รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
14 มกราคม 2565
ผู้เขียน ภัทรพร รักเปี่ยม
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ภูมิใจโครงการจ้างงานฯ สร้างรายได้ให้บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษาและผู้ขาดรายได้จากวิกฤตโควิด-19 ปลุกสำนึกรักบ้านเกิด เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคู่พัฒนาความรู้สมัยใหม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หวังสร้างวิสาหกิจชุมชนและอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต
สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันทำให้หลายคนตกงาน หมดอาชีพและขาดรายได้
บัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษาหางานทำไม่ได้ ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล แต่วิกฤตทางเศรษฐกิจก็อาจเป็นโอกาสสร้างทุนทางสังคมได้เช่นกัน ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินโครงการจ้างงานของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น
“โครงการที่เราทำไม่เพียงช่วยเหลือคนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีรายได้ แต่เราอยากให้พวกเขารู้ว่าบ้านและชุมชนของพวกเขามีอะไรดี ให้พวกเขารู้สึกว่าทำงานที่บ้านก็ได้ ไม่ต้องจากบ้านไปหางานที่อื่น เป็นการสร้างจิตสำนึกรักและภูมิใจในท้องถิ่น” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กิตนะ ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการ
ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ได้จ้างงานผู้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดทั้งสิ้น 138 คนใน 6 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี และจันทบุรี เพื่อทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) ระหว่างเดือนกรกฎาคม- กันยายน 2563
ภายหลังสิ้นสุดโครงการ โครงการได้ถอดบทเรียนการทำงานของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสระบุรีที่สำรวจข้อมูลชุมชนได้ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด
“เรานำข้อมูลที่สำรวจมาต่อยอดทำหนังสือทรัพยากรท้องถิ่นในจังหวัด โปสเตอร์ทรัพยากรพืช สัตว์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแจกไปให้กับอบต. ทุกแห่ง และทุกโรงเรียนในจังหวัดสระบุรี เพื่อให้คนในพื้นที่รู้ว่าจังหวัดของพวกเขามีอะไรดี นอกจากนี้ ก็ยังมีการนำข้อมูลไปพัฒนาต่อเป็นบทเรียนในรูปแบบการ์ดเกม บอร์ดเกมว่าด้วยเรื่องทรัพยากรท้องถิ่นด้วย” ผศ.ดร.นพดล เสริมอีกว่าหลังจากเสร็จสิ้นโครงการในระยะนี้ ผู้ได้รับการจ้างงานหลายคนเริ่มเห็นต้นทุนในท้องถิ่นของพวกเขาและเห็นโอกาสที่จะต่อยอดต้นทุนเหล่านั้นในบ้านเกิดของตนเอง
ปี 2564 วิกฤตปากท้องของผู้คนยังไม่จางหาย ซ้ำทวีความหนักหน่วงเมื่อโรคโควิด-19 ระบาดอีกเป็นระลอกที่สามและสี่ กระทรวง อว. จึงไปต่อด้วยโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T)” โดยสนับสนุนให้เพิ่มระยะเวลาการจ้างงานเป็น 11 เดือน ตั้งแต่กุมภาพันธ์ถึงธันวาคม 2564 และเพิ่มอัตราการจ้างงานมากขึ้น 3,000 ตำบลทั่วประเทศ
หลายหน่วยงานในจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการนี้โดยผุดโครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อจ้างงานกลุ่มเป้าหมาย สำหรับศูนย์เครือข่ายฯ จุฬาฯ ก็ยังคงเดินหน้าทำงานต่อเนื่องกับชุมชนในจังหวัดสระบุรี ที่ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ โดยรับผิดชอบ 3 ตำบลในอำเภอแก่งคอย ได้แก่ ตำบลห้วยแห้ง ตำบลชำผักแพว และตำบลตาลเดี่ยว
“ตามโจทย์ที่ได้รับมาจากกระทรวง การจ้างงานในระยะนี้เน้นส่วนผสมของคน 3 กลุ่ม คือ บัณฑิตจบใหม่ที่เป็นคนในพื้นที่และไม่ได้รับการจ้างงานใดๆ ประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และนิสิตนักศึกษา เราอยากเห็นคนต่างรุ่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีและความคิดเห็นระหว่างกัน” ผศ.ดร.นพดล กล่าวและเสริมว่าสัดส่วนการจ้างงานตำบลละ 20 คน ประกอบด้วยส่วนผสมของบัณฑิตจบใหม่ 10 คน ประชาชนทั่วไปไม่จำกัดวุฒิ 5 คน และนักศึกษาอีก 5 คน
ศูนย์เครือข่ายฯ จุฬาฯ เห็นโอกาสการจ้างงานเพื่อสร้างสำนึกรักบ้านเกิดและความภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้จ้างงานกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มให้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนหญ้าแฝก ที่ศูนย์เครือข่ายฯ จุฬาฯ ดำเนินการอยู่ในจังหวัดสระบุรีนั้นเอง
“พวกเขาจะได้เรียนด้วยกัน ทำงานด้วยกันและช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้สมัยใหม่ในเรื่องการออกแบบและการทำการตลาด” ผศ.ดร.นพดล กล่าว
“เราอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการหญ้าแฝก สอนตั้งแต่หญ้าแฝกคืออะไร วิธีปลูกในเชิงอนุรักษ์ การเก็บเกี่ยว การเอามาใช้ประโยชน์ โดยเชิญครูแฝกจากเครือข่ายคนรักษ์แฝก 12 เขตทั่วประเทศมาช่วยอบรมการใช้หญ้าแฝกทำผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เชิญอาจารย์ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มาให้ไอเดียการออกแบบหัตถกรรมร่วมสมัยเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เชิญวิทยากรจากบริษัทเอกชนมาสอนทำการตลาดดิจิทัลหลายรูปแบบ รวมทั้งเชิญทีมงานจากลาซาด้าประเทศไทยมาให้ความรู้เรื่องการเปิดร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น”
ผศ.ดร.นพดล คาดหวังว่าชุมชนจะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกที่แตกต่างจากเดิม ไม่ใช่เป็นแค่เครื่องจักรสานอย่างที่เคยคุ้นตา ซึ่งจะเป็นลู่ทางสู่การพัฒนาเป็นธุรกิจหรือวิสาหกิจชุมชนได้ในอนาคต
นอกจากผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องทำงานกับศูนย์เครือข่ายฯ จุฬาฯ ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหญ้าแฝกแล้ว ยังจะได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายอื่นๆ จากกระทรวง อว. เช่น งานเก็บข้อมูลเชิงชุมชน ประเมินความยากจนของคนในพื้นที่ ข้อมูลประเมินความเสี่ยงในเชิงสาธารณสุข และยังได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิตอล ทักษะสังคม และทักษะการเงิน ผ่านการอบรมออนไลน์ Thai MOOC ตลาดหลักทรัพย์ SET และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
“ศูนย์เครือข่ายฯ ส่งบัณฑิตจบใหม่ไปประจำกับหน่วยงานในจังหวัด เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานประกันสังคม สำนักงานที่ดูแลเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หลายคนทำงานได้ดีจนวันนี้ได้รับการจ้างงานแบบประจำจากหน่วยงานภาครัฐนั้นๆ แล้ว นี่เป็นหนึ่งในความสำเร็จของเราที่บัณฑิตในโครงการได้งานและรายได้ที่มั่นคง” ผศ.ดร.นพดล กล่าวทิ้งท้ายด้วยความภูมิใจ
แม้โครงการจ้างงานได้สิ้นสุดลงแล้วและกำลังอยู่ในช่วงการสรุปผลการดำเนินงานอย่างเป็นทางการ แต่ชีวิตของผู้คนในชุมชนยังดำเนินต่อไป มีรายได้ มีความรู้ มีทักษะใหม่ ๆ ที่จะสร้างโอกาสในชีวิตและชุมชนของพวกเขา
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้