รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
14 กันยายน 2564
ครั้งแรกในประเทศไทย “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” หลักสูตรระดับโลกที่มหาวิทยาลัย Stanford รับรอง จุฬาฯ พร้อมเปิดสอนให้นิสิตพัฒนาทักษะการออกแบบชีวิต กรอบคิดการทำงานกับผู้อื่น สร้างอนาคตและสังคม
โลกปัจจุบันและอนาคตเปลี่ยนแปลงและพลิกผันรวดเร็ว การจะอยู่ในโลกเช่นนี้ให้ได้อย่างมีความสุขและสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวม จำเป็นต้องมีทักษะชีวิต กรอบคิดและเครื่องมือที่สำคัญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถาบันระดับโลกต่างๆ และล่าสุดกำลังจะเปิดสอนวิชาการศึกษาทั่วไป “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” เพื่อเตรียมนิสิตให้พร้อมสำหรับชีวิตในอนาคต
“วิชานี้เป็นเสมือนกุญแจที่จะช่วยเราตีความหมายและมองโลกอย่างที่เป็น อีกทั้งจะช่วยให้เราไม่หลงทางและดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสของความเปลี่ยนแปลงได้ นิสิตจะได้ออกแบบเส้นทางชีวิตของตัวเอง ผ่านการสำรวจความต้องการและความถนัด สร้างกรอบคิดที่จะช่วยให้พวกเขาทำงานกับคนรอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ” รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ กล่าว
หลักสูตรใหม่ที่จะเปิดสอนในเทอมสองของปีการศึกษา 2564 นี้ (เดือนมกราคม 2565) ได้ผ่านกระบวนการวิจัย ทดสอบ และรับรองโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) อีกทั้งยังได้ความร่วมมือจาก South East Asia Center (SEAC) องค์กรระดับสากลที่เน้นพัฒนาศักยภาพและภาวะผู้นำ
วิชา “แนวทางและเครื่องมือชีวิตสำหรับคนยุคใหม่” ประกอบด้วยเครื่องมือหลัก 3 ประการ คือ
1. Design Your Life: ออกแบบชีวิตที่ต้องการและเปี่ยมความหมาย ด้วยหลักคิดเชิงการออกแบบ เรื่องนี้ จุฬาฯ ทำงานกับ Bill Burnett ผู้เขียนหนังสือ Designing Your Life และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ช่วยออกแบบหลักสูตรนี้ให้เข้ากับบริบทของคนไทย
“นิสิตจะได้ตรวจสอบและทดลองหาความหมายของชีวิตที่สมดุล และวิธีบริหารจัดการพลังในการทำสิ่งต่าง ๆ รวมถึงวิธีการทดลองต้นแบบ การใช้ชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำ” รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ขยายความ
2. Outward Mindset: สร้างกรอบคิดที่พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและยกระดับคุณภาพชีวิต จุฬาฯ ร่วมมือกับสถาบันที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Arbinger Institute โดยเน้นเรื่องการเปลี่ยน Mindset ของคน ด้วยหลัก “แนวคิดขับเคลื่อนกิจกรรม พฤติกรรมขับเคลื่อนผลลัพธ์”
3. Self-Leadership:สร้างภาวะผู้นำแบบเชิงรุก ทักษะวิธีการตั้งและบรรลุเป้าหมายในแบบที่เหมาะกับแต่ละบุคคล เอาชนะความเชื่อที่จำกัดศักยภาพ รู้จักการตั้งเป้าหมาย และการประเมินระดับความสามารถของตนเพื่อแสวงหาการสนับสนุนเชิงรุก
“เราต้องเป็นผู้นำตนเองได้ ชัดเจนว่าเราต้องการมีชีวิตแบบไหนและมีทักษะในการทำให้วิสัยทัศน์เกิดขึ้นได้จริง ไม่เช่นนั้นผู้อื่นจะกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้กับเรา”
รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ เชื่อมั่นว่าวิชานี้จะช่วยให้นิสิตออกแบบชีวิตที่ “ถูกใจและ ถูกต้อง”
“เราต้องเข้าใจก่อนว่า “ถูกใจ” คือ เป็นชีวิตที่นำความสุขและความพึงพอใจมาให้เรา “ถูกต้อง” คือ เป็นชีวิตที่ทำประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น วิชานี้จะช่วยคนรุ่นใหม่ให้ทำความรู้จักตัวเองเพื่อดูว่าชีวิตแบบไหนที่ถูกใจและถูกต้องด้วย”
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารAlbupro Plus งานวิจัยจากจุฬาฯ ผู้ป่วยโรคไตกินดี คนสุขภาพดีกินได้
CU Social Innovation Hub หนุนงานวิจัยสังคมศาสตร์สู่นวัตกรรมทางสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ตอบโจทย์สังคม
Doll House ของเล่นสอนความเห็นอกเห็นใจ รู้อยู่กับผู้พิการในสังคม
สุดยอด! สารสกัดทุเรียนอ่อนระยะตัดแต่งผล ต้านอนุมูลอิสระ ทีมวิจัยจุฬาฯ เล็งผลิตเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าของเหลือการเกษตร
StemAktiv นวัตกรรมใหม่จากเภสัชจุฬาฯ กระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิด ฟื้นฟูสุขภาพผิว
Sex Creator อาชีพชายขอบในช่องทางใหม่ ที่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ป้องปราบ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย