รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
2 สิงหาคม 2564
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
ทีมนิสิตวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน “Asean Food Innovation Challenge 2021” ด้วยนวัตกรรมเนื้อเทียม The Marble Booster เนื้อวากิวทำจากพืช 100 % โปรตีนจากพืชสูง meat zeroคอเลสเตอรอลต่ำ พร้อมสมุนไพรเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
เมื่อเอ่ยถึงเนื้อวากิว เนื้อลายหินอ่อน ภาพเนื้อสีอมชมพู มีไขมันขาวๆ แทรกเหมือนลายหินอ่อน รสชาตินุ่มละมุนที่คุ้นลิ้นในเมนูอาหารญี่ปุ่น ทั้งสเต็ก ปิ้งย่าง ชาบู อาจทำให้หลายคนน้ำลายสอ ส่วนผู้บริโภคสายรักสุขภาพ ผู้สูงวัย หรือผู้มีปัญหาสุขภาพ ที่จำเป็นต้องลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะอีกไม่นาน ในตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืช จะมีเนื้อลายหินอ่อนที่เป็นอาหารโปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant-based Food) ให้ได้ลิ้มลองกันแล้ว
The Marble Booster เนื้อวากิวเทียมที่ผลิตจากพืช 100 % นวัตกรรมอาหารแปลกใหม่ ปี 2021 ผลงานของทีม Food Tech Chula นำโดยนิสิตปริญญาเอก นุติ หุตะสิงห และ วรัญญา เตชะสุข และนิสิตปริญญาโท ณัฐชนน สร้างสมจิตร์ จากภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวที “Asean Food Innovation Challenge 2021” โดยมี รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ และ ผศ.ดร.วรภา คงเป็นสุข เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ภายใต้แนวคิดการผลิตอาหารพร้อมรับประทานที่มีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกันและดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีผลงานเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 120 ชิ้น จากมหาวิทยาลัย 54 แห่งใน 13 ประเทศอาเซียน
“The Marble Booster เป็นเนื้อเทียมที่ผลิตจากพืช 100% เราใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นรูปเนื้อจากโปรตีนถั่วเหลือง ให้มีลักษณะโครงสร้างเป็นใยคล้ายกล้ามเนื้อสัตว์ และมีชั้นไขมันด้วยซึ่งผลิตจากน้ำมันคาโนลา” นุติ หุตะสิงห หัวหน้าทีม Food Tech Chula อธิบาย
“นอกจากนี้ เนื้อเทียมจากพืชเมนูนี้ เรายังเติมสารสกัดจากขมิ้นชันและพริกไทยดำลงไปแทรกอยู่ในชิ้นเนื้อด้วย ทำให้เกิดเป็นเนื้อลายหินอ่อนเลียนแบบเนื้อวากิว ซึ่งสารประกอบเคอร์คิวมินจากขมิ้นชัน และพิเพอรีนจากพริกไทยดำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย”
นุติ กล่าวว่าแนวคิดการผลิตอาหารโปรตีนสูงจากพืชที่มีการเติมสมุนไพรเข้าไปในการผลิตอย่างที่ทีม Food Tech Chula สร้างสรรค์นั้นนับเป็นสิ่งใหม่ในวงการอุตสาหกรรมอาหาร ที่ยังไม่เคยเห็นบริษัทผลิตอาหารใดทำมาก่อน จุดเด่นของเนื้อวากิวเทียมจากพืชที่แตกต่างจากเนื้อเทียมทั่วไป มีอาทิ
โดยทั่วไป อาหารโปรตีนจากพืช (plant based protein) จะทำเป็นลักษณะคล้ายเนื้อบด แต่สำหรับเนื้อวากิวของทีม Food Tech Chula ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตชิ้นเนื้อให้มีลักษณะคล้ายเนื้อ มีเส้นใย มีกล้ามเนื้อ ซึ่งยังไม่เคยมีใครผลิตมาก่อน
Food Tech Chula ออกแบบและผลิตเนื้อให้มีลักษณะของไขมันแทรกเข้าไปอยู่ในชิ้นเนื้อด้วยเหมือนเนื้อลายหินอ่อน โดยการใช้ไขมันจากน้ำมันคาโนลา ซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล ให้เนื้อสัมผัสคล้ายคอหมูที่มีไขมันแทรก
วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเนื้อเทียมมาจากพืชทั้งหมด เช่น โปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองซึ่งให้ปริมาณโปรตีนจากพืชสูง น้ำมันคาโนลาซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวต่ำ นอกจากนี้ ยังมีการเติมสารสกัดขมิ้นชันและพริกไทยดำเข้าไป ซึ่งเมื่อสมุนไพรทั้งสองชนิดอยู่ด้วยกันก็ยิ่งเสริมฤทธิ์กันในการสร้างภูมิคุ้มกันและสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีถึง 2,000 %
จากการทดลองประกอบอาหารในระดับครัวเรือน เนื้อวากิวเทียมจากพืชขึ้นรูปได้ดี มีความยืดหยุ่นและความชุ่มฉ่ำคล้ายกับเนื้อสัตว์จริงๆ ประกอบอาหารง่าย แต่สิ่งที่ยังต้องพัฒนาต่อคือกลิ่นและรสชาติ ซึ่งทีม Food Tech Chula กล่าวว่า อีกไม่เกิน 1 ปี พวกเขาจะพัฒนาให้เนื้อวากิวเทียม ซึ่งเป็นplant based meat ในไทย ให้มีกลิ่นและรสชาติสมบูรณ์ขึ้น
อีกไม่นาน ผู้บริโภคจะมีโอกาสได้ลิ้มลองเนื้อวากิวเทียมจากพืชในรูปแบบของอาหารพร้อมรับประทาน ที่จะวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ทั้งนี้ นุติ มั่นใจว่าเนื้อวากิวเทียมจะได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทั้งผู้บริโภคมังสวิรัต มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) หรือผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่อยากทดลองอาหารสุขภาพแนวใหม่
“เนื้อวากิวเทียมจากพืชมีความแตกต่างจากอาหารเลียนแบบเนื้อสัตว์ที่มีจำหน่ายในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งทำมาจากโปรตีนเกษตร ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ไม่ดีนัก และร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าโปรตีนจากถั่วเหลือง” นุติ กล่าวเน้นคุณประโยชน์เด่นของเนื้อวากิวเทียม และทิ้งท้ายถึงแผนงานในการวิจัยนวัตกรรมด้านอาหารในอนาคตว่า
“เราอยากต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้มีรูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น ใช้น้ำมันมะกอกแทนน้ำมันคาโนลา ทดลองนำสมุนไพรตัวอื่นเข้ามาใส่เพิ่มเติมเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน หรือช่วยลดน้ำตาล เป็นต้น แต่ยังคงแนวอาหารเพื่อสุขภาพและประโยชน์สำหรับผู้บริโภคมากที่สุด”
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้