รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
1 ธันวาคม 2564
ผู้เขียน ฐนิตา หวังวณิชพันธุ์
สุดยอดฝีมือคนไทย! หุ่นฝึกตรวจจอตา “Oph-Sim” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศถึงหลายเท่า!
การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับจอตาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำเพื่อความสบายตาของคนไข้ที่ไม่ต้องจ้องแสงจ้านานเกินไป ซึ่งตรงนี้ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ตรวจ
ในการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ปัจจุบัน มีการใช้หุ่นฝึกตรวจจอตาอยู่แล้ว แต่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการฝึกและเรียนรู้กรณีศึกษาได้มากนัก ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล รองศาสตราจารย์ นพ.ศุภพงศ์ ถิรคุณวิชชะ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงร่วมกันพัฒนา “Oph-Sim” หุ่นฝึกตรวจจอตา ฝีมือคนไทย เพื่อให้นิสิตและแพทย์ที่สนใจฝึกฝนทักษะการตรวจจอตาได้อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง
“ทักษะการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของขั้วประสาทตาและจอตา เป็นทักษะสำคัญของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา เนื่องจากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตาและโรคอื่นๆทางระบบประสาทที่สำคัญได้ เช่น ขั้วประสาทตาบวมจากความดันในสมองสูง จอตาเสื่อมเหตุเบาหวาน และต้อหิน” รศ.พญ สุภรัตน์ กล่าว
“ที่ผ่านมา นิสิตแพทย์ฝึกการตรวจจอตาด้วยเครื่อง direct ophthalmoscope กับหุ่นฝึกตรวจตาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาสูงและมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากแผ่นสไลด์แสดงภาพความผิดปกติของจอตาที่ใช้กับหุ่นมักเสื่อมสภาพเร็วและมีจำนวนภาพให้เรียนรู้น้อย เลยมีความคิดว่าถ้าเรามีหุ่นที่เราพัฒนาเองที่ราคาไม่แพง ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ส่งภาพสู่จอมอนิเตอร์แบบดิจิทัล มีคุณภาพของภาพจอตาที่คมชัด และตอบโจทย์ตามที่เราต้องการก็จะดี นิสิตจะเห็นภาพตัวอย่างจอตาที่ชัดเจนและหลากหลาย อาจารย์ผู้สอนสามารถอธิบายสิ่งตรวจพบในภาพจอตาไปพร้อมๆกับนิสิตส่องตรวจ เพื่อการฝึกวินิจฉัยได้มีประสิทธิภาพขึ้น”
รศ.นพ.ศุภพงศ์ อธิบายว่าหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ประกอบด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ได้แก่ ตัวหุ่น เครื่องส่งสัญญาณ และแอปพลิเคชัน การใช้งานก็ไม่ซับซ้อน เพียงอาจารย์ผู้สอนอัปโหลดภาพจอประสาทตาที่ต้องการศึกษาลงบนแอปพลิเคชัน ภาพนั้นก็จะไปปรากฎบนหน้าจอมอนิเตอร์ของหุ่น จากนั้นนิสิตแพทย์ก็จะส่องไปที่ดวงตาของหุ่นด้วยเครื่องมือ Ophthalmoscope เพื่อฝึกตรวจจากการดูภาพจำลองนั้น
“ภาพจอตาเป็นภาพจากมอนิเตอร์แบบดิจิทัล ซึ่งคมชัดกว่าภาพสไลด์และไม่มีแสงสะท้อน แถมยังมีจอยสติ๊กที่สามารถควบคุมหุ่นให้กลอกตาได้เพื่อจำลองการกระทำของคนไข้ นอกจากนี้ ถ้าอาจารย์พบเคสที่น่าสนใจจากคนไข้ ก็สามารถใส่ภาพจอประสาทตาเพิ่มเข้ามาในแอปพลิเคชันได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องซื้อสไลด์ที่มีอายุการใช้งานสั้นและราคาสูง ผู้เรียนก็จะได้เรียนเคสได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย” รศ.นพ.ศุภพงศ์ กล่าวถึงจุดเด่นของนวัตกรรม
ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา บริษัท เมดเกตเวย์ จำกัด ซึ่งทีมวิจัยก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ได้ส่งมอบหุ่นเพื่อฝึกสอนนิสิตแพทย์และแพทย์ที่สนใจแล้วในหลายโรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
“สิ่งที่อยากจะพัฒนาในอนาคต มีความคิดที่จะเพิ่มฟีเจอร์การใช้งาน เช่น เพิ่มมินิควิซ (Mini Quiz) เพื่อให้นิสิตได้ทดสอบและประเมินความสามารถของตัวเองได้ นอกจากนี้อยากให้มีเครือข่ายของจักษุแพทย์ เมื่อเจอเคสคนไข้ที่น่าสนใจก็สามารถแบ่งปันภาพเข้าไปในกลุ่ม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยกันแสดงความเห็นกับเคสที่เจอ เรียนรู้ไปด้วยกัน แล้วนำภาพเคสมาใช้ในการเรียนการเรียนการสอนต่อไปเพื่อพัฒนาศักยภาพของแพทย์” ผศ.ดร.วีระยุทธ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความหวังของทีมวิจัยที่ต้องการสร้างเครือข่ายจักษุแพทย์ที่จะเรียนรู้ร่วมกันต่อเนื่องต่อไป
โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่สนใจนวัตกรรมหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim โดยคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมดเกตเวย์ จำกัด โทร. 084-754-9493
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้