รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
17 ตุลาคม 2565
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ดาวน์โหลดฟรี! Gami+ แอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ ออกแบบเพื่อช่วยผู้สอนสร้างบรรยากาศการเรียนออนไลน์ให้สนุกเหมือนเล่นเกม เปิดห้องเรียนแล้วกว่า 6,000 ห้อง และมีผู้เรียนเข้าใช้งานจริงกว่า 120,000 คน
แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะคลี่คลาย และห้องเรียนกลับมาเปิดให้ครูและนักเรียนพบกันแบบเห็นหน้าเห็นตาแล้ว แต่แนวโน้มการเรียนการสอนในโลกออนไลน์ก็ยังคงไปต่อ ซึ่งความท้าทายสำคัญของการเรียนรู้แบบนี้คือการตรึงความสนใจของผู้เรียนให้อยู่กับกิจกรรมการเรียน
“จากประสบการณ์ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ เราพบว่าผู้เรียนทางออนไลน์มักจะขาดสมาธิ รู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง” รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
การที่ได้รับคัดเลือกจาก Google Asia Pacific ให้วิจัยเกี่ยวกับ Google Solution ที่ส่งเสริมการเรียนเชิงรุกสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำให้ รศ. ดร.ประกอบ และศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ได้มีโอกาสศึกษา Google Workspace for Education อย่างลึกซึ้ง ซึ่งในเวลาต่อมา อาจารย์ก็ได้นำมาออกแบบและพัฒนา Gami+ แอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom เพื่อเป็นตัวช่วยของคุณครูยุคใหม่ในการจัดการเรียนการสอนบนโลกออนไลน์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
“Gami+ จะช่วยเปลี่ยนห้องเรียนออนไลน์ธรรมดาให้มีสภาพแวล้อมเป็นเกมที่สร้างความท้าท้าย แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเรียน เกิดการแข่งขัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน” รศ. ดร.ประกอบ กล่าว
ผลงานนี้คว้ารางวัลระดับนานาชาติหลายรางวัล อาทิ เหรียญเงิน จาก The International Invention Innovation Competition in Canada, iCAN 2022, รางวัล International Special Award จาก International Federation of Inventors Associations – Focal Point Middle East และรางวัล Canadian Special Award จาก Innovation Initiative Co-operative Inc. “The Inventors Circle”
Gami+ (หรือ GamiPlus) เป็นแอปพลิเคชันเสริมสำหรับ Google Classroom — แพลตฟอร์มการเรียนการสอนที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากทั่วโลกกว่า 150 ล้านคน โดยในประเทศไทย มีผู้ใช้งานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษา ราวร้อยละ 50-60
หลักการของเกมิฟิเคชัน (Gamification) ไม่ได้หมายถึงตัวเกม แต่เป็นการใช้เทคนิค กลไก และองค์ประกอบของเกม เช่น การให้ภารกิจ (mission) การสะสมแต้ม (score) การเลื่อนระดับ (level) การให้ตราสัญลักษณ์ (badges or achievements) หรือ กระดานแสดงผู้นำ (leaderboard) มาสร้างสภาพแวดล้อมและขับเคลือนการเรียนรู้ให้สนุก ซึ่งสำหรับ Gami+ มีเกมิฟิเคชันให้คุณครูเลือก ได้แก่ การให้ป้ายแสดงความสำเร็จ (digital badge) การให้ระดับความก้าวหน้าในการเรียน (level) กระดานแสดงผู้นำ (leaderboard) และการเชื่อมโยงภาระงานและคะแนนของผู้เรียนจาก Google Classroom เพื่อมากำหนดเงื่อนไขในการเลื่อนระดับ
“องค์ประกอบเหล่านี้จะกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง”
ปัจจุบันมีผู้ติดตั้ง Gami+ ผ่าน Google Workspace Marketplace จำนวน 11,777 คน มีคุณครูและผู้สอนกว่า 4,500 คน ที่ได้สร้างสภาพแวดล้อมเกมิฟิเคชันในห้องเรียนมากกว่า 6,000 ห้อง
ในอนาคต รศ. ดร. ประกอบ เผยว่าจะพัฒนา Gami+ Intelligence ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้คำแนะนำกับครูและอาจารย์ผู้สอนในการนำเสนอเกมิฟิเคชันให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Gami+ ได้ฟรี! ผ่าน Google Workspace Marketplace หรือจะเลือกติดตั้งผ่านเว็บไซต์ของ Gami+ ที่ https://gamiplus.edii.in.th
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้