถละลายฟอสฟอรัส และเชื้อที่สามารถละลายโพแทสเซียม
ศ.ดร.วรวุฒิเล่ากระบวนการแปรรูปกากมันสำปะหลังและกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียเป็นปุ๋ยชีวภาพว่าเริ่มต้นจากการเตรียมสารตั้งต้น คือกากมันสำปะหลังและกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย โดยผสมสารเติมแต่งเข้าไป แล้วนำมาคลุกด้วยจุลินทรีย์สูตรผสม 5 กลุ่มดังกล่าว หมักเป็นเวลาสองเดือน
“จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีความปลอดภัยกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายสารตั้งต้นทั้งสองชนิด และเป็นแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์กับพืชโดยตรง”
ในอนาคต ศ.ดร.วรวุฒิเผยว่าจะมีการต่อยอดการวิจัยโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่คิดค้นขึ้นนี้ไปทดลองผลิตปุ๋ยชีวภาพจากของเหลือทางการเกษตรชนิดอื่น ๆ รวมทั้งของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมด้วย
โครงการวิจัยได้ทดลองนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้ในการปลูกมันสำปะหลังที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาแล้ว และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ศ.ดร.วรวุฒิกล่าวว่าว่าปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตมานั้นมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าสารไซยาไนด์ในกากมันสำปะหลัง เมื่อผ่านการหมักจนเป็นปุ๋ยแล้ว มีระดับที่ต่ำมากจนไม่สามารถตรวจพบได้
“ปุ๋ยหมักชีวภาพจากกากมันสำปะหลังสามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้ทุกชนิด โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย ข้าวโพด ฯลฯ ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพดินในระยะยาว และลดมลพิษจากการจัดการของเสียด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเผา” ศ.ดร.วรวุฒิกล่าวทิ้งท้าย พร้อมเสริมว่าบริษัทไทยวา จำกัด (มหาชน) ผู้ให้ทุนวิจัย มีแผนการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากกากมันสำปะหลังเชิงพาณิชย์ ในอนาคตใกล้นี้ด้วย
เกษตรกรและผู้สนใจนวัตกรรมนี้สามารถติดต่อ ศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร.0-2218-5482
E-mail : warawut.c@chula.ac.th
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้