รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
9 สิงหาคม 2565
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปลี่ยนวิกฤตโควิดเป็นโอกาส รวมตัวปั้นธุรกิจออนไลน์ขายชีทสรุปวิชากฎหมาย ยอดขายดีจนเกิดดิสรัปต์ เล็งขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังคณะอื่นๆ
การแพร่ระบาดโควิด-19 อาจเป็นวิกฤตสำหรับหลายธุรกิจที่จำต้องลดขนาดหรือปิดตัวลง แต่ก็เป็นโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ อย่างเช่น “Puka E-Books” ธุรกิจจำหน่ายชีทสรุปบทเรียนวิชากฎหมายออนไลน์ ที่ตอบโจทย์โดนใจนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ดิสรัปวิถีธุรกิจรูปแบบเดิมจนทุกวันนี้
ก่อนหน้าที่จะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เนื่องด้วยการเรียนกฎหมายมีเนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีเป็นจำนวนมากจึงทำให้ชีทสรุปเป็นที่นิยมสำหรับนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดยนิสิตมักจะซื้อชีทสรุปตามร้านถ่ายเอกสารในคณะเพื่อทบทวนเนื้อหาสำหรับการเตรียมตัวสอบ แต่เมื่อเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 มหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอนออนไซต์ หลายกิจการในรั้วมหาวิทยาลัยก็พลอยต้องปิดตัวลงชั่วคราว รวมทั้งร้านถ่ายเอกสารที่จัดจำหน่ายชีทสรุปวิชาเรียนด้วย
แต่เพราะยังมีการสอบ ความต้องการชีทสรุปวิชากฎหมายจึงยังคงมีอยู่!
Pain point นี้ทำให้นิสิตจุฬาฯ 4 คน รวมตัวกันปั้นธุรกิจเล็กๆ ในนาม “Puka E-Books” เพื่อเป็นพื้นที่ในการจัดจำหน่ายชีทสรุปบทเรียนวิชากฎหมาย
“เราสร้าง marketplace ตรงนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการจัดจำหน่ายชีทสรุปรายวิชาต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน LINE Shop” พสิน ฉันทชัยวัฒน์ กล่าวถึงเป้าหมายที่ก่อตั้ง Puka E-Books ร่วมกับเพื่อนๆ นิสิตชั้นปีที่ 4 อีก 3 คน ได้แก่ วนาลี พรมสุรินทร์ ภัทรภณ ป้องขันธ์ จากคณะนิติศาสตร์ และ วีระพล วนมณฑล จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
“Puka” มาจากคำว่า “pukapuka” ในภาษาเมารีซึ่งแปลว่า “หนังสือ” พสิน เล่าความหมายของชื่อธุรกิจ
“มันเท่ตรงที่ว่าคำว่า pukapuka ถ้าพูดจำนวนหลายครั้งมากขึ้น มันจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น เช่น ถ้าพูดคำนี้ 4 ครั้ง มันจะแปลว่าหนังสือเรียน ถ้าพูด 6 ครั้ง แปลว่าร้านหนังสือ มันก็เหมือนกับการที่เราต่อยอดธุรกิจ ต่อยอดหนังสือได้มากขึ้น”
แต้มต่อสำหรับ Puka E-Books อยู่ที่ความเป็นนิสิต จากประสบการณ์ตรงในการเรียนการสอบ พวกเขาเข้าใจดีว่าเพื่อนๆ และน้องๆ นิสิตต้องการอะไร ประกอบกับการติดตาม feedback ของนิสิต พวกเขาปรับปรุงพัฒนาชีทสรุปหลายๆ แบบและหลายๆ วิชา ที่มีมาก่อนหน้านี้ และเพิ่มเติมชีทใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของนิสิตมากยิ่งขึ้น
“เราคัดกรองคุณภาพของชีทสรุปให้ได้มาตรฐานตามที่ควรจะเป็น คือต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย มีเนื้อหาสรุปของรายวิชานั้นๆ อย่างครบถ้วน” หนึ่งในทีมงาน Puka วีระพล นิสิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เผยแนวทางคัดเลือกชีทให้ตรงใจกลุ่มนิสิต
นับตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่ก่อตั้งธุรกิจ ปัจจุบัน Puka E-Books มีชีทสรุปรายวิชาเรียนในคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ แล้วกว่า 100 ฉบับ!
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้สรุปชีทวิชาในคณะนิติศาสตร์เป็นนิสิตรุ่นพี่ที่ผ่านการเรียนและสอบวิชานั้นๆ มาแล้ว โดยทีมงาน Puka ร่วมกันคัดสรรและจัดรูปแบบชีทให้น่าอ่าน นอกจากนี้ Puka ยังทำเพจ Puka E-Books นำเสนอสาระเกี่ยวกับการสอบและคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวข้องกับวิชากฎหมาย เป็นบริการเสริมให้กลุ่มนิสิตด้วย
“พวกเรามองว่าธุรกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความรู้จากคนที่ทำชีทสรุป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ในคณะไปสู่รุ่นน้อง” พสิน กล่าวถึงคุณค่าหลักของธุรกิจ
ทีม Puka ช่วยกันทำงานโดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การออกแบบดีไซน์ การตลาด และงานในส่วนออกแบบการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) แม้จะเรียนมาทางด้านนิติศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ทุกคนก็พร้อมเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดในส่วนที่ยังไม่รู้ เช่น เรื่องการทำธุรกิจและการตลาด
วนาลี สมาชิกหญิงเพียงหนึ่งเดียวของ Puka ผู้ที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการตลาด กล่าวว่า “จุฬาฯ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เราได้รับความช่วยเหลือเยอะมาก ทั้งจากคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์เก่า network และคอนเนคชันจากบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างในคณะนิติศาสตร์ ก็มีอาจารย์หลายๆ ท่านที่คอยช่วยให้คำปรึกษาแนะนำ รวมไปถึง CU Innovation Hub ที่ให้ know-how ในการทำธุรกิจตั้งแต่ตอนที่ Puka ยังเป็นแค่ Idea ธุรกิจด้วยซ้ำ”
ปัจจุบัน สมาชิกในทีมใกล้จะจบการศึกษาแล้ว บ้างกำลังฝึกงาน บ้างกำลังทำโปรเจกต์เพื่อจบการศึกษา พวกเขาจึงต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเรียนและทำธุรกิจ
“เวลาของทุกคนเป็นสิ่งที่สำคัญ เราออกแบบขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน แม้จะยืดหยุ่นได้แต่ก็ต้องชัดเจนเรื่องเดดไลน์ เราจัดสรรเวลาในการประชุมทีมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง กำหนดเวลาและหัวข้อที่จะคุยกันให้ชัดเจน เน้นใจความสำคัญ และดูให้การประชุมเสร็จภายในเวลาที่กำหนด เพราะทุกคนมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ” พสิน เล่าถึงแนวทางการทำงาน
พสิน กล่าวว่าจากตัวเลขที่ทางทีมเคยสำรวจภายในคณะนิติศาสตร์ นิสิตแทบทุกคนรับรู้ช่องทางการเข้าถึง Puka E-books ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าถึงนิสิตให้ เข้ามาซื้อสินค้าได้มากถึง 20-30 % จากทั้งหมด นอกจากนี้อัตราการซื้อซ้ำเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนิสิตที่เคยซื้อ ทีมถือว่าพวกเขาค่อนข้างประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ทีม Puka มองว่าตลาดภายในคณะนิติศาสตร์ใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว พวกเขาจึงเล็งขยายธุรกิจไปยังคณะอื่นๆ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ ต่อไปในอนาคตด้วย
การเติบโตของ Puka ก่อให้เกิดการแข่งขัน ในแวดวงธุรกิจขายชีทสรุป โดยเกิดคู่แข่งในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้น
“ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ธุรกิจการจัดจำหน่ายชีทสรุปในรูปแบบออนไลน์ ได้รับความนิยมมากขึ้น จนทำให้ธุรกิจจำหน่ายชีทสรุปในรูปแบบดั้งเดิมภายในคณะฯ ต้องปิดตัวลง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปแล้ว”
คู่แข่งที่เพิ่มขึ้นทำให้ Puka ต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือนิสิตนั่นเอง
“หากมองว่าธุรกิจของเราให้อะไรกับสังคม ซึ่งก็คือคณะนิติศาสตร์ที่เราอยู่ เราคิดว่าเราได้เข้ามาแก้ปัญหา pain point ที่เกิดขึ้นกับนิสิตทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องในคณะที่ต้องการชีทสรุปไว้อ่านก่อนสอบ นอกจากนี้ ในมุมส่วนตัว Puka เป็นพื้นที่เล็กๆ ที่ให้เราได้พิสูจน์สมมุติฐานและการคาดการณ์ที่เราเคยตั้งเอาไว้ในการทำธุรกิจ ได้ทดลอง ได้ล้มเหลว และเรียนรู้ ได้เห็นมุมมองของการทำธุรกิจในภาพใหญ่ขึ้น” พสิน กล่าวทำความรู้จักกับ Puka ผู้จัดจำหน่ายชีทสรุปกฎหมายคุณภาพ ให้มากขึ้นได้ที่ www.facebook.com/LawPukaEbooks และ LINE Shop: Puka
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้