Highlights

วัสดุทันตกรรมแข็งตัวด้วยแสง ทันตนวัตกรรมล่าสุดจากจุฬาฯ เทียบมาตรฐานสากล


คณาจารย์จุฬาฯ ผนึกวิทยาการวัสดุศาสตร์ทันตกรรม พัฒนา “วัสดุทันตกรรมแข็งตัวด้วยแสง” ฝีมือคนไทยมาตรฐานสากล ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ร่นเวลาอุดฟัน พร้อมเผยความลับสารอะซีแมนแนนจากว่านหางจระเข้กระตุ้นเนื้อฟันและลดการเสียวฟันอยู่ใน  หลายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพฟัน


          การรักษาฟันด้วยวิธีการอุดฟันในอดีตที่ผ่านมา ทันตแพทย์มักใช้วัสดุอุดฟันที่ทำจากสารผสมซึ่งแข็งตัวด้วยปฏิกิริยาเคมี แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยส่งผลกระทบต่อปฏิกิริยาแข็งตัวที่เร็วเกินไป ไม่ทันที่ทันตแพทย์จะอุดฟันให้เสร็จเรียบร้อย วัสดุก็จับตัวกันแข็งเสียแล้ว ไม่สะดวกต่อการทำงานของทันตแพทย์

จากโจทย์ที่ว่านี้ คณาจารย์จากรั้วจามจุรีทั้งทันตแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และ  สัตวแพทยศาสตร์ จึงร่วมกันในนามกลุ่ม 4Ds Project คิดค้นนวัตกรรมวัสดุอุดฟันชนิดใหม่ล่าสุดที่ใช้แสงในการทำให้วัสดุแข็งตัว ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับมาตรฐานโลก

อุดฟันง่ายและเร็วขึ้น ด้วยวัสดุอุดฟันแข็งตัวด้วยแสง

            ในต่างประเทศ เทคโนโลยีการทำให้วัสดุอุดฟันมีความคงตัวด้วยแสงมีใช้มานานแล้วเกือบ 40 ปี ทั้งที่สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น มีการจดสิทธิบัตรและจัดเก็บเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการเป็นผู้นำระดับโลกด้านวัสดุทันตกรรม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ “วัสดุอุดฟันแข็งตัวด้วยแสง” ด้วยฝีมือกลุ่มนวัตกร 4Ds Project ของจุฬาฯ จึงนับว่าเป็นนวัตกรรมของคนไทยที่ทำได้สำเร็จและได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

“เมื่อหยดวัสดุอุดฟันแล้วฉายแสงจะช่วยควบคุมเวลาแข็งตัวของสาร ทำให้ใช้เวลาทำฟันสั้นลง คนไข้โดยเฉพาะเด็ก ไม่ต้องอดทนอ้าปากกว้างเป็นเวลานานนักวิจัยหลักของกลุ่ม 4Ds Projectศาสตราจารย์ ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และหลักสูตรหลังปริญญาทันตชีววัสดุศาสตร์ จุฬาฯ เผยกลไกการทำงานของเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

 “แสงที่ใช้เป็นแสงสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงแดด มีความปลอดภัย โดยแสงสีฟ้านี้มีความยาวคลื่นที่ให้พลังงาน เกิดการปล่อยอิเล็กตรอนกระตุ้นปฏิกิริยา ทำให้วัสดุแข็งตัว ช่วยให้งานอุดฟันได้ง่ายและเร็วขึ้น”

นวัตกรรมวัสดุอุดฟันคงตัวด้วยแสงได้รับความสนใจจากภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีความรู้เรื่องนี้ไปผลิตและจำหน่ายเป็นสินค้าเฉพาะทางภายใต้แบรนด์ All – Zeal” ชุดวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่แข็งตัวด้วยการฉายแสงปกป้องฟันผุ” และ “Embaze” ชุดวัสดุอาร์เอ็มจีไอที่แข็งตัวด้วยการฉายแสง ที่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรง เหมาะกับฟันผุบริเวณคอฟันหรือฟันที่เนื้อฟันไม่แข็งแรงของเด็กและผู้สูงอายุ โดยวัสดุทันตกรรมทั้งสองผ่านมาตรฐาน ISO มีความเข้ากันกับเนื้อเยื่อช่องปากและปลอดภัย และได้รับการคัดเลือกจากกรมบัญชีกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย

จากงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพฟันถ้วนหน้า

นอกจากวัสดุอุดฟันคงตัวด้วยแสงแล้ว กลุ่ม 4Ds Project ยังคิดค้นทันตผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพฟันของคนทั่วไป เช่น เจลป้องกันการเสียวฟันจากกรดคลอรีนซึ่งเหมาะกับผู้ที่ว่ายน้ำในสระคลอรีน (Bai Kapow Swimming Care Gel) เจลลดอาการเสียวฟันสำหรับผู้ที่ฟันสึกเล็กน้อยและอุดฟันไม่ได้หรือหลังการฟอกสีฟัน (CPA Desensitizer Gel) และเจลฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง (1.23% Acidulated Phosphate Fluoride Gel) เป็นต้น

ศ.ทพ.ดร.พสุธายังได้เผยเคล็ดลับผลิตภัณฑ์ลดอาการเสียวฟันว่ามาจาก“สมุนไพรว่านหางจระเข้” เนื่องจากมีสารอะซีแมนแนน (Acemannan) ที่มีสรรพคุณกระตุ้นการสร้างเนื้อฟันและภูมิคุ้มกัน โดยทางกลุ่ม 4Ds Project ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณชั้น 7 ตึกพรีคลินิก คณะทันตแพทยศาสตร์    จุฬาฯ ในการเพาะปลูกสมุนไพรว่านหางจระเข้เพื่องานวิจัยด้านทันตกรรมโดยเฉพาะ

“การทำงานวิจัยกว่าจะประสบความสำเร็จใช้ระยะเวลานานหลายปี ต้องใช้สหศาสตร์หลายสาขาและเพื่อนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน กลุ่มเราไม่ได้มองแค่การทำวิจัยให้สำเร็จ การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมไม่ใช่เพียงการสร้างความรู้ในเชิงลึกเท่านั้น แต่ยังต้องสามารถนำงานวิจัยมาใช้และผลิตได้ผลจริงผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาอาจจะไม่หวือหวาแต่ยั่งยืน” ศ.ทพ.ดร.พสุธา กล่าวทิ้งท้าย

ทุกผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพฟันจากกลุ่ม 4Ds Project ได้รับการจดสิทธิบัตรผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ รับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมาตรฐานเทียบเท่าต่างประเทศ รับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้รับรองผลิตภัณฑ์ Made in Thailand (MIT) และได้รับรางวัลชนะเลิศด้านนวัตกรรมจากหน่วยงานต่างๆ

ผู้สนใจหาซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ที่ “โอสถศาลา” คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือคลินิกทันตกรรมทั่วไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า