รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
11 กรกฎาคม 2564
คงเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยในขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต คำถามสำคัญที่ต้องการคำตอบอย่างเร่งด่วนคือ รัฐจะมีมาตรการในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตนี้อย่างไร
ผศ.ดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ ผศ.ดร.ภัทเรก ศรโชติ ผศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ คณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอบทความเรื่อง “วิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย: เราจะเลือกหนักไปหาเบา หรือ เบาไปหา(อาการ)หนัก” โดยอ้างอิงข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลทั่วโลกได้เคยใช้ในการรับมือกับการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าควรคำนึงถึงมาตรการใดบ้างและมีวิธีการเยียวยาอย่างไร
อ้างอิงงานวิจัยของ Brauner และคณะ (2021) ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำระดับโลกทางด้านวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยของ Haug และคณะ (2020) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Human Behavior ได้ศึกษาและเปรียบเทียบมาตรการต่างๆ ที่แต่ละประเทศทั่วโลกใช้ในการลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่ามาตรการที่เน้นการเว้นระยะห่างทางสังคม การห้ามรวมกลุ่มของประชาชนที่เข้มขัน (เช่น ห้ามรวมกลุ่มเกิน 10 คน) การควบคุมการเดินทาง การปิดสถานศึกษา การปิดชายแดน และการปิดธุรกิจส่วนใหญ่ ยกเว้นแต่ที่มีความจำเป็นจริงๆ ให้ผลต่อการควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งทั้งสองงานวิจัยนี้เห็นตรงกันว่ามาตรการที่ได้ผลดีที่สุดในหลายประเทศคือการห้ามการรวมกลุ่มของประชาชนที่เข้มข้น คณะผู้เขียนบทความเสนอว่าในภาวะวิกฤตของไทยนี้ควรจำกัดการรวมกลุ่มในกิจกรรมที่ไม่จำเป็นไม่ให้เกิน 2 คน เป็นเวลา 14 วัน เพราะจะทำให้การระบาดลดลงได้อย่างรวดเร็วที่สุด
แม้ว่ามาตรการข้างต้นจะมีประสิทธิภาพสูงในการลดการระบาด แต่มาตรการเหล่านี้ก็มีผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและทางสังคมอย่างมาก ดังนั้นควรต้องคำนึงถึงมาตรการเสริมอื่นๆ ด้วย อาทิ การแจกจ่ายอาหาร วันละ 3 มื้อ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบแก่ประชาชนที่ต้องตกงาน โดยรัฐสามารถรับสมัครร้านอาหารเข้าร่วมโครงการทำอาหารแจกจ่ายให้แก่ประชาชนโดยงบประมาณของรัฐ ซึ่งร้านอาหารเหล่านี้ก็เป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดอยู่แล้ว ซึ่งจะเป็นการต่ออายุธุรกิจร้านอาหาร เสมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว โดยงบประมาณในโครงการนี้ ก็ไม่น่าจะมากกว่างบประมาณในโครงการเยียวยาอื่นๆ ที่รัฐเคยทำ อาทิ หากมีประชาชนรับอาหารประมาณ 10 ล้านคนต่อมื้อ ในกรณีล็อคดาวน์ 14 วันจะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ 12,600 ล้านบาท (โดยคำนวณจากค่าอาหารมื้อละ 30 บาท)
การใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มข้นอย่างแท้จริงและทั่วถึง เป็นสิ่งที่ชี้ชะตาถึงผลสำเร็จในการรอดพ้นวิกฤต ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามาตรการควบคุมหลายมาตรการก็ไม่สามารถควบคุมได้อย่างแท้จริง อาทิ เกิดการลักลอบนำแรงงานต่างชาติเข้าประเทศโดยไม่ผ่านจุดคัดกรองและกักตัว เป็นที่น่าสังเกตว่าหลายประเทศ อาทิ จีนสามารถควบคุมการระบาดได้ดี ทั้งที่มีพรมแดนธรรมชาติที่ยาวและยากต่อการควบคุม สาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะจีนมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นแม้ว่าประชาชน ส่วนใหญ่จะปฏิบัติตามมาตรการควบคุมต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่การกระทำของคนส่วนน้อยที่ไม่เคารพมาตรการควบคุมต่างๆ ก็สามารถเป็นชนวนการระบาดให้ลุกลามได้ ดังนั้นวิธีป้องกันคือการออกกฎหมายชั่วคราวที่เข้มข้นและเพิ่มโทษคนที่ละเมิดกฎหมายและมาตรการที่รัฐกำหนด
อ้างอิง
Brauner, J. M., Mindermann, S., Sharma, M., Johnston, D., Salvatier, J., Gavenčiak, T., …&Kulveit, J. (2021). Inferring the effectiveness of government interventions against COVID-19. Science, 371(6531).
Haug, N., Geyrhofer, L., Londei, A., Dervic, E., Desvars-Larrive, A., Loreto, V., …&Klimek, P. (2020). Ranking the effectiveness of worldwide COVID-19 government interventions. Nature human behaviour, 4(12), 1303-1312.
Viet Nam News (7 July 2021), HCM City to enforce lockdown measures starting July 9 amid worsening COVID-19 outbreak, https://vietnamnews.vn/society/988153/hcm-city-to-enforce-lockdown-measures-starting-july-9-amid-worsening-covid-19-outbreak.html
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้