รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
16 ธันวาคม 2564
ผู้เขียน การัณย์ภาส ลิ้มควรสุวรรณ
อาจารย์วิศวฯ จุฬาฯ เสนอการกําจัดขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัยและชุดตรวจ ATK ที่ใช้แล้ว ลดการใช้และเลือกใช้หน้ากากแบบใช้ซ้ำได้ แยกใส่ถุงขยะติดเชื้อก่อนนำส่งสู่ระบบการกําจัดขยะติดเชื้อที่ไม่สร้างมลพิษ ลดปัญหาขยะติดเชื้อล้นโลก
การรณรงค์สวมหน้ากากอนามัยได้ผลเป็นอย่างดี ผู้คนสวมหน้ากากเป็นนิสัยและใช้กันทุกวันเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือปริมาณขยะหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเฉพาะประเทศไทยก็คาดว่าจะมีหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกทิ้งเป็นขยะราว 1.5 ถึง 2 ล้านชิ้นต่อวัน
เผยผลวิจัยที่ชี้ว่าเชื้อโควิด-19 สามารถมีชีวิตอยู่บนพลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนที่เป็นส่วนประกอบของหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable mask) ได้นานถึง 7 วัน
“เราไม่รู้ว่าสารคัดหลั่งที่ติดบนหน้ากากมีเชื้อโควิด-19 ติดมาหรือไม่ ทำให้เราต้องประเมินไว้ก่อนว่าหน้ากากอนามัยที่ผ่านการใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้อทั้งหมด ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการกำจัดที่เหมาะสม เพราะถ้าทำไม่ถูกต้อง นอกจากจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคแล้ว ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วย โดยเฉพาะระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งมีการคาดการณ์เมื่อปี 2563 ว่ามีหน้ากากอนามัยใช้แล้วเกือบ 1.6 พันล้านชิ้นถูกทิ้งในมหาสมุทร” ศ.ดร.พิสุทธิ์ เน้นความสำคัญของการจัดการปัญหาขยะติดเชื้อ พร้อมเสนอหลัก 5C 1S ที่ทุกฝ่ายสามารถร่วมกันแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างครบวงจร
ศ.ดร.พิสุทธิ์ อธิบายแนวคิด “Conserve” ว่าหมายถึงการเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบที่สามารถใช้ซ้ำได้ อย่างหน้ากากอนามัยที่ทำด้วยผ้า และการลดการเดินทางออกไปอยู่ในพื้นที่สาธารณะเพื่อลดการเกิดขยะติดเชื้ออย่างขยะหน้ากากอนามัยได้
“มีผลวิจัยที่บอกว่าการใส่หน้ากากอนามัยสองชั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ แต่การใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง(แบบหน้ากากทางการแพทย์) ทั้งสองชั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังก่อให้เกิดขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้น”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวถึงคำแนะนำจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ในเรื่องการใช้หน้ากากอนามัยสองชั้นว่า “ให้เอาหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งอยู่ข้างใน แล้วสวมทับด้วยหน้ากากผ้าที่มีความกระชับแนบกับใบหน้าอยู่ด้านนอกจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงถึง 80%”
ส่วนแนวคิด “Share” คือการคิดถึงคนอื่นและใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นหน้ากากอนามัยใช้แล้วให้ถูกต้อง
“ควรพับหน้ากากที่ใช้แล้วก่อนทิ้งเสมอเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อโรคให้ผู้อื่น”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ ยกตัวอย่างการแชร์ข้อมูลในโลกโซเซียลที่แนะให้ทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วในขวดน้ำดื่มพลาสติก หรือขวด PET
“เรื่องนี้ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ขวดพลาสติก PET รีไซเคิลได้ แต่เมื่อนำมาใส่ขยะติดเชื้อก็จะทำให้ขวดพลาสติกนั้นกลายเป็นขยะติดเชื้อไปด้วย ต้องถูกกำจัดแบบขยะติดเชื้อและไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้
“ประการที่สอง เมื่อต้องกำจัดขยะขวดพลาสติกติดเชื้อ ก็ต้องกำจัดด้วยการเผา และการเผาขวดพลาสติกก็เท่ากับสร้างมลพิษเพิ่มมากขึ้น ประการสุดท้าย ขวดพลาสติกมีราคา ผู้คัดแยกขยะที่อยากขายขวดก็ต้องเอาหน้ากากอนามัยใช้แล้วออกจากขวดก่อน ซึ่งเป็นการกระจายเชื้อโควิด-19 ได้”
วิธีการจัดการขยะติดเชื้อ อย่างหน้ากากอนามัยและชุดตรวจ ATK ที่ใช้กันตามบ้านจะต้องคัดแยกออกจากขยะมูลฝอยประเภทอื่นๆ อย่างเด็ดขาด ศ.ดร.พิสุทธิ์ เน้น
“การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วลงไปกับขยะทั่วไปจะทำให้ขยะทั่วไปกลายเป็นขยะติดเชื้อไปด้วยทั้งหมด เป็นการเพิ่มปริมาณขยะติดเชื้อให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องกำจัดโดยวิธีกำจัดขยะติดเชื้อแทนการกำจัดขยะแบบปกติ”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ แนะการแยกและทิ้งชุดตรวจ ATK เป็น 2 ส่วน
ศ.ดร.พิสุทธิ์ แนะว่าควรทิ้งขยะติดเชื้อในบรรจุภัณฑ์ที่ระบุชัดเจนว่าเป็นขยะติดเชื้อ เช่น ถุงแดงที่เป็นถุงขยะสำหรับขยะติดเชื้อโดยเฉพาะเพื่อให้ขยะติดเชื้อเข้าสู่ขบวนการจัดการได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รถขนส่งขยะติดเชื้อ (Convey) ก็ต้องมีการออกแบบเป็นพิเศษโดยมีคุณสมบัติ อาทิ
“สิ่งเหล่านี้เป็นขั้นตอนการขนขยะติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้องและจะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ศ.ดร.พิสุทธิ์ กล่าว
วิธีการกำจัดขยะติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการเผา ซึ่งต่างจากการเผาขยะอื่นๆ ทั่วไป ศ.ดร.พิสุทธิ์ อธิบายว่าขยะติดเชื้อต้องผ่านการเผา 2 ขั้นตอนด้วยกัน โดยเริ่มที่เตาเผาแรกที่อุณหภูมิอย่างน้อย 760 องศาเซลเซียสเพื่อฆ่าเชื้อโรค แล้วต่อด้วยเตาเผาที่สองเพื่อกำจัดมลพิษที่เกิดจากเตาเผาแรก
“การเผาไหม้ขยะที่อุณหภูมิสูงจะก่อให้เกิดมลพิษเสมอ เราจึงต้องใช้เตาเผาที่สองที่อุณหภูมิสูงถึง 1000 องศาเซลเซียสเพื่อเผาก๊าซพิษที่หลงเหลืออยู่ หลังจากเผาขยะติดเชื้อ อากาศที่หลงเหลืออยู่ในเตาเผาสุดท้ายต้องต่อเข้ากับระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ เพื่อให้อากาศที่จะปล่อยออกมาสะอาด ปลอดมลพิษ” ศ.ดร.พิสุทธิ์ เล่าถึงกรรมวิธีในการกำจัดขยะติดเชื้อ
นอกจากนี้ การจัดการขยะติดเชื้ออย่างครบวงจรยังมีเรื่องการกำจัดเถ้าหนัก เถ้าลอย ที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งสองเตาเผา โดยเถ้าหนักก็ใช้วิธีกลบฝัง ส่วนเถ้าลอยก็ไปใช้ทำเป็นอิฐมวลเบา
“ทั้งหมดคือกระบวนการกำจัดขยะติดเชื้อที่มีขั้นตอนที่สมบูรณ์แบบโดยที่ไม่มีการปล่อยมลพิษหรือของเสียออกมาสู่โลกของเรา”
ศ.ดร.พิสุทธิ์ กล่าวย้ำว่าทุกฝ่ายล้วนมีส่วนช่วยลดปัญหาขยะติดเชื้อได้ตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งคือพวกเราทุกคนที่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เลือกใช้หน้ากากที่ใช้ซ้ำได้ แยกขยะติดเชื้อและทิ้งให้ถูกวิธี จากนั้นการจัดการที่เหลือก็เป็นส่วนที่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันทำให้เหมาะสมและครบวงจร
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้