รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
3 กันยายน 2564
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
อาจารย์สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรนาโนเทคโนโลยีบำรุงผิวและส่งเสริมสุขภาพไก่ชน รักษาโรคเชื้อรา กำจัดไรไก่และปรสิตต่างๆ เล็งต่อยอดใช้กับไก่ในปศุสัตว์ รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและกลุ่มยาโรคผิวหนังในคน
การเลี้ยงไก่ชน ลูกไก่ชนเป็นวิถีในวัฒนธรรมไทยมายาวนาน มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชนจากรุ่นสู่รุ่น หนึ่งในนั้นคือการใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยาบำรุงไก่ชน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีการใช้สมุนไพรแบบเดิมอยู่บ้าง และผู้เลี้ยงบางส่วนก็หันไปสู่การใช้ยาเคมีซึ่งอันตรายทั้งกับไก่ชนและคนเลี้ยง
อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา อาจารย์ประจำหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เห็นคุณค่าภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาไก่ชน ซึ่งถึงแม้จะมีข้ออ่อนบางประการแต่ก็เติมเต็มได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
“วัตถุดิบสมุนไพรที่ใช้อยู่เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่ร่างกายสัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์กล่าวถึงปัญหาที่เป็นแรงบันดาลใจสู่การวิจัยและพัฒนายาบำรุงไก่ชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนาโนเทคโนโลยีเพื่อดูแลสุขภาพ สวัสดิภาพ และเพิ่มอัตรารอดชีวิตไก่ชน
อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ เผยว่าปัญหาสุขภาพที่พบในการเลี้ยงไก่ชนมักมาจากตัวไรไก่หรือปรสิตต่างๆ ที่อยู่ตามผิวหนังและขนของไก่ นอกจากนั้นก็ยังมีโรคเชื้อราและกลากบริเวณผิวหนัง ซึ่งสังเกตได้จากเยื่อขุยขาวๆ ที่ผิวหนังของไก่
“ไรและปรสิตจะดูดเลือดและกัดกินเนื้อเยื่อผิวหนังของไก่ ทำให้ไก่เกิดความเครียด ไก่ขนร่วง ถ้าเป็นแม่ไก่ชนก็จะไม่ออกไข่ และหากทิ้งปัญหานี้ไว้นาน ไก่จะซูบผอมลง มีภาวะโลหิตจาง ภูมิต้านทานต่อโรคลดลงในที่สุด”
ปัจจุบัน ผู้เลี้ยงไก่ชนบางรายจัดการกับปัญหานี้ด้วยการนำแม่ไก่ชนทั้งตัวไปแช่ในน้ำที่ผสมยาฆ่าแมลง
“วิธีนี้อาจจะได้ผลเร็วแต่ก็ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตัวแม่ไก่ชนได้ ซึ่งหากสะสมเป็นเวลานานก็อาจเป็นอันตรายต่อแม่ไก่ชน ลูกไก่ชน และคนเลี้ยง” อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ กล่าวเตือน
การใช้ยาเคมีมีอันตราย ส่วนการใช้ยาสมุนไพรรักษาไรไก่ เชื้อราไก่ ขี้กลากไก่ด้วยวิธีดั้งเดิมก็อาจไม่ค่อยได้ผล อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ กล่าว “อย่างโรคขี้กลากไก่ ตำราไก่ชนมีภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชนจะใช้สมุนไพรผงขมิ้นทาตัวไก่ ใช้ขมิ้นจำนวนมากแต่ไม่สู้จะได้ผล เพราะผิวหนังของคนหรือของสัตว์มักไม่ยอมให้อะไรผ่านเข้าไปง่ายๆ”
อาจารย์ อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ แก้ปัญหาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรที่ยากจะซึมซับเข้าสู่ผิวหนังไก่ชน เพื่อรักษาโรคไรไก่ เชื้อราไก่ ขี้กลากไก่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีนาโนเพื่อให้นำส่งสารออกฤทธิ์ผ่านผิวหนังได้มีประสิทธิภาพขึ้น และได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยาบำรุงไก่ชน แชมพูอาบน้ำไก่ ที่ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของไก่ชน ดังนี้
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรไทย 2 ชนิด คือ สาร Eugenol จากน้ำมันกานพลู ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย และสาร Curcumin จากขมิ้นชัน ที่ช่วยสมานแผลและลดการอักเสบของผิวหนังไก่ที่ติดเชื้อ
“นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นการนำสมุนไพรมารวมกับเทคโนโลยีไฟโตนาโน-ไฮโดรเจล ที่มีความสามารถในการอุ้มน้ำ ซึ่งเตรียมจากโพลีเมอร์ที่มีโครงร่างตาข่าย จึงมีคุณสมบัติพิเศษทำหน้าที่ตรึงโมเลกุลสารสำคัญบนผิวหนังและปล่อยสารออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งอาศัยระบบนำส่ง “อนุภาคพฤกษานาโน” (PhytoNanoparticles) ช่วยเพิ่มความสามารถในการแทรกซึมผ่านเนื้อเยื่อและให้สารสำคัญออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น”
เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรรักษาขี้กลากไก่ ที่ใช้สารออกฤทธิ์เป็นอนุภาคนาโนห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด ได้แก่ กานพลู อบเชย และตะไคร้หอม ซึ่งมีฤทธิ์ในการกำจัดตัวไรไก่และไล่ยุง รวมถึงแมลงรบกวนอื่นๆ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพื่อทำให้ไก่ชนสวยๆ เหมาะกับคนเลี้ยงไก่ ที่กำลังหาวิธีรักษากลากไก่ชน ให้หายเร็วๆ และอยากให้ไก่ชนกลับมาขนสวยๆ
เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลสุขภาพผิวพรรณไก่ชน โดยสารออกฤทธิ์สำคัญคือสารประกอบเชิงซ้อนโรโซไซยานิน (Rosocyanin) ที่เกิดจากสารสกัดเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) จากขมิ้นชันและแร่บอเรต (Borate) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพในการบำรุงผิวหนัง เสริมสร้างความแข็งแกร่งของผิวหนังไก่ ช่วยให้ผิวหนังแดง สดใส สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลชีพ ได้แก่ แบคทีเรียและเชื้อราบนผิวหนัง ใครที่เลี้ยงไก่และต้องการหาวิธีทำให้ไก่ชนขนสวยๆ ต้องห้ามพลาดโดยล่าสุด ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อการต่อยอด ยาสมุนไพรบำรุงรักษาขนไก่ชนทั้งหมดนี้ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์แล้ว
อนาคตนาโนเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพคนและสัตว์ไม่เพียงไก่ชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนาโนเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถใช้กับการเลี้ยงไก่ในปศุสัตว์ได้เช่นกัน ทั้งไก่เนื้อและไก่ไข่ที่ประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับไรไก่ ไก่ขนร่วง ไก่ถ่ายขน เชื้อราไก่ ขี้กลากไก่
“เราอาจจะนำผลิตภัณฑ์นี้ไปต่อยอดเป็นสเปรย์พ่นในเล้าไก่เพื่อแก้ปัญหาด้านปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงไก่เนื้อ และไก่ไข่ ช่วยเพิ่มโอกาสด้านการตลาด” อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ กล่าวและทิ้งท้ายถึงโอกาสในการนำนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมาใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในคน เช่น เครื่องสำอาง และกลุ่มยาต่างๆ ในการนำส่งอนุภาคนาโนผ่านทางผิวหนัง
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้