รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
18 มิถุนายน 2567
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
แพทย์จุฬาฯ เผยพบผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรังจากภูมิต้านทานในร่างกายทำงานผิดเพี้ยน ที่เรียกว่า “โรคตุ่มน้ำพอง” เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ แนะการรักษาด้วยยาชนิดใหม่ พร้อมวิธีดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคนี้
ในบรรดาโรคผิวหนังที่มีมากถึง 3,000 – 4,000 โรค “ตุ่มน้ำพอง” เป็นหนึ่งในโรคผิวหนังเรื้อรังที่คนไทยคุ้นชื่อเป็นอย่างดีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีข่าวดารานักแสดงชายที่มีชื่อเสียง “วินัย ไกรบุตร” ป่วยเป็นโรคนี้ด้วยอาการขั้นรุนแรง สภาพร่างกายที่เคยแข็งแรง ผิวพรรณดี กลับมีตุ่มน้ำขึ้นทั่วตัว และต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคนี้เป็นเวลานานกว่า 5 ปี ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อต้นปี 2567 ด้วยสาเหตุการติดเชื้อในกระแสเลือด
แม้ชื่อ “โรคตุ่มน้ำพอง” จะเริ่มเป็นที่รู้จัก แต่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสาเหตุของโรค อาการ แนวทางการรักษา และที่สำคัญคือโรคนี้ไม่ใช่โรคที่พบได้ยากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ประวิตร อัศวานนท์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งให้การรักษาผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองกล่าวว่า “ตุ่มน้ำพองเป็นกลุ่มของโรคผิวหนังที่ไม่ใช่โรคที่หายาก โดยเฉพาะโรคที่ชื่อว่า bullous pemphigoid ตุ่มน้ำเกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำงานผิดเพี้ยน และส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 50 – 60 ปีขึ้นไป”
“ผู้ป่วยโรคนี้มักจะวิตกจากการที่มีตุ่มน้ำขนาดต่าง ๆ ขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าตุ่มน้ำแตกจะมีอาการแสบเป็นแผลถลอก และเมื่อหายแล้วจะทิ้งร่องรอยให้เห็นบนผิวหนัง การรักษาที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดตุ่มน้ำเพิ่มมากขึ้นและแพทย์เองก็ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้”
ตุ่มน้ำพองเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็ “สงบ” นานๆ ได้ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้มีแนวทางการรักษาและยาชนิดใหม่ ๆ ที่จะช่วยคุมการดำเนินโรค และดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
ศ.นพ.ดร.ประวิตรอธิบายสาเหตุของโรคตุ่มน้ำพองให้เห็นภาพที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า “ในร่างกายของคนเรามีการสร้างภูมิต้านทานตลอดเวลา ภูมิต้านทานเปรียบเสมือนทหารหรือตำรวจที่ต้องจดจำประชาชนให้ได้เพื่อปกป้องคุ้มกันภัยให้ แต่ในบางครั้งภูมิต้านทานก็เกิดปัญหาคือมีการจำที่ผิดเพี้ยนไป จึงทำให้มาทำร้ายคนคุ้นเคย เช่นเดียวกันกับภูมิต้านทานในร่างกายที่เกิดความผิดพลาดในการจำ “กาว” ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์หนังกำพร้าและหนังแท้เข้าด้วยกัน ทำให้ผิวหนังที่เคยเกาะกันด้วยกาวชนิดนี้แยกตัวออกจากกัน เกิดเป็นตุ่มน้ำขึ้นบริเวณผิวหนัง เราจึงมักอธิบายการเกิดโรคตุ่มน้ำพองว่าเกิดจาก“ภูมิเพี้ยน”
โรคภูมิเพี้ยน “ตุ่มน้ำพอง” มี 2 โรคที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ เพมฟิกัส (Pemphigus) และ บูลลัส เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ซึ่งอย่างหลังเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยกว่าและเป็นชนิดที่เกิดขึ้นกับอดีตนักแสดงชาย
“เพมฟิกัสเกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายทำลายกาวที่อยู่ระหว่างเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า ซึ่งอยู่ในชั้นผิวหนังที่ตื้นกว่าเพมฟิกอยด์ ทำให้เซลล์ในหนังกำพร้าหลุด เกิดเป็นตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังเป็นบริเวณกว้างเหมือนกับคนถูกน้ำร้อนลวก ซึ่งดูน่ากลัวและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้”
“ในขณะที่เพมฟิกอยด์ แม้จะเกิดในชั้นผิวหนังที่ลึกกว่า แต่จะเกิดในผิวหนังบางส่วนเท่านั้น และผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งภูมิต้านทานในร่างกายมีโอกาสทำงานผิดเพี้ยนมากขึ้น”
ศ.นพ.ดร.ประวิตรกล่าวว่าปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย โรคตุ่มน้ำพองนอกจากจะมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับยาที่รับประทานด้วย ที่ผ่านมาพบว่ามียาขับปัสสาวะชนิดหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของโรคนี้ และในระยะหลังยารักษาเบาหวานที่เป็นยาใหม่ๆ กลุ่มหนึ่งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคตุ่มน้ำพองชนิดเพมฟิกอยด์อีกด้วย
อาการของโรคตุ่มน้ำพองที่เห็นได้ชัดคือการเกิดตุ่มน้ำใสๆ พองขึ้นบริเวณผิวหนังเหมือนโดนน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ผู้ป่วยจะมีอาการคันที่ผิวหนังโดยไม่มีสาเหตุ และเป็นผื่นบวมแดง ซึ่งแตกต่างจากโรคผื่นภูมิแพ้ ที่มักจะเป็น ๆ หาย ๆ
ตุ่มน้ำที่ผิวหนังของผู้ป่วยโรคนี้เกิดขึ้นแตกต่างกัน บางคนเกิดเฉพาะที่ เช่น มือ เท้า หรือหน้าแข้ง รวมทั้งในช่องปาก ส่งผลให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานอย่างมาก และในผู้ป่วยแต่ละราย ความรุนแรงของโรคอาจเพิ่มขึ้นด้วยหลายปัจจัย อาทิ การใช้ยาบางชนิด แสงแดด และการฉายแสง เป็นต้น
“การวินิจฉัยตุ่มน้ำที่ขึ้นตามผิวหนังว่าเกิดจากโรคตุ่มน้ำพองหรือภูมิแพ้ผิวหนัง จะใช้วิธีการนำชิ้นเนื้อผิวหนังไปตรวจด้วยวิธีการย้อมพิเศษว่ามีภูมิเพี้ยนมาเกาะที่ผิวหนังหรือไม่ และเจาะเลือดเพื่อตรวจดูด้วยว่าร่างกายมีภูมิเพี้ยนหรือไม่ ซึ่งผลการตรวจด้วยหลายวิธีประกอบกันจะช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่” ศ.ดร.นพ.ประวิตรกล่าว
เนื่องจากตุ่มน้ำพองเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายทำงานผิดเพี้ยนไป วิธีการรักษาหลักจึงเน้นไปที่การรับประทานยาประเภทสเตียรอยด์ เพื่อกดภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สร้างภูมิเพี้ยนลดลง อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ดร.ประวิตรกล่าวว่าการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น ทำให้หน้าบวม กระดูกพรุน เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
“การใช้ยาสเตียรอยด์ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและพยายามลดยาลงเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น นอกจากนี้ ก็ยังมีวิธีการอื่น ๆ ในการรักษาประกอบกันด้วย เช่น การรับประทานยาบางชนิดที่ลดการอักเสบที่ผิวหนัง หรือใช้ยาทาที่ผิวหนังในกรณีที่มีตุ่มน้ำพองขึ้นเฉพาะที่”
นอกจากสเตียรอยด์ที่เป็นยาหลักในการรักษาโรคตุ่มน้ำพองแล้ว ในปัจจุบันมีการใช้ยาชนิดใหม่หลายตัวในการรักษาโรคนี้ รวมถึงการใช้ยาฉีดที่มีชื่อว่า “Dupilumab” (ดูพิลูแมบ) ซึ่งเป็นยาชีววัตถุที่มีข้อบ่งใช้โดยตรงในการใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง แต่กลับใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคตุ่มน้ำพอง อย่างไรก็ดี ถือว่าเป็นการใช้นอกข้อบ่งชี้ (off-label use)
“โรคตุ่มน้ำพองเป็นโรคเรื้อรังที่ส่วนมากไม่ได้รุนแรงถึงกับเสียชีวิต เป็นโรคที่คุมได้ แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง ถ้าคุมโรคได้ดีจะทำให้โรคสงบอยู่นานหลายปี โดยปกติในช่วงที่ร่างกายเกิดภูมิเพี้ยน แพทย์จะให้ทานยากดภูมิ เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลง ระยะเวลาการรักษาจะแตกต่างกันไป บางรายใช้เวลานานนับปีขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่ามีความรุนแรงมากแค่ไหน” ศ.นพ.ดร.ประวิตรกล่าว
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพอง ศ.นพ.ดร.ประวิตรให้คำแนะนำและข้อควรระวังสำคัญ ๆ เพื่อดูแลตัวเองในขณะที่กำลังรับการรักษาจากแพทย์ ดังนี้
ผู้ที่สงสัยว่าเป็นโรคตุ่มน้ำพองหรือโรคภูมิแพ้ผิวหนัง สามารถติดต่อแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทุกแห่ง
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้