รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
9 เมษายน 2564
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เรารักเสมือนสมาชิกในครอบครัวตายจาก กุศลกรรมที่น่าจะได้ก่อร่วมกันครั้งสุดท้ายอาจหมายถึงการอุทิศร่างของเจ้าตูบ เจ้าเหมียว ให้เป็นอาจารย์ใหญ่ที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อประโยชน์ทางการศึกษาเพื่อสรรพสัตว์ต่อไป
แม้จะจากไป แต่ร่างอันไร้วิญญาณของ “สมเหมียว” ยังเป็นประโยชน์ เจ้าของจึงนำร่างเจ้าเหมียว ไปมอบให้ศูนย์กายสัตว์อุทิศ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์รับบริจาคร่างสัตว์เลี้ยงเพื่อการศึกษาของนิสิตสัตวแพทย์และเพื่อการวิจัย
“สมเหมียวเป็นแมวที่น่ารัก ชอบมานั่งตัก มองหน้า ให้กำลังใจเวลาทำการบ้าน วันที่สมเหมียวจากไปอย่างกะทันหัน ทุกคนเสียใจมาก แต่พอรู้ว่าสมเหมียวจะมาเป็นอาจารย์ใหญ่ให้กับนิสิตสัตวแพทย์ ความทุกข์ ก็บรรเทาลงอย่างน่าอัศจรรย์” ผู้ที่ใช้นามว่า “นางทาสของสมเหมียว” เขียนไว้ในหนังสือทำบุญและฌาปนกิจของอาจารย์ใหญ่
ทุกปีมีผู้บริจาคร่างเจ้าตูบ น้องเหมียว และสัตว์เลี้ยงแสนรักของตนให้กับศูนย์กายสัตว์อุทิศ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แต่จำนวนร่างอาจารย์ใหญ่ก็ยังไม่พอ
“คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ต้องการใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ราวปีละ 200-250 ร่างเพื่อให้นิสิตสัตวแพทย์ได้ศึกษา แต่ที่ผ่านมาเราได้รับร่างสัตว์เพียงปีละ 180 ร่างเท่านั้น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.สิริพงศ์ เกียรติกิตติคุณ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผย พร้อมเชิญชวนให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงแปรเปลี่ยนความรู้สึกสูญเสียให้เป็นบุญด้วยการบริจาคร่างสัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตให้เป็นอาจารย์ใหญ่
ศูนย์กายสัตว์อุทิศเปิดรับบริจาคร่างสัตว์ทุกชนิด ไม่จำกัดอายุ สายพันธุ์ และขนาด อย่างสัตว์ตัวเล็กที่สุดที่เจ้าของเคยนำมาบริจาคคือหนูแฮมสเตอร์ สัตว์แปลกหรือชนิดพิเศษ (Exotic Pet) ก็นำมาบริจาคได้เช่นกัน อย่างที่ผ่านมาก็มี เม่นแคระ แพรี่ด็อก งูแปลกตา และปลาช่อนแอฟริกา ซึ่งเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่ที่สุดที่เคยได้รับบริจาค สัตว์บางชนิด แวดวงสัตวแพทย์ไทยไม่เคยศึกษาหรือไม่มีความรู้ด้านกายวิภาคของสัตว์ชนิดนั้นมาก่อน ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ทั้งนี้ ร่างสัตว์เลี้ยงที่ไม่รับบริจาคคือสัตว์ที่ป่วยตายจากโรคที่ไม่อาจเตรียมร่างเพื่อการศึกษาได้ เช่น มะเร็งที่ลุกลาม ร่างสัตว์ที่มีเชื้อโรคติดต่อเรื้อรังจากสัตว์สู่คน เช่น พิษสุนัขบ้า และวัณโรค
การเรียนการสอนของสัตวแพทย์ใช้ร่าง “สุนัข” เป็นอาจารย์ใหญ่มากที่สุด ราวร้อยละ 70-80 รองลงมาคือแมวและสัตว์ชนิดอื่นๆ ร่างสุนัขที่เหมาะเป็นอาจารย์ใหญ่เป็นสุนัขใหญ่ น้ำหนักประมาณ 15-25 กิโลกรัม เนื่องจากอวัยวะมีขนาดใหญ่ มองเห็นชัดเจน ถ้าเป็นแมว ขนาดที่ต้องการมากที่สุดหนัก 3-5 กิโลกรัม แต่นอกเหนือจากนี้ก็ยินดีรับเช่นกัน
ทันทีที่สัตว์เลี้ยงเสียชีวิต เจ้าของที่มีความประสงค์จะบริจาคต้องเอาร่างสัตว์เลี้ยงใส่ถุงพลาสติกและแช่แข็งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส แล้วนำมาบริจาคที่ศูนย์ฯ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการตาย ถ้าไม่แช่แข็งทันทีหรือแช่นานเกิน 24 ชั่วโมง ก็ยังมาบริจาคได้ เพียงแต่อวัยวะบางส่วนอาจเน่าได้ เช่น อวัยวะทางเดินอาหารหรือลำไส้ ซึ่งไม่อาจใช้ประโยชน์เพื่อศึกษาระบบทางเดินอาหารได้
เมื่อเตรียมร่างเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อศูนย์ฯ แจ้งความประสงค์บริจาคร่างสัตว์เลี้ยงเป็นอาจารย์ใหญ่ จากนั้นจึงนำร่างอาจารย์ใหญ่มายังศูนย์ฯ ชั้น 5 อาคารโรงพยาบาลสัตว์เล็ก เจ้าหน้าที่จะคัดกรองประวัติ พิจารณาสาเหตุการตาย ตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง เจ้าของสัตว์เลี้ยงกรอกแบบฟอร์มหนังสือยินยอมมอบร่างสัตว์ เท่านี้เป็นอันเสร็จขั้นตอน
ร่างสัตว์ที่ผ่านเกณฑ์จะถูกเก็บรักษาไว้ให้คงสภาพที่เสมือนจริงด้วยน้ำยาสูตรร่างนิ่ม และเก็บไว้ในห้องอุณหภูมิติดลบ
นิสิตสัตวแพทย์จะเรียนรู้ศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่แต่ละร่างราว 1-3 ปี เมื่อเสริจสิ้นภารกิจของร่างอาจารย์ใหญ่แล้ว ทางคณะจะจัดงานบุญเพื่ออุทิศกุศลแก่สัตว์และจัดพิธีฌาปนกิจอาจารย์ใหญ่ มีพิธีสวดบังสุกุล วางดอกไม้จันทน์ และส่งท้ายด้วยพิธีลอยอังคาร โดยคณาจารย์ นิสิต บุคลากรของศูนย์ฯ รวมทั้งเจ้าของสัตว์เลี้ยงจะได้รับเชิญให้มาร่วมงานบุญและฌาปนกิจเป็นประจำทุกปี
“การบริจาคร่างของสัตว์เป็นกุศลทั้งตัวสัตว์เองและเจ้าของ เป็นบทเรียนสำคัญของนิสิตว่าเขาได้รับความเมตตาจากเจ้าของสัตว์ที่สละร่างสัตว์แสนรักของเขาให้นิสิตได้เรียนรู้ นิสิตจะได้ตระหนักและสำนึกในบุญคุณของสัตว์ที่ตนใช้เรียนรู้จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา และส่งต่อความเมตตาเหล่านี้ต่อไปให้กับสัตว์ที่เขาจะได้รักษาต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ศิรกานต์ ฐิตวัฒน์ จากหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
ติดต่อศูนย์กายสัตว์อุทิศ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 09–5851–7807 หรือ 0–2218–9638 (ในเวลาราชการ) และ 0–2218–9752 (นอกเวลาราชการ) เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/CUSCDVET
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้