รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
21 พฤษภาคม 2564
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาจารย์จุฬาฯ เผยผลงานวิจัยเห็ดพื้นบ้าน “กระถินพิมาน” พบมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งปากมดลูกจริง รอวิจัยเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงต่ำ และราคาที่เข้าถึงได้
“มะเร็ง”สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยนับตั้งแต่ปี 2542 และไม่มีแนวโน้มจะลดลง วิธีการรักษาที่คุ้นเคยกันดีคือเคมีบำบัด ไม่ก็การฉายแสง ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยไม่มากก็น้อยเสมอ การค้นพบทางเลือกใหม่ในการรักษาจึงนับเป็นเรื่องดี เช่นล่าสุด นักวิจัยจากจุฬาฯ พิสูจน์พบว่า “เห็ดกระถินพิมาน” รักษามะเร็งได้ อีกทั้งมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเคมีบำบัด
รศ.ดร.ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัยสารสกัดจากเห็ดกระถินพิมานที่มีสรรพคุณใช้รักษาโรคมะเร็ง เผยว่า “สารสกัดจากเห็ดกระถินพิมานออกฤทธิ์ช่วยลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ และยังมีสรรพคุณฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยอีกด้วย”
การวิจัยครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากจุฬาฯ กับภาคเอกชน โดยบริษัท เนเจอร์ เฮิร์บ อินเตอร์เนชั่นแนลโฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท เฮิร์บ ฟอร์ ยู จำกัด ซึ่งทั้งสองบริษัทมีสูตรตำรับที่มีเห็ดกระถินพิมานเป็นองค์ประกอบร่วมกับข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้และสมุนไพรอื่นๆ
“เห็ดกระถินพิมาน” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เห็ดเกือกม้า” มีลักษณะเป็นเห็ดสีน้ำตาลแห้ง มักขึ้นตามป่าละเมาะ หรือป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และมักขึ้นตามต้นไม้ โดยพบมากที่สุดบนต้นกระถินพิมาน จึงเป็นที่มาของชื่อเห็ดกระถินพิมาน
เห็ดกระถินพิมานได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชียาแผนไทยเมื่อปี 2553 ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญค้นคว้าวิจัยสรรพคุณของสารสกัดจากเห็ดที่พบว่าสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดแดง และที่สำคัญคือการรักษามะเร็งโดยไม่มีผลข้างเคียง
เห็ดกระถินพิมานมีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง โดยลดการเพิ่มจำนวน และกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ เซลล์มะเร็งเยื่อบุโพรงจมูก เซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งสมอง และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยมีกลไกในการเพิ่มอัตราการแพร่กระจายของเม็ดเลือดขาวชนิด บี ลิมโฟไซต์ อีกทั้งเห็ดกระถินพิมานยังมีการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านริ้วรอยโดยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลชีพ และเชื้อไวรัส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบของต่อมลูกหมาก รวมถึงมีฤทธิ์ในการปกป้องตับ และระบบประสาท
รศ.ดร.ปฐมวดี เผยผลการวิจัยตลอด 1 ปี่ผ่านมา พบว่า สารสกัดเห็ดกระถินพิมานมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งและส่งผลต่อการตายของเซลล์มะเร็งปากมดลูก แต่ทั้งนี้ จะยืนยันผลแน่นอน 100% ได้ก็ต่อเมื่อมีการทดลองซ้ำอีกหลายครั้ง และยังต้องทดลองควบคู่กับตำรับยาสมุนไพรชนิดอื่น เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด
“เรายังต้องใช้ระยะเวลาอีก 2 ปีเต็ม จึงจะมั่นใจได้ว่าสมุนไพรชนิดนี้มีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งได้จริง และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งในประเทศไทยให้สามารถเข้าถึงสมุนไพรไทยได้ในราคาที่เหมาะสมมากที่สุด”
นอกจากประสิทธิภาพของสารสกัดจากเห็ดกระถินพิมานแล้ว รศ. ดร. ปฐมวดี กล่าวว่ายังต้องศึกษาเพิ่มเติมเรื่องความเป็นพิษต่อไตด้วย ซึ่งหากผลการวิจัยพบว่า สารสกัดนี้เป็นพิษต่อไตในระดับที่ยอมรับได้ ก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น
แม้การศึกษาจะพบว่าสารสกัดจากเห็ดกระถินพิมานออกฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปากมดลูกได้ แต่สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ ยังต้องศึกษาเพิ่ม
“สรรพคุณของเห็ดไม่อาจรักษามะเร็งได้ทุกชนิดเนื่องจากคุณสมบัติเซลล์มะเร็งแต่ละชนิดแตกต่างกัน ซึ่งต้องมีการศึกษาอย่างจริงจังลงลึกในระดับยีนของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด ซึ่งในขณะนี้ได้ทำการศึกษากับเซลมะเร็งตัวอื่นๆ เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น” รศ. ดร. ปฐมวดี กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้การทดลองในห้องแล็บในสัตว์ทดลอง รวมถึงในเซลล์ของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายชนิด จะพบว่า เห็ดกระถินพิมานสามารถหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดี แต่การจะนำเห็ดชนิดนี้มาใช้รักษาโรคมะเร็งไม่ใช่เรื่องง่ายพราะเห็ดชนิดนี้ยังไม่มีใครสามารถเพาะเลี้ยงแล้วได้สารสำคัญในปริมาณมากเท่ากับเห็ดที่เกิดในธรรมชาติได้
ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยกำลังศึกษาค้นคว้าหาวิธีเพาะเลี้ยงเห็ดกระถินพิมาน เพื่อให้ได้สารสำคัญในปริมาณมากพอสำหรับใช้ในทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนายาต่อไป
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้