รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
25 สิงหาคม 2564
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมระดับโลกของจุฬาฯ วิจัยพบเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำสามารถใช้เป็นวิธีกระตุ้นรากผมให้เกิดใหม่บนหนังศีรษะได้ รางวัลระดับโลกการันตีความสำเร็จ รักษาและแก้ปัญหาผมบาง ผมร่วงจากกรมพันธุ์ เห็นผลใน 24 สัปดาห์
ผมบาง ผมร่วง ศีรษะล้าน หัวล้านกรรมพันธุ์ เป็นอาการที่บั่นทอนความมั่นใจและคุณภาพชีวิตของหลายคน ไม่ว่าหญิง ชาย คนหนุ่มสาวหรือสูงวัย ผู้ที่มีปัญหานี้ขวนขวายหาแนวทางรักษาต่างๆ ทั้งเปลี่ยนแชมพู เปลี่ยนวิธีสระผม ตัดผมสั้น กินอาหารเสริม หาเซรั่มผมหนา วิตามินผมหนา เซรั่มบํารุงรากผม ยาบำรุงผมร่วงหลีกเลี่ยงการใช้เคมีกับหนังศีรษะ ฯลฯ หาวิธีกระตุ้นรากผมมากมาย แต่ปัญหาเส้นผมก็ยังแก้ไม่ตก เหตุหนึ่งเพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด โดยเฉพาะสาเหตุของโรคผมบางผมร่วงที่มาจาก “พันธุกรรม”
รองศาสตราจารย์ ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป หัวหน้าศูนย์โรคเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และอาจารย์ประจำสาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยค้นหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างถึงรากและประสบความสำเร็จจากงานวิจัย การใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำกระตุ้นหนังศีรษะสร้างเส้นผมเพื่อแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีอาการผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม หรือเป็นผมบางกรรมพันธุ์ (Proteomic Analysis in Derma Papilla from Male Androgenetic Alopecia after Treatment with Low Level Laser Therapy) ที่ได้รับรางวัลจากสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery – ISHRS) การันตีความสำเร็จว่าการใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำนั้น มีประสิทธิภาพช่วยกระตุ้นหนังศีรษะและสร้างเส้นผมได้ผลดีใน 24 สัปดาห์
เมื่อใดที่ผมร่วงมากว่าวันละ 70เมื่อใดที่ผมร่วงมากว่าวันละ 70 – 100 เส้น ผมร่วงเป็นกำ นั่นคือสัญญาณ “ผมร่วงผิดปกติ” ที่ควรใส่ใจและรีบปรึกษาแพทย์ รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร กล่าว
“โดยปกติผมร่วงตอนสระผม ไดร์ผม หวีผมในปริมาณหนึ่งได้ทุกวัน แต่หากพบผมร่วงมากผิดปกติ ผมร่วงเป็นกำ หรือผมร่วงระหว่างวัน เช่น ระหว่างกินข้าว ระหว่างเดินไปมา ระหว่างทำงาน ก็นับเป็นอีกสัญญาณของผมร่วมผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะได้แล้ว ส่วนในผู้ชายผมสั้น จะสังเกตุผมร่วงในระหว่างวันยากกว่า ให้สังเกตตอนตื่นนอนว่ามีปริมาณผมร่วงมากน้อยแค่ไหนบนหมอน”
สำหรับผู้ชาย ลักษณะของภาวะผมร่วง ผมบาง ผมบางจากพันธุกรรม กรรมพันธุ์ มักมีลักษณะศีรษะด้านหน้าเถิกขึ้นไปเป็นรูปตัวเอ็ม หรือบางคนจะเริ่มมีผมบางบริเวณกลางกระหม่อม ซึ่งจะค่อยๆ ลามออกไปเรื่อยๆ ส่วนผู้หญิง อาการผมร่วง ผมบาง ผมบางจากกรรมพันธุ์ มักเริ่มบริเวณรอยแสก (ผม) ซึ่งจะทำให้ผมจะค่อยๆ เริ่มบางลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลาเช่นกัน
“ทั้งนี้ ผมบางและผมร่วงจากพันธุกรรมมีลักษณะแตกต่างจากผมบางที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ (Abnormal immune system หรือ Alopecia Areata) ที่ทำให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อมกลมๆ มีขนาดเท่าเหรียญ 10 บาทอยู่บริเวณหนังศีรษะ” รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร กล่าวเสริม
รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร เผยสถิติว่าคนไทยประสบปัญหาผมบาง ผมร่วง ศีรษะล้าน สูงถึงร้อยละ 40 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีด้วยสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ทั้งความเครียด สภาพอากาศ และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเส้นผมและศีรษะล้านเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศชายจะเริ่มมีภาวะผมบางตั้งแต่อายุน้อยและอาการรุนแรงมากกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ สาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง ผมบางและหนังศีรษะ 3 ประการ มีดังนี้
ยีนส์เด่นจากคุณพ่อหรือคุณแม่ที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง หรือมีปัญหาหนังศีรษะ ฮอร์โมนเพศชาย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
โดยฮอร์โมนเพศชายจะไปเกาะที่รากผม ทำให้รากผม เส้นผมบางลงเรื่อยๆ และหลุดร่วงได้ง่าย
เช่น ความเครียด แสงแดด ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันพบผู้ที่มีภาวะผมบาง ผมร่วงจากพันธุกรรม มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้
แนวทางการรักษาปัญหาผมบาง ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 3 วิธี คือ
ล่าสุด อีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ การรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ 2 รูปแบบ คือ
เป็นวิธีกระตุ้นรากผม โดยอุปกรณ์เสริมมีลักษณะเป็นหมวกหรือหวีปลูกผมที่ปล่อยแสงเลเซอร์สีแดง Low-level laser therapy (LLLT) กระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างรากผมแบบเบาๆ เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผมบางในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง อุปกรณ์นี้พกพาสะดวก ใช้เองได้ที่บ้าน โดยใช้อุปกรณ์นี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 15 -20 นาทีต่อวัน จะทำให้เส้นผมและรากผมแข็งแรงขึ้น ลดผมร่วง เกิดเส้นผมใหม่และเส้นผมหนาขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยวิธีการ ชนิดของอุปกรณ์ และปริมาณการใช้งานที่เหมาะสมตามอาการของโรค
ที่ปรับจากเลเซอร์ที่ใช้ในการกำจัดขนส่วนเกินต่างๆ ให้เป็นเลเซอร์ พลังงานต่ำ นำไปกระตุ้นรากผมทั่วหนังศีรษะ “การรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้น คือ มีอาการน้อย – ปานกลาง แต่จะไม่เหมาะกับคนที่มีอาการมากหรือหนังศีรษะล้านแล้ว ซึ่งคนไข้ควรทำเลเซอร์ต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 5 – 10 ครั้ง ห่างกันทุก 2 สัปดาห์ โดยระยะเวลาที่เริ่มเห็นผล คือ 5 ครั้งหลังจากเริ่มทำเลเซอร์ และจะเห็นผลชัดเจน 3 เดือนหลังจากทำการรักษาด้วยเลเซอร์แล้ว คนไข้มีผมงอกใหม่ เส้นผมแข็งแรงขึ้น” รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร กล่าว
งานวิจัยนี้นับเป็นงานวิจัยชิ้นนแรกในเอเชียที่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพของกระบวนการรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มต่ำเพื่อขจัดปัญหาโรคผมร่วงจากพันธุกรรม และทำให้ รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร เป็นแพทย์หญิงไทยคนแรกที่คว้ารางวัลสูงสุด Platinum Follicle Award 2019 สำหรับผู้ที่มีความสามารถและมีผลงานวิจัยด้านเส้นผมจากสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery (ISHRS)
“แม้ผมบาง ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ เป็นเรื่องที่เราไม่สามามารถแก้ไขได้แล้ว แต่การรักษาในปัจจุบันเราสามารถสามารถยืดอายุเส้นผมและสุขภาพหนังศีรษะให้แข็งแรงยืนยาวออกไปได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การทำร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารโดยเฉพาะโปรตีน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงความเครียด” รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร กล่าวทิ้งท้าย
รศ. ดร.พญ.รัชต์ธร เปิดกลุ่มสาธารณะในเฟซบุ๊กชื่อ “มีผมให้หวี by Bevita” เพื่อรับฟัง พูดคุย และให้ความรู้เคล็ดลับการดูแลเส้นผม การแก้ปัญหาผมบาง อยากรักษาผมร่วง ผมบาง หนังศีรษะล้าน หัวล้านจากกรรมพันธุ์ อย่างใกล้ชิด เป็นกันเอง ภายใต้หลักการทางการแพทย์
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องหนังศีรษะและเส้นผมบาง ผมร่วง สระผม ผมร่วงเยอะมาก อยากรักษาหัวล้าน หัวล้านจากกรรมพันธุ์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คลินิกโรคเส้นผมและหนังศีรษะ แผนกผิวหนัง อาคาร ภปร ชั้น 14 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4000 หรือเว็บไซต์ https://absolutehairclinic.com/
การรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำกระตุ้นรากผม เป็นทางเลือกใหม่ในการคืนชีวิตให้เส้นผม ช่วยรักษาอาการผมร่วง ผมบาง ผมบางจากกรรมพันธุ์ได้ โดยการรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วง ผมบางในระยะเริ่มต้น คือ มีอาการน้อย – ปานกลาง แต่จะไม่เหมาะกับคนที่มีอาการมากหรือหนังศีรษะล้านแล้ว โดยคนไข้ควรทำเลเซอร์ไม่ต่ำกว่า 5 – 10 ครั้ง ห่างกันทุก 2 สัปดาห์ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรักษาอาการผมร่วง ผมบาง ผมบางจากกรรมพันธุ์ได้ที่ คลินิกโรคเส้นผมและหนังศีรษะ แผนกผิวหนัง อาคาร ภปร ชั้น 14 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4000
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้