รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
20 กุมภาพันธ์ 2018
งานวิจัยด้านเศรษฐกิจ
ดำเนินโครงการโดย: รศ. ดร. ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติและคณะ
เกี่ยวกับโครงการ: ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี พศ 2539 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างรุนแรงมากกว่าช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศ และย่อมส่งผลโดยตรงต่อระบบบริการสุขภาพของรัฐและเอกชน ตลอดจนการเข้าถึงบริการสุขภาพ เนื่องจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติอาศัยเงินรายได้จากภาษีของรัฐเป็นหลัก นอกจากนั้นประเทศไทยยังเผชิญปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ประเทศยังมีรายได้ระดับกลางอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวทั้งรูปแบบในระบบและนอกระบบตามมา ในท้ายสุดคือการส่งผลต่อความมั่นคงและความยั่งยืนของมนุษย์
(1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัย-ผลผลิต และการวิเคราะห์ส่วนแบ่งส่วนแปรเปลี่ยน (2) การประชุมกลุ่มในภาคต่างๆทั้งสี่ภาค เพื่อวิเคราะห์ถึงประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสุขภาพของแรงงานในภาคทางการอย่างไร (3) ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย เน้นที่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีผลกระทบอย่างไร รวมทั้งการเข้าถึงบริการสุขภาพ และ (4) ทบทวนรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงวัยในเขตเมือง เพื่อเสนอข้อเสนอะแนะเชิงนโยบาย
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจคือคุณภาพและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ในกำลังแรงงาน ทั้งสี่ภาคมีความเห็นตรงกันว่าคนรุ่นใหม่ต้องการแสวงหางานที่ให้ค่าตอบแทนสูงแต่ทำงานน้อยๆ และไม่ได้สนใจมุมอื่นๆที่สำคัญเช่น ความมั่นคงของงาน หรือการพัฒนาทักษะของตนเอง แรงงานรุ่นใหม่มีความรับผิดชอบต่ำและไม่ทนต่อการทำงานหนัก ทำให้เกิดความขัดแย้งกับคนรุ่นเก่า ส่งผลให้การดำเนินงานไม่ราบลื่น นอกจากนั้นประเด็นด้านแรงงานที่เห็นพ้องกันทั้งสี่ภาคคือ ต้องการนโยบายแรงงานที่มุ่งต่อปัญหาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นบริษัทในภาคใต้รายงานว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในระดับปฏิบัติการเนื่องจากคนไทยรุ่นใหม่ไม่ต้องการทำและยินดีอยู่กับบ้านหากไม่ได้งานประเภทอื่น แต่การจ้างแรงงานต่างด้าวมีความซับซ้อนและใช้เวลามาก บริษัทในภาคกลางก็เผชิญปัญหาที่แรงงานที่มีทักษะมีไม่เพียงพอ ทำให้ต้องจัดการรณรงค์เพื่อไปรับแรงงานที่โรงเรียนหรือวิทยาลัยวิชาชีพโดยตรงทั่วประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ประเด็นสำคัญลำดับถัดมาคือ แรงงานแบบรายวันไม่มีการออมที่เพียงพอ สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงในอนาคตของแรงงานกลุ่มดังกล่าวหากไม่มีนโยบายความมั่นคงทางสังคมจากภาครัฐ สาเหตุที่สำคัญคือ (1) ความล้มเหลวของค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่สามารถตามการเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพได้ทัน และ (2) การขาดทักษะการจัดการทางการเงินในหมู่แรงงาน
ผู้เข้าร่วมสนทนาได้ถกเถียงในประเด็นท้าทายต่อโครงการประกันสังคมดังนี้ (1) คุณภาพบริการที่ต่ำ เช่นทัศนคติของผู้ให้บริการที่มีต่อแรงงาน (2) ต้องรอนานในการเข้ารับการรักษา (3) ผู้รับบริการมีความรู้สึกว่าการรักษาและยาที่ได้รับมีคุณภาพต่ำ แรงงานหลายคนเห็นว่า การประกันสังคมไม่มีประโยชน์และหากไม่ผิดกฎหมายก็ไม่อยากจ่ายเบี้ยประกันสังคม ในขณะที่ แรงงานในวัยกลางคน และแรงงานอาวุโสล้วนเห็นว่าประกันสุขภาพเอกชนแบบกลุ่มเป็นสวัสดิการที่สำคัญของบริษัท ผู้เข้าร่วมสนทนามีความเห็นว่าการตั้งเพดาน 15,000 บาทเพื่อการคำนวณเงินบำนาญนั้นไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้เข้าร่วมสนทนาส่วนใหญ่คิดว่าอยากออมเงินด้วยตัวเองมากกว่าเนื่องจากคิดว่าการบริหารเงินกองทุนโดยประกันสังคมไม่ได้เป็นการบริหารเพื่อผลประโยชน์ของสมาชิก
สำหรับประเด็นการดูแลผู้สูงวัยในระยะยาวนั้น ผู้เข้าร่วมสนทนาเห็นว่าสมาชิกในครอบครัวควรดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุเอง และไม่เห็นด้วยที่จะให้องค์กรหรือศูนย์ทำหน้าที่ดูแล โดยมีข้อเสนอะแนะจากผู้ร่วมสนทนาบางส่วนว่าองค์การบริหารส่วนตำบลควรทำหน้าที่สนับสนุนระบบการดูแลผู้สูงอายุเพื่อที่ผู้สูงอายุจะไม่ต้องย้ายออกไปจากพื้นที่ เช่น จัดให้มีสมาคมผู้สูงอายุในชุมชน หรือท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุจะได้พบปะ และทำกิจกรรมร่วมกันหรือ จัดให้มีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้