งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

การจัดการคุณภาพแหล่งผลิตพืช GAP และกระบวนการผลิตเมล็ดแมงลักที่ปราศจากสารอะฟลาทอกซิน

ดำเนินโครงการโดย: สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกร อำเภอบางระกำ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก, นักศึกษาจากศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เครือข่ายสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (มหาวิทยาลัยชีวิต)

เกี่ยวกับโครงการ: การจัดการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรที่สนใจปลูกแมงลักเข้าระบบการจัดการคุณภาพแหล่งผลิตพืช GAP และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดแมงลักด้วยกระบวนการนวดฝัดแห้ง เพื่อให้ได้เมล็ดแมงลักที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปราศจากสารพิษอะฟลาทอกซิน โดยทำการลงสำรวจพื้นที่ที่จะจัดการอบรม ในพื้นที่ตำบลปลักแรด และตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และนัดพบตัวแทนกลุ่มเป้าหมายที่แจ้งความต้องการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยปลักแรด ชมรมเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย และศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน บางระกำ ปลักแรด (มหาวิทยาลัยชีวิต)  พร้อมตั้งผู้ประสานงานในพื้นที่ 3 คน เพื่อความคล่องตัวในการติดต่อสื่อสาร คือ คุณพนม บัวเผื่อน คุณชัชวาลย์ วงศ์สวรรค์ และคุณรสริน พุทธภูมิพิทักษ์ จากการลงสำรวจพื้นที่ที่จัดอบรม แม้พบว่า สถานที่ห้องประชุมของเทศบาลปลักแรดมีความพร้อม และสามารถรองรับผู้เข้าร่วมอบรมได้มากกว่า ห้องประชุมที่เทศบาลพันเสา แต่เนื่องจาก ที่เทศบาลพันเสามีการจัดสร้างโรงคัดบรรจุพืชผักและผลิตผลทางการเกษตรขึ้นใหม่ และเริ่มเปิดใช้ในปีนี้ ดังนั้น จึงเลือก ห้องประชุม เทศบาลพันเสา เป็นสถานที่ที่ใช้ในการจัดอบรมครั้งนี้ ก่อนการอบรมมีการประชุมหารือ เพื่อจัดทำกำหนดการ กำหนดหัวข้อที่จะใช้ในการอบรม และติดต่อเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาให้การบรรยาย ให้ความรู้ นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดเตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือนวดฝัดแห้ง โดยทำการจัดซื้อเครื่องโม่พลาสติก (เครื่องบด) เครื่องร่อน เครื่องสีข้าวกล้อง และจัดสร้างไซโคลนดักฝุ่นสำหรับเครื่องบด และทำการทดลองหาระยะห่างของใบมีด และขนาดของรูตะแกรงเครื่องโม่ที่เหมาะสม พบว่า ที่ระยะห่างใบมีด 2 มิลลิเมตร และใช้รูตะแกรงที่ทางออกของเครื่องบดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร เป็นระยะและขนาดที่เหมาะสม ที่ทำให้เมล็ดแมงลักหลุดออกจากกะเปาะหุ้มเมล็ดดีที่สุด โดยเมื่อนำฟ่อนช่อดอกแมงลักผ่านกระบวนการบด การร่อน และทำความสะอาดเมล็ดด้วยกระบวนการนี้ สามารถนวดได้เมล็ดแมงลัก 145.61+22.59 กรัม ต่อฟ่อนแมงลักเริ่มต้น 500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 29.12+4.52 ของน้ำหนักเริ่มต้น จากนั้น ได้นำความรู้นี้ไปถ่ายทอดต่อสู่เกษตรที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม เทศบาลตำบลพันเสา เมื่อวันที่ 12-13 ตุลาคม 2559 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 161 คน และมีผู้ร่วมอบรมจำนวน 12 คน และตัวแทนบริษัท 1 บริษัท ที่ลงทะเบียนเข้าระบบการจัดการคุณภาพแหล่งผลิต GAP แมงลัก และจะใช้กระบวนการนวดฝัดแห้งในการผลิตเมล็ดแมงลัก

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า